Page 183 - สังคมโลก
P. 183
สงครามกับการเปลี่ยนแปลงในสังคมโลก 7-77
จะมีสัญชาติเดียวกัน 2 คนขึ้นไปไม่ได้ และมีวาระการดำ�รงตำ�แหน่งคนละ 9 ปี115 นับตั้งแต่เริ่มดำ�เนินการใน ค.ศ.
1947 จนถึง ค.ศ. 2010 ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศมีคดีขึ้นสู่ศาลให้พิจารณาตัดสินแล้วทั้งสิน 132 คดี และเป็น
กรณีที่ศาลให้ความเห็นแนะนำ� 27 คดี116
ตัวอย่างกรณีพิพาทที่นำ�ขึ้นสู่การพิจารณาคดีของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศคือ ข้อขัดแย้งระหว่างไทย
กับกัมพูชาเกี่ยวกับการครอบครองประสาทพระวิหาร โดยแต่เดิมเมื่อฝรั่งเศสเข้ายึดครองกัมพูชาเป็นอาณานิคมนั้น
ฝรั่งเศสได้ทำ�แผนที่ปักปันเขตแดนกับไทยโดยให้ปราสาทเขาพระวิหารอยู่ในเขตกัมพูชา ต่อมาใน ค.ศ. 1954 เมื่อ
ฝรั่งเศสถอนตัวออกจากกัมพูชากองทหารไทยก็เข้ายึดครองประสาทพระวิหาร ในวันที่ 6 ตุลาคม ค.ศ. 1959 กัมพูชา
ไดย้ ืน่ ฟอ้ งตอ่ ศาลยตุ ธิ รรมระหวา่ งประเทศใหไ้ ทยคนื ปราสาทพระวหิ ารแกก่ มั พชู า จนเกดิ เปน็ กรณพี พิ าท ทัง้ 2 ฝา่ ยจงึ
นำ�เรื่องเข้าสู่การพิจารณาคดีของศาลฯ ในวันที่ 15 มิถุนายน ค.ศ. 1962 องค์คณะผู้พิพากษา 12 คนของศาลยุติธรรม
ระหว่างประเทศได้ตัดสินให้ปราสาทพระวิหารเป็นของกัมพูชาด้วยคะแนนเสียง 9 ต่อ 3 ซึ่งคำ�ตัดสินของศาลฯ ถือ
เป็นที่สิ้นสุด ไม่มีการอุทธรณ์ ถ้าจะนำ�คดีกลับมาพิจารณาใหม่จะต้องมีหลักฐานใหม่เพิ่มเติม และต้องกระทำ�ภายใน
ระยะเวลา 10 ปี ซึ่งในวันที่ 13 กรกฎาคม ค.ศ. 1962 รัฐบาลไทยก็ได้ทำ�หนังสือประท้วงคำ�พิพากษาของศาลยุติธรรม
ระหวา่ งประเทศไปยงั เลขาธกิ ารสหประชาชาติ นายอู ถัน่ โดยสงวนสทิ ธทิ ีจ่ ะเรยี กรอ้ งปราสาทพระวหิ ารคนื ในอนาคต117
การใช้กองก�ำ ลังรกั ษาสันตภิ าพ (Peace Keeping Force)
ในบางกรณีสมัชชาใหญ่และคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติอาจมีมติให้ใช้กองกำ�ลังที่รัฐสมาชิก
จดั หามาให้ เพือ่ สง่ เขา้ ไปท�ำ หนา้ ทีร่ กั ษาสนั ตภิ าพในบรเิ วณทีม่ ขี อ้ พพิ าทระหวา่ งประเทศหรอื ขอ้ พพิ าทระหวา่ งฝา่ ยตา่ งๆ
ในสงครามกลางเมือง เพื่ออำ�นวยความสะดวกในการดำ�เนินการหยุดยิงของทุกฝ่ายโดยเร็ว และเป็นกองกำ�ลังกันชน
ระหว่างคู่พิพาทไม่ให้ทำ�กันสู้รบกันได้ ตลอดจนเป็นกองกำ�ลังรักษาสันติภาพภายหลังการสงบศึกแล้ว เพื่อป้องกัน
และตรวจตรามิให้คู่อริหันกลับมาทำ�การต่อสู้กันอีกต่อไป
ตัวอย่างของการใช้กองกำ�ลังรักษาสันติภาพคือ สหประชาชาติได้ส่งกองกำ�ลังรักษาสันติภาพเข้าไประงับ
ขอ้ พพิ าทระหวา่ งอยี ปิ ตฝ์ า่ ยหนึง่ กบั องั กฤษ ฝรัง่ เศส และอสิ ราเอลอกี ฝา่ ยหนึง่ ในกรณที ี่ 3 ประเทศหลงั บกุ ยดึ ดนิ แดน
อียิปต์และปิดเส้นทางการเดินเรือในคลองสุเอซเมื่อเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1956 โดยกองกำ�ลังของสหประชาชาติ
ได้เข้าไปรักษาการณ์บริเวณแหลมซีไน และสมัชชาใหญ่ได้มีมติให้อังกฤษ ฝรั่งเศส และอิสราเอลถอนกำ�ลังออกจาก
ดินแดนของอียิปต์โดยทันที
อีกกรณีหนึ่งคือ ความขัดแย้งระหว่างประชาชนเชื้อสายกรีกและเชื้อสายตุรกีในเกาะไซปรัส ที่มีมาตั้งแต่ได้
รับเอกราชจากอังกฤษใน ค.ศ. 1960 ไซปรัสประกอบด้วยประชากรเชื้อชาติกรีกราวร้อยละ 77 และประชากรเชื้อสาย
ตุรกีราวร้อยละ 18 ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1964 คณะมนตรีความมั่นคงจึงได้มีมติให้จัดตั้งกองกำ�ลังรักษาสันติภาพใน
ไซปรัสโดยความยินยอมของรัฐบาลไซปรัส เพื่อป้องกันและระงับการปะทะกันของกองกำ�ลังทั้ง 2 ฝ่าย โดยมีกำ�หนด
ระยะเวลาปฏิบัติการเพียง 6 เดือนและขยายเวลาออกไปเป็นระยะๆ แต่ต่อมาในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1964 ฝ่าย
กองกำ�ลังเชื้อสายกรีกที่นำ�โดยนายนิโกส ซัมซอน (Nikos Samson) ได้ก่อรัฐประหารแล้วจะรวมไซปรัสเป็นประเทศ
เดียวกับกรีซ ตุรกีจึงส่งกองทัพเรือบุกไซปรัส และมีการสู้รบกันอย่างรุนแรง ฝ่ายตุรกีสามารถยึดพื้นที่ได้ 1 ใน 3 ของ
เกาะไซปรัส ในที่สุดนายเคิร์ท วัลด์ไฮม์ (Kurt Waldheim) เลขาธิการสหประชาชาติ ได้เสนอให้มีการเจรจาระหว่าง 2
115 ข้อ 3 และข้อ 13 แห่งธรรมนูญศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ
116 International Court of Justice, List of Cases referred to the Court since 1946 by date of introduction, http://www.
icj-cij.org/docket/index.php?pl=3&pz=z&lang=en (16/09/2553)
117 “Preah Vihear Temple”, Wikipedia, the free Encyclopedia, http://th.wikipedia.org/wiki/Temple_of-Preah_ Vi-
hear_(Cambodia_v._Thailand)#International_dispute_over_ownership (16/09/2553)
ลิขสทิ ธิข์ องมหาวิทยาลยั สโุ ขทยั ธรรมาธิราช