Page 188 - สังคมโลก
P. 188

7-82 สังคมโลก

เร่ืองที่ 7.4.3
การระงบั สงครามและการสร้างสนั ติภาพโดยองค์การเอกชน

       เมือ่ สงั คมโลกพฒั นาขึน้ การรกั ษาสนั ตภิ าพและความมัน่ คงระหวา่ งประเทศไมไ่ ดถ้ กู จ�ำ กดั ใหเ้ ปน็ เพยี งอ�ำ นาจ
หน้าทีข่ องรฐั หรือหนว่ ยงานภาครัฐอกี ตอ่ ไป แต่ขอบข่ายและบทบาทในเรือ่ งดังกล่าวไดข้ ยายไปสู่เอกชนและหน่วยงาน
ที่ไม่ใช่ของรัฐมากขึ้น ในคริสต์ศตวรรษที่ 20 องค์กรเอกชนหรือองค์การระหว่างประเทศที่ไม่ใช่ของรัฐบาล (Non-
Governmental Organization: NGO) ที่จัดตั้งขึ้นมาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสันติภาพและระงับข้อขัดแย้งเกิด
ขึ้นมากมาย บางองค์การมีจุดมุ่งหมายโดยตรงเพื่อธำ�รงไว้ซึ่งสันติภาพในสังคมโลก แต่บางองค์การจะมีวัตถุประสงค์
ที่กว้างขวางออกไป เช่น ให้ความช่วยเหลือด้านสังคม การเมือง กฎหมาย และสภาพแวดล้อมแก่ประชาชนในประเทศ
ตา่ งๆ เปน็ ตน้ ซึง่ มกั จะมจี ดุ มุง่ หมายเพือ่ การสรา้ งสนั ตภิ าพอยูด่ ว้ ย บางองคก์ ารมขี อบเขตการด�ำ เนนิ งานในทกุ ภมู ภิ าค
ของโลก แต่บางองค์การจำ�กัดขอบเขตการทำ�งานเฉพาะในบางพื้นที่ เช่น ในตะวันออกกลาง หรือในลาตินอเมริกา
เป็นต้น ตัวอย่างขององค์การเอกชนที่มีวัตถุประสงค์เพื่อสันติภาพ ต่อต้านสงคราม และการแก้ไขข้อขัดแย้ง ได้แก่

       1. ทป่ี ระชมุ พกั วอชเกย่ี วกบั วทิ ยาศาสตรแ์ ละกจิ การโลก (Pugwash Conference on Science and World Af-
fairs) ทีจ่ ดั ขึน้ ใน ค.ศ. 1957 โดยบรรดานกั วทิ ยาศาสตรท์ ี่เมืองพกั วอชในแคนาดา เพื่อปรึกษาหารือกันเกีย่ วกบั ปัญหา
ข้อขัดแย้งระหว่างประเทศและความมั่นคงของโลก โดยแสดงความวิตกกังวลเกี่ยวกับมหันตภัยของสงครามปรมาณู
และสงครามด้วยอาวุธอื่นๆ พร้อมกับร่วมกันหาทางจัดการกับปัญหาดังกล่าว การประชุมระหว่างนักวิทยาศาสตร์
นานาชาตินี้ได้จัดให้มีขึ้นเป็นประจำ�  ซึ่งการประชุมพักวอชได้มีส่วนช่วยเหลือในการวางพื้นฐานและสนับสนุนให้เกิด
สนธิสญั ญาเพื่อสันติภาพหลายฉบบั ได้แก่ สนธสิ ัญญาหา้ มทดลองอาวธุ ปรมาณใู นบรรยากาศ ค.ศ. 1963 สนธิสัญญา
ห้ามแพร่กระจายอาวุธนิวเคลียร์ ค.ศ. 1968 สนธิสัญญาเกี่ยวกับจรวดต่อต้านขีปนาวุธ ค.ศ. 1972 อนุสัญญาอาวุธ
ชีวภาพ ค.ศ. 1972 และอนุสัญญาอาวุธเคมี ค.ศ. 1993 รวมถึงการเสนอความคิดเกี่ยวกับการสร้างกล่องดำ� (black
box) สำ�หรับการวัดความสั่นสะเทือนของการระเบิดของอาวุธปรมาณู และการติดตั้งสายด่วน (hot line) ระหว่าง
ผู้มีอำ�นาจในการตัดสินใจใช้อาวุธมหันตภัยต่างๆ ของประเทศมหาอำ�นาจเพื่อมีมาตรการควบคุมและยับยั้งการเกิด
สงครามอย่างทันท่วงทีอีกด้วย125 ต่อมาใน ค.ศ. 1995 องค์การการประชุมพักวอชได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ
ในด้านความพยายามดำ�เนินงานเพื่อการลดอาวุธนิวเคลียร์

       2. 	 กลุ่มกรีนพีซ (Green peace) เป็นองค์การเอกชนด้านสิ่งแวดล้อมที่ก่อตั้งเมื่อ ค.ศ. 1971 ในเมือง
แวนคูเวอร์ประเทศแคนาดา โดยเริ่มต้นจากการต่อต้านการทดลองอาวุธนิวเคลียร์ของสหรัฐอเมริกาที่กระท�ำ บนเกาะ
อัมชิตก้าในมลรัฐอลาสก้า ซึ่งมีผลกระทบด้านนิเวศต่อแคนาดา ในคริสต์ศตวรรษที่ 21 กลุ่มกรีนพีซมีสำ�นักงานอยู่ใน
40 ประเทศและมีหน่วยประสานงานระหว่างประเทศอยู่ที่กรุงอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ วัตถุประสงค์ของ
องค์การคือการพิทักษ์สภาพแวดล้อมของโลกให้เป็นไปตามธรรมชาติเพื่อให้เอื้ออำ�นวยประโยชน์ต่อสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย
ตัวอย่างของการดำ�เนินงานของกลุ่มกรีนพีซ ได้แก่ การแก้ไขสภาวะโลกร้อนอันเกิดจากการกระท�ำ ของมนุษย์ที่ปล่อย
ก๊าซพิษในบรรยากาศจากโรงงานอุตสาหกรรม การต่อต้านการตัดไม้ทำ�ลายป่า การทำ�การประมงที่มากเกินขอบเขต
จนเสียสมดุลทางธรรมชาติ การล่าปลาวาฬในทะเลเปิด การทิ้งสารพิษลงในทะเล และการใช้พลังงานปรมาณู เป็นต้น	

	 125 Lawrence Scheinman, “Security and a Transational System: The Case of Nuclear Energy”, International Orga-
nization, Vol.XXXV, No.3, Summer 1971, pp. 646-647. อ้างใน สมพงศ์ ชูมาก “องค์การที่ไม่ใช่ของรัฐบาล” ใน เอกสารการสอนชุดวิชา
สถาบันระหว่างประเทศ หน่วยที่ 14 สาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 2528 หน้า 896	

                             ลิขสิทธ์ิของมหาวทิ ยาลัยสโุ ขทยั ธรรมาธริ าช
   183   184   185   186   187   188   189   190   191   192   193