Page 189 - สังคมโลก
P. 189
สงครามกับการเปลี่ยนแปลงในสังคมโลก 7-83
กลุ่มกรีนพีซใช้วิธีการแสดงพลังต่อต้านโดยตรง คือการเผชิญหน้าอย่างสันติวิธี หรือวิ่งเต้นยับยั้งด้านกฎหมายและ
นโยบายไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีการทำ�วิจัยหาข้อมูลในเรื่องเหล่านี้มาแสดงต่อสังคม ซึ่งการดำ�เนินการต่างๆ ได้
รับเงินอุดหนุนจากปัจเจกชนเกือบ 3 ล้านคน และกองทุนของมูลนิธิต่างๆ โดยไม่รับความช่วยเหลือจากรัฐบาล บริษัท
เอกชน หรือพรรคการเมือง การต่อต้านการทดลองอาวุธนิวเคลียร์เป็นภารกิจที่ส�ำ คัญของกลุ่มกรีนพีซมาโดยตลอด
มีการเผชิญหน้ากับการทดลองระเบิดนิวเคลียร์ของฝรั่งเศสในมหาสมุทรแปซิฟิกจนเรือเรนโบว์วอริเออร์ (Rainbow
Warrior) ของกลุ่มกรีนพีซ ถูกทหารฝรั่งเศสลอบวางระเบิดจมใน ค.ศ. 1985126 ต่อมาใน ค.ศ. 1994 กรีนพีซก็ออก
หนังสือพิมพ์ต่อต้านนิวเคลียร์โดยชี้ให้เห็นถึงพิษภัยของกัมมันตภาพรังสีที่เกิดแก่มนุษย์และสิ่งแวดล้อม นอกจาก
นั้นกลุ่มกรีนพีซยังรณรงค์ต่อต้านสงครามที่สหรัฐอเมริกาและกลุ่มพันธมิตรบุกโจมตีอิรักใน ค.ศ. 2003 ด้วย กลุ่ม
กรีนพีซเคยได้รับการเสนอชื่อเข้ารับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ 2 ครั้ง
3. ศนู ยแ์ กไ้ ขความขดั แยง้ อยา่ งสรา้ งสรรคแ์ หง่ แอฟรกิ า (African Centre for the Constructive Resolution of
Disputes: ACCORD) เปน็ องคก์ ารเอกชนระดบั ภมู ภิ าคทีก่ อ่ ตัง้ ในแอฟรกิ าใตเ้ มือ่ ค.ศ. 1992 โดยมุง่ ทีจ่ ะสง่ เสรมิ ความ
ร่วมมือทางการเมืองระหว่างประเทศเพื่อการแก้ไขข้อขัดแย้งในทวีปแอฟริกาด้วยการเจรจาและหาวิธีการยืดเวลาการ
เกิดความขัดแย้งออกไป ACCORD จะเข้าแทรกแซงความขัดแย้งโดยการเป็นตัวกลางในการไกล่เกลี่ย การจัดเจรจา
การวิจัยและวิเคราะห์ข้อขัดแย้ง ตลอดจนการหาทางป้องกันความขัดแย้ง การดำ�เนินงานของ ACCORD หลายกรณี
อยู่ภายใต้อาณัติหรือการมอบหมายหน้าที่ขององค์การสหประชาชาติ เช่น การเข้าไปดำ�เนินการสร้างสันติภาพในบุรุนดี
ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2010 ด้วยการสร้างความปรองดองและจัดการบริหารประเทศตามระบอบประชาธิปไตยภาย
หลังสงครามกลางเมืองที่ยาวนานกว่าสามสิบปีระหว่างชนเผ่าฮูตูและชนเผ่าตุตซี การเข้าไปไต่สวนและหาข้อมูลเกี่ยว
กับข้อขัดแย้งระหว่างซูดานกับชาด ตลอดจนการเข้าไปหาทางสงบศึกในสงครามกลางเมืองที่เกิดขึ้นในทุกภูมิภาคของ
ซดู าน ระหวา่ งรฐั บาลซดู านกบั กลุม่ คาสซาลา (Kassala) ในภาคตะวนั ออกของประเทศ ระหวา่ งรฐั บาลซดู านกบั กองทพั
ปลดแอกซูดาน (Armèe de Libèration Sudanaise: ALS) ในแคว้นคาร์ฟูร์ทางภาคตะวันตก และระหว่างรัฐบาล
ซูดานกับขบวนการปลดปล่อยประชาชนซูดาน (Mouvement de Libération Populaire: MLP) ทางภาคใต้ การ
เขา้ ไปรว่ มฟืน้ ฟสู นั ตภิ าพในสาธารณรฐั ประชาธปิ ไตยคองโกภายใตอ้ าณตั ขิ องสหประชาชาตภิ ายหลงั สงครามกลางเมอื ง
ระหว่างรัฐบาลคองโกกับกลุ่มพันธมิตรของกองกำ�ลังประชาธิปไตยเพื่อการปลดปล่อยคองโก (Alliance des Forces
Dèmocratiques pour la Libèration du Congo: AFDL) และขบวนการปลดปล่อยคองโก (Mouvement de
Libèration du Congo: MLC) เป็นต้น127
4. กลุ่มวิกฤตการณ์ระหว่างประเทศ (International Crisis Group) เป็นองค์การเอกชนที่จัดตั้งเมื่อ
ค.ศ. 1995 ในสหรัฐอเมริกา สำ�นักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยี่ยม มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันและ
แก้ไขปัญหาข้อขัดแย้งที่ร้ายแรงทั่วโลกโดยเดินทางไปวิเคราะห์สถานการณ์ถึงพื้นที่เพื่อนำ�ข้อมูลมาเสนอต่อรัฐบาล
ประเทศต่างๆ และองค์การระหว่างประเทศ เช่น สหประชาชาติ เป็นต้น มีการทำ�วิจัยเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ อาทิ ความ
รุนแรงและการปฏิรูปการเมือง สันติภาพและความยุติธรรม เพศและความขัดแย้ง การก่อการร้ายสากล การพัฒนา
ประชาธิปไตย วิกฤตการณ์ของสหภาพยุโรป และปัญหาโรคเอดส์ เป็นต้น กลุ่มวิกฤตการณ์ระหว่างประเทศได้
เข้าไปทำ�งานในเอธิโอเปีย ซูดานเอริเทรีย โซมาเลีย บุรุนดี อูกันดา เคนยา เนปาล อิรัก อิสราเอล ปากีสถาน อาเจะห ์
โคโซโว ฯลฯ โดยมีทุนในการดำ�เนินงานที่มาจากรัฐบาลของประเทศตะวันตก องค์การการกุศล มูลนิธิ และปัจเจกชน
ทั่วไป
126 http://en.wikipedia.org/wiki/Greenpeace (20/09/2553)
127 ACCORD, The African Centre for the Constructive Resolution of Disputes, http://www.accord.org.za/
(20/09/2553)
ลิขสิทธ์ขิ องมหาวทิ ยาลยั สุโขทัยธรรมาธริ าช