Page 187 - สังคมโลก
P. 187

สงครามกับการเปลี่ยนแปลงในสังคมโลก 7-81
ภายหลังสงครามสิ้นสุดลงนาโตก็ยังมีภารกิจในการจัดส่งผู้อพยพลี้ภัยกลับถิ่นฐานหรือจัดหาที่อยู่อาศัยให้ ทำ�การ
ฟื้นฟูบ้านเมือง ทำ�ลายกับระเบิด ช่วยเหลือด้านการแพทย์และสาธารณสุข รักษาความมั่นคงและฟื้นฟูระเบียบสังคม
พิทักษ์ชนกลุ่มน้อย ดูแลรักษาบริเวณชายแดนเพื่อตรวจตราการเดินทางเข้าออกของกลุ่มติดอาวุธและสกัดกั้นการขน
อาวุธข้ามพรมแดน ดูแลรักษาโบราณสถานมิให้ถูกทำ�ลายจากการสู้รบ ทำ�ลายอาวุธสงครามที่ยึดได้ ฟื้นฟูสถาบันของ
พลเรือน กฎหมาย ระบบศาลยุติธรรม กระบวนการเลือกตั้งเสรี ตลอดจนช่วยทำ�ให้วิถีชีวิตทางการเมือง เศรษฐกิจ
และสังคมของประชาชนท้องถิ่นกลับสู่สภาวะปกติ ใน ค.ศ. 2010 กองกำ�ลังนาโตเหลือปฏิบัติการอยู่ในโคโซโวราว
10,000 คน

       นอกจากนั้นนาโตยังปฏิบัติการรักษาสันติภาพในอัฟกานิสถานใน ค.ศ. 2001 โดยการส่งกองกำ�ลังช่วยเหลือ
รักษาความปลอดภัยระหว่างประเทศ (International Security Assistance Force: ISAF) เข้าไปปฏิบัติการราว
55,100 คน ซึ่งมาจากประเทศสมาชิกของนาโตและจากมิตรประเทศอื่นๆ รวม 38 ประเทศ124

  กิจกรรม 7.4.2
         จงยกตวั อยา่ งการระงบั สงครามและการสรา้ งสนั ติภาพโดยองค์การระหว่างประเทศมา 1 วธิ ี

  แนวตอบกิจกรรม 7.4.2
         ในการประชุมสันติภาพที่กรุงเฮกใน ค.ศ. 1899 ได้กำ�หนดให้อนุญาโตตุลาการเป็นกลไกในการแก้ไข

  ขอ้ ขดั แยง้ ระหวา่ งรฐั โดยกระบวนการทางกฎหมาย ซง่ึ คกู่ รณพี พิ าทจะเสนอบคุ คลหรอื คณะบคุ คลเพอื่ ใหว้ นิ จิ ฉยั
  ในปัญหาข้อขัดแย้ง โดยคู่กรณีท้ัง 2 ฝ่ายผูกพันท่ีจะยินยอมปฏิบัติตามการช้ีขาดของอนุญาโตตุลาการ ตัวอย่าง
  การดำ�เนินงานของอนุญาโตตุลาการคือกรณีพิพาทระหว่างเยเมนกับเอริเทรียเก่ียวกับการครอบครองหมู่เกาะ
  ฮานิชในทะเลแดง จนกระทั่งเกิดการปะทะกันด้วยก�ำ ลังในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1995 ทั้ง 2 ฝ่ายจึงนำ�เรื่องขึ้นสู่
  ศาลอนุญาโตตุลาการถาวร ในที่สุดศาลอนุญาโตตุลาการได้ชี้ขาดให้หมู่เกาะฮานิชเป็นของเยเมน ซึ่งท้ัง 2 ฝ่าย
  ยอมรบั คำ�วนิ จิ ฉยั ดงั กล่าว ขอ้ ขดั แยง้ จงึ ยุติลง

	 124 http://en.Wikipedia.org/wiki/International_Security_Assistance_Force (18/09/2553)	

                              ลิขสทิ ธขิ์ องมหาวทิ ยาลัยสโุ ขทัยธรรมาธริ าช
   182   183   184   185   186   187   188   189   190   191   192