Page 184 - สังคมโลก
P. 184

7-78 สังคมโลก

ฝ่ายเพื่อจัดตั้งเป็นสหพันธรัฐไซปรัส-เตอร์กขึ้น แต่การเจรจายังไม่สิ้นสุดและสถานการณ์ก็ยังไม่สงบโดยเด็ดขาด118
ดังนั้นกองกำ�ลังรักษาสันติภาพของสหประชาชาติจึงยังคงอยู่ประจำ�ในไซปรัสมาจนถึง ค.ศ. 2010

       การบบี บงั คับโดยไมใ่ ชก้ ำ�ลงั ทางทหาร (Sanction)
       การบีบบังคับโดยไม่ใช้กำ�ลังทางทหารเป็นมาตรการลงโทษทางการทูต เศรษฐกิจ และสังคมที่สมัชชาใหญ่
และคณะมนตรีความมั่นคงใช้ด�ำ เนินการแก่รัฐหรือรัฐบาลที่ด�ำ เนินนโยบายซึ่งขัดต่อกฎบัตรสหประชาชาติ อันเป็นการ
ท�ำ ลายสนั ตภิ าพและความมัน่ คงระหวา่ งประเทศ ถา้ เปน็ การใชอ้ ำ�นาจตามหมวดที่ 6 แหง่ กฎบตั รสหประชาชาตทิ ีว่ า่ ดว้ ย
การระงับข้อพิพาทโดยสันติวิธี มติที่ออกมาก็เป็นเพียง “คำ�แนะนำ�” เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องนำ�ไปปฏิบัติ แต่ถ้าเป็นการใช้
อำ�นาจโดยคณะมนตรีความมั่นคงตามข้อที่ 41 ในหมวดที่ 7 ที่ว่าด้วยการดำ�เนินการเกี่ยวกับการคุกคามต่อสันติภาพ
การละเมิดสันติภาพ และการกระทำ�การรุกรานแล้ว ข้อมติจะเป็น “คำ�วินิจฉัย” ที่รัฐสมาชิกต้องปฏิบัติตาม119
       ตัวอย่างของการบีบบังคับโดยไม่ใช้ก�ำ ลังทางทหารคือ กรณีการดำ�เนินนโยบายเหยียดผิว (Apartheid) ของ
รัฐบาลผิวขาวในแอฟริกาใต้ ซึ่งประชาชนผิวดำ�ที่เป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศและคนผิวสีอื่นๆ ถูกกดขี่และลิดรอน
สิทธิเสรีภาพทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม อันเป็นการทำ�ลายสันติภาพและความสงบสุขของคนในชาติ มีการ
ใช้มาตรการลงโทษที่รุนแรงต่อประชาชนที่ต่อต้านกฎหมายเพื่อเรียกร้องความยุติธรรมและความเสมอภาคในสังคม
จนเกิดการปะทะระหว่างประชาชนกับเจ้าหน้าที่อยู่เนื่องๆ และเกือบถึงขั้นการจลาจล อันอาจนำ�มาซึ่งการกบฏหรือ
สงครามกลางเมอื งได้ ดังนั้นใน ค.ศ. 1962 สมชั ชาใหญแ่ ห่งสหประชาชาติจึงมมี ตใิ ห้คำ�แนะน�ำ แกร่ ฐั สมาชกิ เพื่อด�ำ เนิน
มาตรการลงโทษแก่แอฟริกาใต้ โดยการจำ�กัดหรือกีดกันทางการค้าและการแลกเปลี่ยนทางเศรษฐกิจ ต่อมาใน ค.ศ.
1965 สมัชชาใหญ่ได้เสนอต่อคณะมนตรีความมั่นคงว่าสถานการณ์ในแอฟริกาใต้อาจคุกคามต่อสันติภาพและความ
มั่นคงระหว่างประเทศได้ เพราะองค์การเอกภาพแอฟริกา (Organization of African Unity: OAU) :ซึ่งประกอบ
ด้วยรัฐสมาชิกในทวีปแอฟริกา 33 ประเทศต่อต้านนโยบายเหยียดผิวของแอฟริกาใต้และตัดขาดทางการทูตต่อกัน จึง
ขอใหค้ ณะมนตรคี วามมัน่ คงมมี ตลิ งโทษทางการคา้ อาวธุ ตอ่ แอฟรกิ าใต้ คณะมนตรคี วามมัน่ คงจงึ เรยี กรอ้ งใหร้ ฐั ตา่ งๆ
ยุติการขายและส่งอาวุธยุทโธปกรณ์และยานยนต์ทางทหารทุกชนิดแก่แอฟริกาใต้ ซึ่งต่อมาใน ค.ศ. 1970 คณะมนตรี
ความมั่นคงก็ได้มีมติยืนยันการใช้มาตรการลงโทษทางเศรษฐกิจและการห้ามส่งอาวุธให้แก่แอฟริกาใต้อีกครั้งหนึ่ง
       การบีบบังคบั โดยการใชก้ �ำ ลังทางทหาร (Coercion)
       สหประชาชาติได้ใช้มาตรการบีบบังคับด้วยกำ�ลังทางทหารต่อรัฐที่ดำ�เนินการคุกคามต่อสันติภาพและ
ความมั่นคงระหว่างประเทศเพียงไม่กี่ครั้ง คือ ในสงครามเกาหลีระหว่าง ค.ศ. 1950-1953 และในสงครามอ่าว
เปอร์เซียระหว่าง ค.ศ. 1990-1991 ที่สืบเนื่องมาจากการที่อิรักรุกรานคูเวต มาตรการบีบบังคับด้วยกำ�ลังทางทหาร
นี้ สหประชาชาติจะนำ�มาใช้เมื่อพิจารณาเห็นว่าการบีบบังคับโดยไม่ใช้กำ�ลังทางทหารไม่เพียงพอหรือไม่ได้ผล โดย
จะใช้กำ�ลังทางบก ทางทะเล และทางอากาศของรัฐสมาชิกเพื่อธำ�รงไว้หรือนำ�กลับคืนมาซึ่งสันติภาพและความมั่นคง
ระหว่างประเทศ120
       ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1950 กองทัพเกาหลีเหนือได้บุกข้ามเส้นขนานที่ 38 ลงมายังดินแดนเกาหลีใต้
คณะมนตรีความมั่นคงจึงนำ�ปัญหาดังกล่าวขึ้นพิจารณาแล้วมีข้อมติออกมา 3 ฉบับ ได้แก่ ข้อมติที่ 82 เมื่อวันที่ 25
มิถุนายน ค.ศ. 1950 ข้อมติที่ 83 เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน ค.ศ. 1950 และข้อมติที่ 84 เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม ค.ศ.
1950 แนะนำ�ให้รัฐสมาชิกจัดหากองกำ�ลังและความช่วยเหลือต่างๆ ส่งไปยังเกาหลีใต้ โดยให้อยู่ภายใต้การบังคับ	

	 118 สมพงศ์ ชูมาก “กิจกรรมและบทบาทของสหประชาชาติ” ใน เอกสารการสอนชุดวิชาสถาบันระหว่างประเทศ หน่วยที่ 4 นนทบุรี
สาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธาช 2528 หน้า 255-256
	 119 เพิ่งอ้าง หน้า 259	
	 120 มาตรา 42 แห่งกฎบัตรสหประชาชาติ

                             ลขิ สิทธ์ิของมหาวทิ ยาลัยสุโขทยั ธรรมาธิราช
   179   180   181   182   183   184   185   186   187   188   189