Page 180 - สังคมโลก
P. 180

7-74 สังคมโลก

แวร์ซายส์ซึ่งได้ลงทะเบียนไว้ในส�ำ นักเลขาธิการของสันนิบาตชาติ ทำ�ให้อำ�นาจของสันนิบาตชาติอ่อนแอลงไป ประการ
ทส่ี อง การที่มหาอำ�นาจซึ่งเป็นสมาชิกของสันนิบาตชาติมีอุดมการณ์ทางการเมืองแบบเผด็จการ คือ เยอรมนีปกครอง
ด้วยระบอบนาซี อิตาลีปกครองด้วยระบอบฟาสซิสต์ ญี่ปุ่นปกครองด้วยระบอบเผด็จการทหาร และสหภาพโซเวียต
ปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิสต์ ซึ่งประเทศมหาอำ�นาจเหล่านี้ต่างก็มีนโยบายขยายอำ�นาจโดยการรุกรานประเทศอื่น
อันเป็นการทำ�ลายวัตถุประสงค์หลักของสันนิบาตชาติ ประการท่ีสาม การที่สันนิบาตชาติมีระบบอาณัติ (mandate)
ที่ให้อำ�นาจแก่ประเทศอาณัติ คือมหาอำ�นาจฝ่ายพันธมิตรผู้ชนะสงคราม สามารถครอบครองดินแดนอาณานิคม
ของประเทศผู้แพ้สงครามต่อไป ภายใต้การกำ�กับดูแลของสันนิบาตชาติ แทนที่จะให้เอกราชแก่ดินแดนเหล่านั้น	
ก็เท่ากับเป็นการสนบั สนุนการกดขีเ่ อารัดเอาเปรียบของมหาอำ�นาจตอ่ ประเทศเล็กๆ ที่ด้อยพัฒนาซึ่งถือเปน็ การทำ�ลาย
บรรยากาศแหง่ สทิ ธเิ สรภี าพ และกอ่ ใหเ้ กดิ ความขดั แยง้ ระหวา่ งประเทศผูป้ กครองและดนิ แดนทีถ่ กู ปกครองทีต่ อ้ งการ
เอกราช ซึ่งจะมีผลสืบเนื่องต่อมาจนถึงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ประการสุดทา้ ย สันนิบาตชาติประสบความสำ�เร็จใน
การส่งเสริมความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและการค้าระหว่างรัฐสมาชิกน้อยมาก เนื่องจากนโยบายชาตินิยมของประเทศ
ต่างๆ ที่มุ่งแข่งขันกันแสวงหาผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจมากกว่าที่จะหันมาพัฒนาความร่วมมือระหว่างกัน ประกอบ
กับสภาวะเศรษฐกิจที่ตกตํ่าอย่างมากในปลายทศวรรษที่ 1920 ทำ�ให้ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและการค้าระหว่าง
ประเทศได้รับผลกระทบอย่างมาก การช่วยเหลือฟื้นฟูบูรณะประเทศต่างๆ จากภัยพิบัติของสงครามโลกครั้งที่ 1
เกือบทั้งหมดก็มาจากสหรัฐอเมริกา ไม่ใช่มาจากสันนิบาตชาติ และ “องค์การเศรษฐกิจและการเงิน” ซึ่งเป็นองค์กร
ทางเทคนิคของสันนิบาตชาติก็มีบทบาทในการดำ�เนินงานน้อยมากเช่นกัน ทำ�ให้การใช้เศรษฐกิจเป็นเครื่องมือในการ
รักษาสันติภาพไม่ได้ผล

2. 	 สหประชาชาติ (United Nations)

       สงครามโลกครั้งที่ 2 ที่เกิดขึ้นใน ค.ศ. 1939 และความล้มเหลวในการดำ�เนินงานของสันนิบาตชาติทำ�ให้
บรรดาประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรตระหนักถึงความจ�ำ เป็นในการก่อตั้งองค์การระหว่างประเทศระดับโลกอันใหม่ เพื่อ
ทำ�หน้าที่ในการรักษาสันติภาพและความมั่นคงของสังคมโลก ดังนั้นรัฐบาลพลัดถิ่นของประเทศผู้ถูกฝ่ายอักษะรุกราน
และยดึ ครองจงึ ไดร้ ว่ มประชมุ กนั ทีก่ รงุ ลอนดอน ประเทศองั กฤษและรว่ มกนั ลงนามในปฏญิ ญากรงุ ลอนดอนเมือ่ เดอื น
มิถุนายน ค.ศ. 1941 เพื่อสนับสนุนหลักการดังกล่าว ในขั้นแรกประธานาธิบดีแฟรงคลิน ดี รูสเวลต์แห่งสหรัฐอเมริกา
ไดพ้ บปะหารอื กบั นายกรฐั มนตรอี งั กฤษ วลิ สตนั เชอรช์ ลิ และลงนามรว่ มกนั ในกฎบตั รแอตแลนตกิ (Atlantic Char-
ter) ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1941 ต่อจากนั้นมหาอำ�นาจ 4 ชาติอันได้แก่ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ สหภาพโซเวียต และ
จีน ก็ได้ประชุมหารือกันระหว่างเดือนสิงหาคมถึงเดือนตุลาคม ค.ศ. 1944 เพื่อร่างกฎบัตรสหประชาชาติที่ดัมบาร์ตัน
โอ๊ค ชานกรุงวอชิงตัน ในที่สุดรัฐต่างๆ 50 รัฐจึงร่วมกันลงนามในกฎบัตรสหประชาชาติที่เมืองซานฟรานซิสโกในเดือน
เมษายน ค.ศ. 1945 และเมื่อประเทศส่วนใหญ่ให้สัตยาบันต่อกฎบัตรดังกล่าวในวันที่ 24 ตุลาคม ค.ศ. 1945 ก็ถือว่า
เป็นวันเริ่มดำ�เนินการของสหประชาชาติ

       จุดมุ่งหมายของกฎบัตรสหประชาชาติ ได้แก่ 1. ธำ�รงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ	
2. ยึดหลักการแห่งความเท่าเทียมกันและเคารพสิทธิขั้นมูลฐานของประชาชน และ 3. เป็นศูนย์กลางความร่วมมือ
เพื่อสร้างเงื่อนไขที่ดีด้านเศรษฐกิจ สังคม และความเป็นธรรมในสังคม ซึ่งการดำ�เนินงานของสหประชาชาติได้ยึดถือ
หลักการแห่งความเสมอภาคในอธิปไตยของรัฐสมาชิกเป็นพื้นฐาน โดยที่รัฐสมาชิกทั้งหลายจะต้องไม่คุกคามหรือใช้
กำ�ลังละเมิดบูรณภาพแห่งดินแดนและอธิปไตยของรัฐอื่น การระงับข้อพิพาทระหว่างประเทศต้องกระทำ�โดยสันติวิธี	
อันได้แก่ การเจรจา การไต่สวน การไกล่เกลี่ย การประนีประนอม อนญุ าโตตลุ าการ และกระบวนการทางศาลยตุ ธิ รรม

                             ลขิ สิทธ์ขิ องมหาวทิ ยาลัยสุโขทยั ธรรมาธิราช
   175   176   177   178   179   180   181   182   183   184   185