Page 179 - สังคมโลก
P. 179

สงครามกับการเปลี่ยนแปลงในสังคมโลก 7-73

ร่วมที่ให้รัฐสมาชิกทุกรัฐไม่ว่าเล็กหรือใหญ่มีส่วนร่วมในการรักษาสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ ถ้าเกิด
สงครามหรือการคุกคามไม่ว่าจะต่อรัฐสมาชิกหรือไม่ใช่รัฐสมาชิก สันนิบาตชาติถือว่าเป็นภารกิจที่จะต้องหาทางระงับ
โดยเร็วที่สุด นอกจากนั้นก็ต้องมุ่งสร้างเงื่อนไขและบรรยากาศทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมในความสัมพันธ์
ระหว่างประเทศให้เกื้อกูลต่อสันติภาพของโลกด้วย อาทิ การช่วยเหลือพัฒนาประชาชนในดินแดนต่างๆ ให้สามารถ
ปกครองตนเองได้ ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศด้านเศรษฐกิจและการค้า สนับสนุนความร่วมมือด้านสังคม
และสุขภาพอนามัยของประชาชาติทั่วโลก เป็นต้น

       สันนิบาตชาติมีองค์กรหลัก 3 องค์กร ได้แก่ สมัชชา คณะมนตรี และสำ�นักเลขาธิการ สมัชชาเป็นที่ประชุม
ใหญ่ของบรรดาผู้แทนจากรัฐต่างๆ ทั่วโลก เพื่อพิจารณาถกเถียงปัญหาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศทั้ง
หลาย แต่เนื่องจากสมัชชามีการประชุมกันเพียงปีละสมัยเดียวในเดือนกันยายน คณะมนตรีซึ่งเป็นองค์กรที่ประกอบ
ด้วยสมาชิกที่เป็นมหาอำ�นาจอันได้แก่ อังกฤษ ฝรั่งเศส อิตาลี และญี่ปุ่น และมีการประชุมกันเป็นครั้งคราวตาม	
ความจำ�เป็น ซึ่งบ่อยครั้งกว่าสมัชชา จึงมีบทบาทสำ�คัญในการดำ�เนินการเพื่อรักษาสันติภาพและความมั่นคงระหว่าง
ประเทศ คณะมนตรีมีหน้าที่ในการกำ�หนดวิธีการหรือมาตรการเพื่อระงับข้อขัดแย้งตามมติของสมัชชา หรือตาม	
คำ�วินิจฉัยของศาลยุติธรรมประจำ�ระหว่างประเทศ หรือตามคำ�ตัดสินของอนุญาโตตุลาการ รวมทั้งพิจารณาปัญหา
ต่างๆ ที่เกิดขึ้นเพราะการไม่ปฏิบัติตามสนธิสัญญาสันติภาพของรัฐต่างๆ

       ในช่วงที่สันนิบาตชาติดำ�เนินการอยู่ระหว่าง ค.ศ. 1920-1946 นั้น มีการระงับข้อพิพาทและสงครามหลาย
กรณี โดยในช่วงแรกระหว่าง ค.ศ. 1920-1932 สันนิบาตชาติประสบผลสำ�เร็จในการรักษาสันติภาพเป็นส่วนใหญ่ มี
การลงนามโดยบรรดารฐั สมาชิกในพิธีสารเจนวี า ค.ศ. 1924 (Geneva Protocol, 1924) ว่าด้วยการรกุ ราน มกี ารทำ�ข้อ
ตกลงโลการ์โน ค.ศ. 1925 (Locarno Pact, 1925) เพื่อกำ�หนดเขตปลอดทหารและประกันสันติภาพบริเวณชายแดน
ของเยอรมนี มีการทำ�ข้อตกลงเคลล็อก-บริอองด์ (Kellogg-Briand Pact) หรือข้อตกลงปารีส ค.ศ. 1928 (Pact of
Paris, 1928) โดยมี 60 ประเทศร่วมลงนามเพื่อตกลงกันที่จะไม่ใช้สงครามเป็นเครื่องมือในการดำ�เนินนโยบายของรัฐ
ตวั อยา่ งของกรณพี พิ าททีส่ นั นบิ าตชาตสิ ามารถระงบั ไดส้ ำ�เรจ็ ไดแ้ ก่ ความขดั แยง้ ระหวา่ งสวเี ดนกบั ฟนิ แลนดเ์ กีย่ วกบั
หมู่เกาะออลันด์ใน ค.ศ. 1920 ความขัดแยง้ ระหวา่ งเปอรเ์ ซียกบั สหภาพโซเวยี ตเกี่ยวกับดินแดนเอนเซลีใน ค.ศ. 1920
ข้อขัดแย้งระหว่างโปแลนด์กับเยอรมนีเกี่ยวกับดินแดนซีเลเซียบนใน ค.ศ. 1921 กรณีพิพาทระหว่างอิตาลี กรีซ และ
ยโู กสลาเวยี เกีย่ วกบั ชายแดนแอลเบเนยี ใน ค.ศ. 1921 กรณพี ิพาทระหวา่ งองั กฤษกบั ตรุ กเี กีย่ วกบั แควน้ โมซลุ ใน ค.ศ.
1924 การปะทะกันบริเวณชายแดนระหว่างกรีซกับบัลแกเรียใน ค.ศ. 1925 กรณีพิพาทระหว่างโบลิเวียกับปารากวัย
เกี่ยวกับดินแดนกรานชาโกใน ค.ศ. 1928 เป็นต้น

       ช่วงหลังของการดำ�เนินงานของสันนิบาตชาติ คือระหว่าง ค.ศ. 1932-1946 การรักษาสันติภาพไม่ประสบผล
สำ�เร็จในหลายกรณี เนื่องจากกรณีพิพาทที่เกิดขึ้นมักจะเป็นการคุกคามหรือรุกรานโดยมหาอ�ำ นาจซึ่งเป็นสมาชิกของ
คณะมนตรีของสันนิบาตชาติเอง ทำ�ให้สันนิบาตชาติไม่สามารถดำ�เนินการใดๆ ได้อย่างจริงจัง มหาอำ�นาจและประ
เทศเล็กๆ ต่างลาออกจากการเป็นสมาชิกของสันนิบาตชาติกันหลายประเทศ โดยญี่ปุ่นและเยอรมนีลาออกใน ค.ศ.
1933 อิตาลีลาออกใน ค.ศ. 1937 และประเทศอื่นๆ ก็ทยอยลาออกถึง 15 ประเทศ รวมทั้งการที่สหภาพโซเวียตถูกขับ
ออกจากการเป็นสมาชิกใน ค.ศ. 1939 เนื่องจากรุกรานฟินแลนด์ ตัวอย่างของความล้มเหลวในการระงับกรณีพิพาท
ได้แก่ กรณีที่ญี่ปุ่นรุกรานดินแดนแมนจูเรียของจีนใน ค.ศ. 1932 กรณีเยอรมนีละเมิดสนธิสัญญาโลการ์โนโดยผนวก
ดนิ แดนไรนแ์ ลนดใ์ น ค.ศ. 1936 กรณอี ติ าลรี กุ รานเอธโิ อเปยี ใน ค.ศ. 1935-1936 กรณสี หภาพโซเวยี ตรกุ รานฟนิ แลนด์
ใน ค.ศ. 1939 เป็นต้น

       ความล้มเหลวของสันนิบาตชาติมีสาเหตุมาจากหลายกรณี ประการแรก การที่สหรัฐอเมริกาเป็นมหาอำ�นาจ
ผู้ก่อตั้ง แต่กลับไม่เข้าร่วมเป็นสมาชิก เพราะวุฒิสภาของสหรัฐอเมริกาไม่ยอมให้สัตยาบันสนธิสัญญาสันติภาพ	

                              ลขิ สทิ ธิ์ของมหาวทิ ยาลยั สโุ ขทยั ธรรมาธิราช
   174   175   176   177   178   179   180   181   182   183   184