Page 175 - สังคมโลก
P. 175
สงครามกับการเปลี่ยนแปลงในสังคมโลก 7-69
โลวะเกีย ยินยอมตามข้อเรียกร้องของฮิตเลอร์ และยังเดินทางไปประชุมที่เมืองมิวนิคในเยอรมนีเมื่อเดือนกันยายน
ค.ศ. 1938 ร่วมกับฝรั่งเศส อิตาลี และเยอรมนี โดยที่ประชุมมีมติยินยอมให้เยอรมนีผนวกแคว้นสุเดเตนได้ โดย
มีข้อตกลงว่าจะไม่เรียกร้องดินแดนใดเพิ่มขึ้นอีก การประชุมครั้งนี้เชโกสโลวะเกียไม่ได้ถูกเชิญให้เข้าร่วมประชุม
ด้วย ข้อตกลงที่ออกมาจึงถูกเรียกโดยเชโกสโลวะเกียว่า “ข้อบงการมิวนิค” (Mnichovskü diktàt) อย่างไรก็ตาม
การดำ�เนินการทางการทูตเพื่อรักษาสันติภาพของอังกฤษและฝรั่งเศสในครั้งนี้ไม่ประสบผลสำ�เร็จ เพราะต่อมาใน
เดือนมีนาคม ค.ศ. 1939 ฮิตเลอร์ก็ผนวกเอาดินแดนที่เหลือของเชโกสโลวะเกียคือโบเฮเมีย โมราเวีย และสโลวา
เกียเพิ่มขึ้นอีก จนแชมเบอร์เลนต้องยกเลิกนโยบายการทูตแบบเอาใจเยอรมนี แล้วร่วมมือกับฝรั่งเศสทำ�ข้อตกลงคํ้า
ประกันเอกราชของโรมาเนีย กรีซ และตุรกี ตลอดจนมีนโยบายเกณฑ์ทหารอังกฤษเพื่อเตรียมพร้อมในการสงคราม
และในวันที่ 1 กันยายน ค.ศ. 1939 เยอรมนีก็บุกโปแลนด์ อีก 2 วันต่อมาอังกฤษและฝรั่งเศสก็ประกาศสงครามกับ
เยอรมนี อันเป็นการเริ่มต้นสงครามโลกครั้งที่ 2
3. การกำ�หนดสถานภาพของรฐั ใหเ้ ปน็ กลางทางการเมอื ง (Neutrality)
เพื่อสนั ตภิ าพและความสงบสุขของรฐั และของภูมิภาค รฐั สามารถก�ำ หนดสถานภาพให้เป็นกลางทางการเมอื ง
โดยไมเ่ ขา้ ยุง่ เกีย่ วกับข้อขัดแยง้ และสงครามระหว่างประเทศใดๆ ซึง่ ยิง่ ถา้ มปี ระเทศที่เปน็ กลางทางการเมอื งมากเทา่ ใด
ก็ยิ่งจะช่วยให้ขอบเขตและความรุนแรงของสงครามไม่ลุกลามและจำ�กัดวงลงไปได้เท่านั้น สถานภาพความเป็นกลาง
ของรฐั อาจถาวรตลอดไป (Permanent Neutrality) เชน่ ความเปน็ กลางของสวติ เซอรแ์ ลนดท์ ีเ่ ปน็ มาตัง้ แต่ ค.ศ. 1815
ตามขอ้ ตกลงเวยี นนา เปน็ ตน้ สภาพของความเปน็ กลางอาจมขี ึน้ ในบางโอกาสตามสถานการณ์ (Occasional Neutral-
ity) เช่น การที่ไอร์แลนด์ประกาศความเป็นกลางในสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้น แต่ในบางครั้งความเป็นกลางก็อาจ
ถกู ละเมิดจากประเทศคูส่ งครามได้ เช่น กรณีที่เบลเยียมซึง่ มีสถานภาพเป็นกลางมาตัง้ แต่ ค.ศ. 1839 ตามสนธิสัญญา
ลอนดอนกลับถูกเยอรมนีละเมิดความเป็นกลางสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 โดยการรุกรานใน ค.ศ. 1914 เป็นต้น102
ความเป็นกลาง (Neutrality) เป็นสถานภาพในทางกฎหมาย สำ�หรับในการดำ�เนินการทางการเมืองนั้น ช่วง
สงครามเย็นระหว่างทศวรรษที่ 1950-1980 หลายประเทศในโลกที่ 3 ซึ่งเป็นประเทศก�ำ ลังพัฒนาก็ประกาศการด�ำ เนิน
นโยบายเป็นกลาง (Neutralism) ระหว่างค่ายคอมมิวนิสต์ที่มีสหภาพโซเวียตเป็นผู้นำ�กับค่ายโลกเสรีประชาธิปไตยที่
มีสหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำ� เพื่อหลีกเลี่ยงการเข้าไปพัวพันในสงครามเย็นที่เป็นความขัดแย้งด้านอุดมการณ์ทางการเมือง
ระหว่าง 2 ค่ายนี้ และเพื่อต้องการติดต่อสัมพันธ์กับทุกประเทศในทุกค่ายอย่างสันติและฉันท์มิตร นโยบายนี้เรียกอีก
อย่างหนึ่งว่าการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด (Nonalignment) ตัวอย่างของประเทศเหล่านี้ ได้แก่ ยูโกสลาเวียสมัยประธานาธิบดี
โยซิป บรอส ตีโต้ (Josip Broz Tito) กานาสมัยประธานาธิบดีควาเม นะครูมา (Kwame Nkrumah) เป็นต้น อย่างไร
ก็ตามบางประเทศที่อยู่ในกลุ่มประเทศไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดก็ไม่เป็นกลางอย่างแท้จริง อาทิ อินเดียซึ่งฝักใฝ่ค่ายสหภาพ
โซเวียต สิงคโปร์ซึ่งเอนเอียงมาทางค่ายสหรัฐอเมริกา เป็นต้น
4. การจัดเจรจาให้คู่ขัดแย้ง (Good Offices)
เมื่อเกิดข้อขัดแย้งหรือสงครามระหว่างรัฐหรือสงครามกลางเมืองภายในรัฐ ประเทศที่สามอาจเสนอความ
ช่วยเหลือโดยการจัดสถานที่ บุคลากร ยานพาหนะ และสิ่งอำ�นวยความสะดวกต่างๆ ให้แก่คู่กรณีเพื่อทำ�การเจรจา
สันติภาพกันเองตามลำ�พัง โดยประเทศที่สามจะไม่เข้าเกี่ยวข้องในการเจรจาทั้งสิ้น แม้ว่าประเทศที่สามจะมีความ
102 Pierre Sandahl et Louise de Bèa, “Neutralitè”, Dictionnaire Politique et Diplomatique, Paris: Librairies Techniques,
s.a., p. 120.
ลขิ สิทธ์ิของมหาวิทยาลยั สโุ ขทัยธรรมาธิราช