Page 190 - สังคมโลก
P. 190

7-84 สังคมโลก

       5. กลุ่มมิตรภาพเพ่ือการปรองดองในสหราชอาณาจักร (Fellowship of Reconciliation in the United
Kingdom: FORUK) เป็นองค์การเอกชนเพื่อสันติภาพที่จัดตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1914 โดยนายเฮนรี ฮอดจ์กิ้น (Henry
Hodgkin) ซึ่งเป็นพวกเควเกอร์ (Quaker) ที่เคร่งศาสนาคริสต์ในอังกฤษ ร่วมกับนายฟรีดิช ซีกมุนด์-ชุลท์เซอ
(Friedrich Siegmund-Schultze) นักเทววิทยาชาวเยอรมัน โดยมีวัตถุประสงค์ในการต่อต้านการทำ�สงครามโลก
ครั้งที่ 1 ระหว่างฝ่ายพันธมิตรกับฝ่ายมหาอำ�นาจกลาง ต่อมาในทศวรรษที่ 1930 กลุ่มมิตรภาพเพื่อการปรองดอง
ในสหราชอาณาจักรก็ได้รณรงค์ต่อต้านสงครามและความขัดแย้งที่เกิดขึ้นหลายแห่งก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 อาทิ
สงครามในสเปน เป็นต้น ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 การดำ�เนินการเพื่อสันติภาพและความสมานฉันท์ได้มีมาโดย
ตลอด มีการรณรงค์เพื่อการลดอาวุธปรมาณูในทศวรรษที่ 1950 และ 1960 มีความร่วมมือกับกลุ่มชาวพุทธและกลุ่ม
ชาวฮินดูเพื่อต่อต้านสงครามในที่ต่างๆ ใน ค.ศ. 2005 นายนอร์แมน เคมเบอร์ (Norman Kember) สมาชิกของกลุ่ม
FORUK ได้ถูกลักพาตัวในอิรักโดยกลุ่มที่ไม่ทราบฝ่าย128

       6. 	 กลมุ่ มติ รภาพเพอ่ื การปรองดองในสหรฐั อเมรกิ า (Fellowship of Reconciliation in the United States of
America: FORUSA) ก่อตั้งใน ค.ศ. 1915 โดยนักสันติภาพในสหรัฐอเมริกา จุดมุ่งหมายแรกเริ่มคือการต่อต้านการ
ที่สหรัฐอเมริกาจะเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1 หลังจากนั้นได้ดำ�เนินกิจกรรมทั้งการเมืองภายในประเทศและระหว่าง
ประเทศ เช่น มีการร่วมมือกับสหภาพเสรีภาพพลเรือนอเมริกัน (American Civil Liberties Union) เพื่อส่งเสริม
สิทธิเสรีภาพของประชาชนอเมริกัน มีการจัดตั้งสภาความเท่าเทียมกันทางเชื้อชาติ (Congress of Racial Equality)
ใน ค.ศ. 1947 เพื่อต่อสู้กับการแบ่งแยกปฏิบัติของทางการต่อชาวผิวขาวและชาวผิวสีในสหรัฐอเมริกา ใน ค.ศ. 1954
ได้มีการส่งเสบียงอาหารไปช่วยภัยพิบัติที่เกิดจากความอดอยากในจีนแม้ว่าจีนจะปกครองในระบอบคอมมิวนิสต์
และมีนโยบายเป็นปฏิปักษ์กับสหรัฐอเมริกาก็ตาม ในช่วงทศวรรษที่ 1960 ได้ติดต่อกับพระภิกษุในพุทธศาสนาชาว
เวียดนาม ทิกญัตหั่ง (Thìch Nhàt Hang) เพื่อร่วมกันรณรงค์ต่อต้านสงครามเวียดนาม มีการรณรงค์ควบคุมการ
ครอบครองอาวุธปืนของเอกชนในสหรัฐอเมริกา ตลอดจนการต่อต้านสงครามในอิรักและในตะวันออกกลางด้วย

       7. 	 กลมุ่ แพทยร์ ะหวา่ งประเทศเพอื่ การปอ้ งกนั สงครามนวิ เคลยี ร์ (International Physicians for the Preven-
tion of Nuclear War: IPPNW) เปน็ สหพนั ธข์ ององคก์ ารแพทยแ์ หง่ ชาติ 62 ประเทศ ซึง่ มสี มาชกิ เปน็ แพทย์ นกั ศกึ ษา
แพทย์ บุคลากรด้านสาธารณสุข และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ในทศวรรษที่ 1990 มีสมาชิกกว่า 2 แสนคน ก่อตั้งเมื่อ	
ค.ศ. 1980 ส�ำ นกั งานใหญ่อยูท่ ีเ่ มอื งซอมเมอรว์ ิล ในมลรฐั แมสซาซเู ซตส์ สหรฐั อเมรกิ า IPPNW มวี ัตถุประสงค์ในการ
ดำ�เนินงานเพื่อการสร้างโลกแห่งสันติภาพ ปลอดจากการคุกคามของนิวเคลียร์ มุ่งป้องกันมิให้เกิดสงครามนิวเคลียร์
โดยการขจัดอาวุธนิวเคลียร์และหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้ากันทางทหาร การดำ�เนินการกระทำ�โดยสันติวิธีด้วยการ
เจรจาและส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกัน ในเดือนเมษายน ค.ศ. 2007 IPPNW ได้จัดการรณรงค์ระหว่างประเทศ
เพื่อการยกเลิกอาวุธนิวเคลียร์ ณ กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ใน ค.ศ. 1984 องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์
และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ได้มอบรางวัลการศึกษาสันติภาพ (Peace Education Prize) ให้แก่
IPPNW และใน ค.ศ. 1985 ก็ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ

       8. 	 กลุ่มรณรงค์ต่อต้านการค้าอาวุธ (Campaign Against Arms Trade: CAAT) เป็นองค์การเอกชนที่ตั้ง
ขึ้นในกรุงลอนดอนประเทศอังกฤษ ใน ค.ศ. 1974 โดยกลุ่มสันติภาพหลายกลุ่มรวมตัวกันเพื่อรณรงค์ให้เลิกการค้า
อาวุธระหว่างประเทศ CAAT ต่อต้านการพัฒนาอุตสาหกรรมทางทหารของรัฐและธุรกิจการค้าอาวุธของบริษัทเอกชน
เช่น การต่อต้านอุตสาหกรรมการบินและอวกาศของอังกฤษ (British Aerospace) ที่ขายเครื่องบินทหารและอาวุธ
ยุทโธปกรณ์ให้แก่ต่างประเทศมีมูลค่าสูงเป็นอันดับ 3 ของโลก การคัดค้านการจัดงานแสดงอาวุธยุทธภัณฑ์ของโลกที่
ชื่อว่า “ระบบและอุปกรณ์ป้องกันทางทหารระหว่างประเทศ” (Defence Systems and Equipment International:

	 128 http://en.wikipedia.org/wiki/Followship_of_Reconciliation (20/09/2553) 	

                             ลิขสทิ ธิข์ องมหาวทิ ยาลยั สโุ ขทยั ธรรมาธริ าช
   185   186   187   188   189   190   191   192   193   194   195