Page 42 - สังคมโลก
P. 42

6-2 สังคมโลก

              แผนการสอนประจำ�หน่วย

ชดุ วิชา 	 สังคมโลก

หนว่ ยที่ 6 	 จักรวรรดินิยม

ตอนท่ี

       6.1 	ความหมายและพัฒนาการของจักรวรรดินิยมในยุคการขยายตัวของชาติตะวันตก
       6.2 	จักรวรรดินิยมใหม่ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20
       6.3 	จักรวรรดินิยมในกระแสโลกาภิวัตน์

แนวคิด

       1. 	ค วามหมายและพฒั นาการของจกั รวรรดนิ ยิ มตะวนั ตกสมั พนั ธใ์ กลช้ ดิ กบั การลา่ อาณานคิ ม ซึง่ หลายปจั จยั
          ก่อให้เกิดสภาพดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นทำ�เลที่ตั้งของจักรวรรดินั้นๆ (ภูมิศาสตร์) สภาพแวดล้อม และการ
          เปลี่ยนแปลงทางสังคม แต่ที่มิติปรากฏชัดที่สุดคือ ความจำ�เป็นและพัฒนาการทางเศรษฐกิจ มิติและ
          ความจำ�เป็นต่างๆ เหล่านี้ ช่วยผลักดันให้จักรวรรดินิยมตะวันตกเกิดขึ้นได้และขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
          จนถึงขั้นรุกรานดินแดนโพ้นทะเล อาทิ ตะวันออกกลางและตะวันออกไกล การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวยิ่ง
          เป็นไปในอัตราเร่งหลังการปฏิวัติอุตสาหกรรมและการปฏิวัติฝรั่งเศส

       2. 	จักรวรรดินิยมใหม่ เกิดจากพัฒนาการความเปลี่ยนแปลงในสังคมตะวันตกที่เร่งให้การขยายตัวของ
          จักรวรรดินิยมเป็นไปอย่างรวดเร็วและรุนแรง การต่อต้านจากชาวพื้นเมืองก็เพิ่มความรุนแรงขึ้น เพื่อ
          ให้สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ การรวบอำ�นาจเข้าสู่ศูนย์กลางโดยมุ่งหวังประสิทธิภาพใน
          การรกุ เขา้ ดนิ แดนตอนในของแอฟรกิ า ท�ำ ใหช้ าตติ ะวนั ตกเกดิ ปะทะกนั ขึน้ ในหลายพืน้ ที่ แตค่ วามขดั แยง้ 	
          ก็ยังคงดำ�รงอย่างต่อเนื่องจนล่วงเข้าสู่ศตวรรษที่ 20 และรุนแรงมากขึ้นเมื่อเศรษฐกิจและการทหารของ
          สหรัฐอเมริกา เยอรมนี และญี่ปุ่นขยายตัวอย่างมาก จนภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สหรัฐอเมริกา
          และสหภาพโซเวียตมีบทบาทน�ำ ในการกำ�หนดความเป็นไปของโลกยุคสงครามเย็น โดยที่สหรัฐอเมริกา
          มีโอกาสแสดงบทบาทและทิศทางนโยบายในแนวทางจักรวรรดินิยมอย่างเด่นชัด

       3. 	ความเปลี่ยนแปลงของจักรวรรดิอเมริกาเริ่มปรากฏในช่วงทศวรรษ 1960-1970 ความอ่อนแอทางการ
          ทหาร ท�ำ ใหค้ วามน่าเชื่อถือของสหรฐั อเมรกิ าลดตํา่ ลง ขณะทีย่ ุโรปตะวันตกและญี่ปุ่นแขง็ แกร่งขึน้ ในทาง
          เศรษฐกิจ บรรษัทข้ามชาติและการทำ�ธุรกรรมนอกประเทศมีส่วนอย่างสำ�คัญในการทำ�ให้เศรษฐกิจโลก
          ผันผวนโดยเฉพาะเมื่อเผชิญวิกฤตการณ์ราคานํ้ามัน ผลก็คือ สหรัฐอเมริกาปรับนโยบายเศรษฐกิจและ
          ต่างประเทศครั้งใหญ่ โดยดึงเอามิติด้านการทหารและการให้ความช่วยเหลือต่างประเทศเข้ามาเกี่ยวข้อง
          มากขึ้น นโยบายดังกล่าวปรากฏชัดอีกครั้งในสมัยประธานาธิบดีจอร์จ บุช (George W. Bush) หลังเกิด
          เหตุวินาศกรรมในอเมริกาเมื่อวันที่ 11 เดือนกันยายน ค.ศ. 2001

              ลขิ สทิ ธ์ขิ องมหาวิทยาลัยสโุ ขทยั ธรรมาธิราช
   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47