Page 46 - สังคมโลก
P. 46

6-6 สังคมโลก

เรือ่ งที่ 6.1.1
ความหมายและแนวคดิ เกยี่ วกับจักรวรรดนิ ยิ ม

       คำ�ว่า “Empire” ซึ่งเริ่มปรากฏในภาษาอังกฤษเมื่อราวต้นศตวรรษที่ 14 มีที่มาจากคำ�ว่า “imperium” ใน
ภาษาลาติน หมายถึงการออกคำ�สั่ง (imparare) อันเป็นรากศัพท์ของคำ�ว่า “emperor” หรือจักรพรรดิ ซึ่งหมายถึง
“การมีอำ�นาจเด่นนำ�ทางการเมืองที่ขยายกว้างและเด็ดขาด” ไม่ว่าอำ�นาจนั้นจะมาจากองค์จักรพรรดิ หรือรัฐอธิปไตย
ที่ใช้อำ�นาจเหนือดินแดนของรัฐอื่นที่ต้องอิงอาศัยรัฐนั้น ส่วนคำ�ว่า “colony” มีรากศัพท์มาจากคำ�ว่า “colonia” อัน
เป็นรูปพหูพจน์ของคำ�ว่า “colonus” หมายถึงเกษตรกร ผู้ที่ทำ�การเพาะปลูก ผู้ที่ตั้งรกรากในแผ่นดินใหม่ นักคิด
นักเขียนชาวโรมันเลือกใช้คำ�นี้แทนคำ�ในภาษากรีกที่มีความหมายถึงการตั้งรกรากห่างไกลจากบ้านเกิด ซึ่งหมายถึง	
ชาวโรมันในดินแดนอาณานิคมอันห่างไกลเช่นในดินแดนฝรั่งเศสและเกาะอังกฤษ ปีเตอร์ มาร์ไทร์ (Peter Martyr)	
นกั วชิ าการอติ าเลยี นหยบิ คำ�โบราณนีม้ าใชใ้ นชว่ งศตวรษที่ 16 (ค.ศ. 1516) เพือ่ หมายถงึ การตัง้ รกรากของชาวยโุ รปใน
ดินแดนแห่งโลกใหม่ที่ชาวยุโรปเพิ่งค้นพบนอกทวีปยุโรป ริชาร์ด อีเดน (Richard Eden) เป็นผู้นำ�คำ�และความหมาย
ในลักษณะนี้เข้ามาเผยแพร่ในภาษาอังกฤษเมื่อ ค.ศ. 1555 จากนั้นทั้งคำ�ว่า จักรวรรดิและอาณานิคม และความหมาย
ที่เกี่ยวข้องกับคำ�ทั้งสองดังที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น ก็เริ่มแพร่หลายในงานต่างๆ มากมาย แม้แต่ในหนังสือ “ความมั่งคั่ง
แห่งชาติ” (The Wealth of Nation) ผลงานอันโด่งดังของอดัม สมิธ (Adam Smith) ซึ่งตีพิมพ์ในปีที่สหรัฐอเมริกา
ประกาศอิสรภาพจากอังกฤษ ก็ยังเกี่ยวข้องกับเศรษฐศาสตร์การเมือง ว่าด้วยเรื่องของจักรวรรดิและอาณานิคม1

       อาจกล่าวได้ว่า ทั้งสองความหมายให้ภาพรวมของจักรวรรดิ/จักรวรรดินิยมในลักษณะภาพปรากฏของ
โครงสร้างอำ�นาจในลักษณะเด่นนำ�  ที่แสดงถึงความสัมพันธ์ทางอำ�นาจระหว่างศูนย์กลางอำ�นาจที่เมืองหลวง กับ
อำ�นาจในระดับที่รองลงไป เช่น อำ�นาจในระดับมณฑล และระดับเมืองย่อยในขอบเขตพื้นที่อันกว้างใหญ่ไพศาล
ภายในปริมณฑลที่ไพศาลนี่เอง ที่เป็นที่รวมของผู้คนที่แตกต่างหลากหลายทั้งทางด้านพื้นภูมิภาษา ศาสนา วัฒนธรรม
จารีตประเพณี ความรู้และอัตลักษณ์ เมื่อพิจารณาในแง่มุมนี้ จักรวรรดิโดยภาพรวมก็คือโครงสร้างที่เน้นความเป็น
สากลของผู้คน (cosmopolitanising structure) ซึ่งปรากฏค่อนข้างชัดในเขตนครใหญ่ โดยเฉพาะที่ศูนย์กลางแห่ง
จักรวรรดิ อย่างไรก็ตาม โครงสร้างดังกล่าวสะท้อนอยู่ในโครงสร้างความสัมพันธ์ของกลุ่มชนชั้นนำ�ด้วยเช่นกัน กล่าว
ได้ว่า จักรวรรดิ/จักรวรรดินิยมแสดงถึงโครงสร้างอำ�นาจที่เป็นไปอย่างไม่เท่าเทียมในหลากระดับ2

       ผู้ที่ใส่ใจต่อความหมายของคำ�ทั้งสอง มักเริ่มศึกษาจากการขยายตัวของชาติตะวันตกตั้งแต่ต้นศตวรรษ
ที่ 15 เมื่อโปรตุเกสรุกเข้าไปในแอฟริกา และเดินเรืออ้อมแหลมกู๊ดโฮป (Cape of Good Hope) เพื่อไปยังอินเดีย
และการขยายอำ�นาจของสเปนข้ามฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก3 ส่วนผู้สนใจอาณานิคมมักจะสนใจเรื่องจักรวรรดินิยม
(imperialism) ควบคู่กันไป นอร์แมน อีเธอริงตัน (Norman Etherington) เสนอว่า ทั้งสองเรื่องมีความสัมพันธ์กัน
แม้ในช่วงแรก (ศตวรรษที่ 14-18) จะเน้นไปที่การแข่งขันระหว่างอังกฤษและฝรั่งเศสเพื่อเข้าครอบครองพื้นที่ในทวีป
อเมริกา ซึ่งต่างไปจากการเข้าแย่งชิงพื้นที่ในแอฟริกาในช่วงศตวรรษที่ 19 ที่เรียกขานกันว่ายุคจักรวรรดินิยมเข้มข้น	
	
	

	 1	Jonathan Hardt. (2008). Empires and Colonies. Cambridge: Polity, pp. 6-7.	
	 2 	John Markoff. (2007). ‘Imperialism’ in Jan Aart Scholt and Roland Robertson (eds.) Encyclopaedia of Globalization.
Vol. 2 F-M New York and London: Routledge, pp. 609-610.	
	 3 	Jonathan Hardt. (2008). ibid., p. 8.	

                             ลขิ สิทธข์ิ องมหาวทิ ยาลยั สุโขทัยธรรมาธริ าช
   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51