Page 49 - สังคมโลก
P. 49

จักรวรรดินิยม 6-9

            1) 	การกระจุกตัวของการผลิตและทุน พัฒนาไปในระดับสูงจนสร้างการผูกขาดที่ส่งผลต่อการกำ�หนด
วิถีชีวิตทางเศรษฐกิจ

            2) 	มีการควบรวมทุนทางด้านกิจการธนาคารเข้ากับทุนทางด้านอุตสาหกรรม อันเป็นพื้นฐานที่ส�ำ คัญใน
การสร้างสิ่งที่เรียกกันว่า “ทุนทางการเงิน” (finance capital) หรือ “คณาธิปไตยทางการเงิน” (finance oligarchy)

            3) 	การส่งออกทุนซึ่งกลายเป็นสิ่งที่สำ�คัญยิ่ง และมีลักษณาการที่แตกต่างไปจากการส่งออกสินค้า
โภคภัณฑ์ (commodities) อื่นๆ

            4) 	เกิดการก่อรูปของการผูกขาดทางเศรษฐกิจทุนนิยมระหว่างประเทศ และมีการแบ่งผลประโยชน์ใน
กลุ่มดังกล่าว

            5) 	มีการแข่งขันกันแบ่งเฉือนพื้นที่ต่างๆ ในโลก ท่ามกลางกลุ่มชาติมหาอำ�นาจทุนนิยม9
       แม้เลนินจะพัฒนาแนวคิดในเรื่องจักรวรรดินิยมมาจาก รูดอล์ฟ ฮิลเฟอร์ดิง (Rudolf Hilferding)10 โดย
เฉพาะเรือ่ งการขยายตวั ในลักษณะผกู ขาดของทุนในตลาดโลก ซึง่ ทำ�ให้เกิดปัญหาเรือ่ งการทำ�ใหเ้ ท่าเทยี มกัน (equali-
sation) ของอตั ราผลกำ�ไร (rates of profit) จากการผลติ ทีแ่ ตกแขนงและมอี ยูห่ ลากหลายสาขา แตเ่ ลนนิ ไมเ่ ชือ่ ทัง้ ทาง
ทฤษฎีและการเมืองว่า การประนีประนอมเพื่อให้เกิดความเท่าเทียมในเรื่องอัตราผลกำ�ไร ซึ่งจะทำ�ให้ระบบเศรษฐกิจ
ทุนนิยมระหว่างประเทศมีเสถียรภาพเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ สำ�หรับเลนินนั้น การเคลื่อนไหวเพื่อต่อต้านความพยายาม
ของพวกนายทุนในการจัดการให้เกิดความเท่าเทียมในเรื่องอัตราผลกำ�ไรแบบจักรวรรดินิยม เป็นความรับผิดชอบ
ของชนชั้นกรรมาชีพ และเป็นภาระหน้าที่หลักของพรรคปฏิวัติในการเข้าแทรกแซงเชิงลึกต่อพัฒนาการของแนวโน้ม
ดังกล่าว นั่นก็คือ เลนินวิพากษ์จักรวรรดินิยมตามแนวทางที่นำ�ไปสู่การปฏิบัติได้จริง11 ท้ายที่สุดเลนินก็เป็นผู้นำ�การ
ปฏิวัติเดือนตุลาคม ค.ศ. 1917 ในรัสเซีย
       แม้ โจเซฟ ชุมปีเตอร์ (Joseph Schumpeter) จะมิได้ปฏิเสธว่า ความสัมพันธ์ระหว่างมิติด้านเศรษฐกิจ
และการเมืองมีส่วนสำ�คัญในการผลักดันการขยายตัวของจักรวรรดินิยม แต่ได้เสนอให้มิติทางสังคมเข้ามาเป็น	
องค์ประกอบหลักเช่นกัน โดยเฉพาะในการเสนอภาพว่า จักรวรรดินิยมคือความสืบเนื่องของทัศนคติและพฤติกรรม
ที่มีมาแต่โบราณ (atavistic character) ซึ่งยังคงฝังแน่นอยู่ในโครงสร้างทางสังคม ซึ่งส่งผลต่อปฏิกิริยาทางอารมณ์
และจิตวิทยาของผู้คน12 สำ�หรับชุมปีเตอร์แล้ว การขยายอำ�นาจคือการแสดงออกถึงการเป็นผู้พิชิต (conqueror) ซึ่ง
เป็นทั้งการรักษาสถานภาพทางสังคมและเศรษฐกิจของผูน้ �ำ  ไม่ตา่ งจากการแข่งกฬี าเพื่อชื่อเสยี งและของรางวัล ซึง่ เป็น
ทัศนะที่สืบเนื่องมาแต่โบราณกาล และเพื่อให้บรรยากาศแห่งการเฉลิมฉลองดำ�เนินได้อย่างต่อเนื่อง เพื่อหลีกเลี่ยง
การครุ่นคิดพิจารณาถึงปัญหาภายใน อันอาจจะเกิดจากการแบ่งผลประโยชน์ที่ไม่ลงตัวของกลุ่มชนชั้นนำ�  สงคราม
และการขยายดินแดนจึงเป็นสิ่งจำ�เป็น มิพักต้องเอ่ยถึงผลประโยชน์ที่อาจจะได้จากชัยชนะครั้งใหม่ อย่างไรก็ตาม
ชุมปีเตอร์ตั้งข้อสังเกตว่า แม้ผลตอบแทนโดยรวมอาจจะไม่มากนัก แต่สงครามก็ยังดำ�เนินต่อไป เพราะมีกลุ่มคนที่	

	 9 	V.I Lenin. (1939). Imperialism: The Highest Stage of Capitalism (new revised translation). New York: International
Publishers cited in Harrison M. Wright. (1976), ibid, pp. 52-53.
	 10 	รูดอล์ฟ ฮิลเฟอร์ดิง (Rudolf Hilferding) เป็นนักเศรษฐศาสตร์สายมาร์กซิสต์ ซึ่งถือกำ�เนิดในออสเตรีย เขาเป็นคนแรกๆ ที่ให้ความ
ใส่ใจกับทฤษฎีทุนนิยมแบบมีการจัดตั้ง (organised capitalism) เป็นแกนนำ�สำ�คัญในการเข้าร่วมถกเถียงข้อโต้แย้งเกี่ยวกับทฤษฎีของมาร์กซ์ใน
เรื่องของทฤษฎีเสถียรภาพ และการพังทลายของทุนนิยมบนพื้นฐานของการกระจุกตัวของทุนนิยม ในหนังสือ ทุนการเงิน (Das Finanzkapital –
Finance Capital) ตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1910 ซึ่งเป็นหนังสือชื่อดังของเขานั้น ฮิลเฟอร์ดิงเสนอภาพว่า แท้ที่จริงแล้วการกระจุกตัวของทุนนั้นเป็นไป
อย่างมีเสถียรภาพอย่างยิ่ง ศึกษาเพิ่มเติมแบบย่อได้ที่ http://en.wikipedia.org/wiki/Rudolf_Hilferding accessed on 31 May, 2010.
	 11 	Michael Hardt and Antonio Negri. (2000). Empire. Cambridge, Massachusetts: Harvard University Press, pp. 229-
231.	
	 12 	Joseph Schumpeter. (1951/1966). Imperialism and Social Classes. Cleveland and New York: Meridian Book, p. 65.	

                              ลขิ สทิ ธข์ิ องมหาวิทยาลยั สุโขทัยธรรมาธริ าช
   44   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54