Page 52 - สังคมโลก
P. 52

6-12 สังคมโลก

       โปรตุเกสก้าวขึ้นเป็นชาติแรกในการออกสำ�รวจและแผ่ขยายเส้นทางทางการค้า โดยอาศัยความรู้จาก	
เจ้าชายเฮนรี (Henry the Navigator, 1394-1460) ในเรื่องแอฟริกาเหนือ18 การสนับสนุนจากพระสันตะปาปาที่โรม
ในการเปลี่ยนศาสนาใหช้ าวแอฟริกนั ก่อนทีว่ าสโก ดากามา (Vasco da Gama, 1460-1524) จะเดินทางขา้ มมหาสมุทร
อนิ เดยี ซึง่ อยูภ่ ายใตก้ ารผกู ขาดของกองเรอื อาหรบั โดยไดร้ บั ความชว่ ยเหลอื จากกปั ตนั ชาวมสุ ลมิ และการเพิม่ ขดี ความ
สามารถทางเทคโนโลยีในเรื่องเรือปืน (ด้วยการเจาะช่องวางปืนใหญ่ในกาบเรือ โดยไม่ส่งผลกระทบต่อโครงสร้างเรือ)
ใน ค.ศ. 1502 ดากามาสามารถท�ำ ลายกองเรืออาหรับซึ่งผูกขาดการค้าเครื่องเทศ ไหมจากจีน และฝ้ายจากอินเดีย เมื่อ
โปรตุเกสพิชิตกองเรืออียิปต์ได้ใน ค.ศ. 1509 ยิ่งตอกยํ้าความเหนือชั้นของกองเรือโปรตุเกสในมหาสมุทรอินเดีย และ
ช่องแคบมะละกา (Malacca) เส้นทางการค้าสำ�คัญสู่เอเชียตะวันออก19

       การปรากฏตัวของโปรตุเกสในเอเชีย มิได้ทำ�ให้โครงสร้างทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคมในแถบนี้
เปลีย่ นแปลงมากนกั เพราะยังไม่อาจมชี ัยเหนอื อาณาจกั รใหญใ่ นเอเชีย เชน่ อนิ เดียและจีน โปรตุเกสจึงปรับตวั เข้ากบั
โครงสรา้ งการคา้ ทีม่ อี ยูแ่ ตเ่ ดมิ ในรปู ของการเปน็ พอ่ คา้ คนกลาง20 ทีช่ ว่ ยจดั ระบบและเพิม่ ความคลอ่ งตวั ใหก้ บั การคา้ ที่
มีอยู่ นอกจากขายอาวุธปืนของตน โปรตุเกสช่วยในการส่งผ่านพริกไทยเข้าสู่ยุโรป ส่งผ่านแท่งโลหะมีค่า (bullion) ทั้ง
เงินและทองจากยุโรปและแอฟริกาเข้าสู่เอเชยี รวมทั้งยังมสี ่วนช่วยกระจายแรเ่ งนิ จากอเมริกาและญี่ปุน่ และแรท่ องคำ�
จากภาคตะวนั ออกเฉยี งใตข้ องแอฟรกิ า สมุ าตราและจนี ไปยงั ดนิ แดนตา่ งๆ ความรุง่ เรอื งจากการนีท้ ำ�ใหโ้ ปรตเุ กสเปดิ
เส้นทางเดินเรือแบบไม่หยุดพักระหว่างลิสบอนและมะละกาขึ้นใน ค.ศ. 157821

       เส้นทางจักรวรรดินิยมของสเปน เริ่มเมื่อสงครามระหว่างแคว้นคาสทิล22 (Castile) และแคว้นอารากอน
(Aragon) สิ้นสุดลงหลังการเสกสมรสระหว่างพระนางอิสซาเบลลา (Isabella, 1451-1504) แห่งคาสทิล และ	
พระเจ้าเฟอร์ดินาน (Ferdinand, 1452-1516) แห่งอารากอน บทบาทการเป็นตัวกลางทางการค้ากับรัฐอิตาเลียน
ต่างๆ ในย่านเมดิเตอร์เรเนียน มีส่วนในช่วยให้สเปนเริ่มเส้นทางในการเติมรายได้เข้าท้องพระคลังและสร้างจักรวรรดิ
โดยมีพ่อค้าจากเจนัวในอิตาลีเป็นผู้สนับสนุน สเปนเริ่มเป็นคู่แข่งกับโปรตุเกสนับตั้งแต่ ค.ศ. 1492 ปีที่คริสโตเฟอร์
โคลัมบัส (Christopher Columbus, 1451-1506) ค้นพบทวีปอเมริกา ใน ค.ศ. 1943 พระสันตปาปาอเล็กซานเดอร์	
ที่ 6 (Pope Alexander VI, 1431-1503) รับรองการแบ่งเขตอิทธิพลของสเปนและโปรตุเกสในการเปลี่ยนศาสนาของ
ชนพื้นเมือง หากชาติใดหรือใครเข้าขัดขวางจะได้รับการบัพพาชนียกรรม (excommunication) หรือการตัดขาดการ

	 18 	ค.ศ. 1483 ดิโอโก เกา (Diogo Cao) เดินทางไปถึงปากแม่นํ้าคองโก อีก 4 ปีต่อมา (ค.ศ. 1487) บาร์โธโลมิว ไดอาส (Bartolomeu
Dias) เริ่มขยายเส้นทางเลียบฝั่งเข้าสู่ตอนใต้ของทวีปแอฟริกา อันเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามในการค้นหา ดินแดนที่ชาวคริสต์เชื่อว่าจะเป็น
ประตูไปสู่การค้นพบอาณาจักรคริสเตียนของเพรสเตอร์จอห์น (Prester John) ในอบิสซีเนีย (Abyssinia) หรือเอธิโอเปีย (Ethiopia) ในปัจจุบัน
ศึกษาเพิ่มเติมที่ Jonathan Hart. (2008). op, cit., p. 21.
	 19 	Affonso Allenquerque นำ�โปรตุเกสเข้ายึดครองและสถาปนาสถานีการค้า (feitoria) ขึ้นหลายแห่งรายทางคาบสมุทรอาระเบีย
ยึดเมืองกัว (Gao) บนชายฝั่งอินเดีย เข้ายึดฮอร์มุซ (Hormuz) ซึ่งเป็นจุดยุทธศาสตร์การค้าบริเวณปากอ่าวเปอร์เซีย ซีลอน (Ceylon) หรือ	
ศรีลังกาในปัจจุบัน ศึกษาเพิ่มเติมที่ Immanuel Wallerstein. (1974). op, cit., pp. 326-327, Jonathan Hart. (2008). op,cit., pp. 20-21.	
	 20 	การทำ�หน้าที่พ่อค้าคนกลางของโปรตุเกส เป็นไปในลักษณะที่การตกลงราคาซื้อขายเป็นไปอย่างตายตัว ในรูปของการมีสนธิสัญญา
ระหว่างประเทศคํ้าประกัน เพราะพ่อค้าโปรตุเกสทำ�การค้าแบบมีกองเรือปืนสนับสนุน และเข้ามาทำ�การค้าในนามของรัฐต่างชาติในฐานะที่เป็น
ทั้งตัวแทนของผู้ปกครองรัฐ และตัวแทนพ่อค้าท่ีผู้ปกครองในรัฐตนให้การสนับสนุน ศึกษาเพ่ิมเติมที่ Immanuel Wallerstein. (1974). op,cit.,
p. 330.	
	 21 	Immanuel Wallerstein. (1974). ibid., pp. 328-332.	
	 22 	คาสทิลเป็นแกนนำ�สำ�คัญในการสร้างความเป็นสเปน ด้วยการใช้นโยบาย “Reconquista” โดยการค่อยๆ ขับไล่ พวกมัวร์ซึ่งเป็น
มุสลิมออกจากคาบสมุทรไอบีเรีย จนเป็นเหตุให้อาณาจักรเกรนาดา (Granada) ต้องถึงแก่การล่มสลาย ตามมาด้วยการขับไล่ชาวยิวออกจากสเปน
ใน ค.ศ. 1492 ไม่เพียงเท่านั้นยังพยายามรวบรวมชาวคริสต์ (คาทอลิก) ในบริเวณอิสปาเนีย (Hispania) เข้าด้วยกัน อารากอนคือแคว้นสำ�คัญ
สำ�หรับแผนการนี้ โดยที่ในตอนแรกอารากอนยังสามารถระบบสังคม กฎหมาย และงบประมาณของตนเองเอาไว้ได้ ศึกษาเพิ่มเติมที่ Immanuel
Wallerstein. (1974). ibid., p. 166.  

                             ลิขสทิ ธ์ิของมหาวทิ ยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
   47   48   49   50   51   52   53   54   55   56   57