Page 57 - สังคมโลก
P. 57

จักรวรรดินิยม 6-17

การสถาปนาการครองความเปน็ เจ้าของจกั รวรรดิอังกฤษ

       การสถาปนาการครองความเปน็ เจา้ ของจกั รวรรดอิ งั กฤษ43 จนใหก้ �ำ เนดิ “แพก็ ซ์ บรติ านกิ า” (Pax Britanica)
ซึ่งลอนดอนมีบทบาทก�ำ หนดความเป็นไปของโลก คงจะเกิดขึ้นไม่ได้ง่ายนัก หากอังกฤษปราศจากความเหนือชั้นด้าน
อุตสาหกรรม และอำ�นาจทางทะเลที่ไร้ผู้ต่อกร44 ความโดดเด่นของอังกฤษเริ่มปรากฏนับตั้งแต่เป็นฝ่ายชนะสงคราม
7 ปี (ค.ศ. 1756-1763) กับฝรั่งเศส นอกเหนือจากการทำ�ลายกองเรืออามาดาดังได้กล่าวไว้ข้างต้น ความเหนือชั้นด้าน
ทัพเรือเริ่มปรากฏเมื่ออังกฤษสามารถเข้ายึดครองฮาวานาและดินแดนในแคริบเบียนซึ่งแต่เดิมเป็นของสเปน45 ทำ�ให้
อังกฤษต้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับสงครามปลดแอกจากสเปนของดินแดนต่างๆ ในภูมิภาคลาตินอเมริกา โดยการรับรอง
เอกราชของดนิ แดนเหลา่ นีใ้ นรปู ของการทำ�ขอ้ ตกลงทางการคา้ เพือ่ สนบั สนนุ ระบบการคา้ เสรภี ายใตธ้ งนำ�ของจกั รวรรดิ
องั กฤษ46 ความเหนือชัน้ นี้ได้รับการตอกยํ้าจากชยั ชนะเหนือฝรัง่ เศสของฮอราติโอ เนลสัน (Horatio Nelson or Lord
Nelson, 1758-1805) ที่ทราฟัลการ์ (the Battle of Trafalgar, 1805) ในช่วงสงครามนโปเลียน47

       การสถาปนาความเป็นเจ้าของอังกฤษคงไม่อาจเกิดหากปราศจากผลกระทบจากเหตุการณ์สำ�คัญสอง
เหตุการณ์ที่ อีริค ฮอบส์บาว์ม (E. J. Hobsbawm) (1962/1991) เรียกขานว่า “การปฏิวัติคู่” (The Duo Revolu-
tions) ที่เกื้อหนุนการขยายตัวของจักรวรรดิตะวันตก โดยมีอังกฤษเป็นผู้นำ�และมีฝรั่งเศสพยายามไล่ตาม นั่นก็คือ
การปฏิวัติอุตสาหกรรม (The Industrial Revolution) และการปฏิวัติฝรั่งเศส (The French Revolution, 1789)

       การปฏิวัติอุตสาหกรรมเริ่มปรากฏในอังกฤษในช่วงปลายศตวรรษที่ 18 โดยอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับ	
สงิ่ ทอและการคมนาคมขนสง่ ไดร้ บั การพฒั นาอยา่ งรวดเรว็ โดยมผี ปู้ ระกอบการเอกชนเปน็ กลจกั รส�ำ คญั ในการตดั สนิ ใจ	
และดำ�เนินการ ผลด้านบวกที่ตามมาก็คือ การเกิดส่วนต่างทางเศรษฐกิจ (surplus) ที่นำ�ไปสู่การสะสมทุนและ
ความมั่งคั่งในสังคมอังกฤษ48 ส่วนทางด้านการปฏิวัติฝรั่งเศสและความไม่สงบที่สืบเนื่องมา รวมถึงความเกี่ยวข้อง
กับสงครามประกาศอิสรภาพของอเมริกา (American Independence War, 1776) ในช่วงเวลาก่อนหน้านั้นทำ�ให้
เศรษฐกิจฝรั่งเศสถดถอยอย่างหนัก พ่อค้านักธุรกิจแม้แต่ประชาชนทั่วไปจึงสนับสนุนให้รัฐบาลทำ�สงครามขยาย	
ดินแดน เพื่อผลด้านการสร้างเสถียรภาพให้กับการเมืองภายใน และสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจ49 ในช่วง ค.ศ. 1783-

	 43 	แท้จริงแล้วควรจะเรียกว่า จักรวรรดิบริเตน (the British Empire) แต่ด้วยความที่สังคมไทยมักจะเรียกขานจักรวรรดิบริเตนว่า
จักรวรรดิอังกฤษมาเป็นเวลานาน ผู้เขียนจึงขอใช้คำ�ว่า จักรวรรดิอังกฤษแทนจักรวรรดิบริเตน เพื่อความสะดวกต่อความเข้าใจของผู้อ่าน	
	 44 	อย่างน้อยในช่วงตั้งแต่ฝรั่งเศสพ่ายยแพ้ในสงครามนโปเลียน (the Napoleonic War) เมื่อ ค.ศ.1815 จนกระทั่งถึงช่วงทศวรรษที่
1880 Tony Smith. (1981). The Patterns of Imperialism: The United States, Great Britain and the Late-industrializing world
since 1815. Cambridge: Cambridge University Press, p. 27.	
	 45 	Jonathan Hart. (2008). Empires and Colonies. London: Polity, p. 159.	
	 46 	Tony Smith. (1981). op, cit., p. 29.	
	 47 	ฮอราติโอ เนลสัน (Horatio Nelson, 1758-1805) นายทหารเรือผู้สร้างชื่อเสียงให้กับราชนาวีอังกฤษ ในยุคที่จักรวรรดิอังกฤษกำ�ลัง
ขยายอทิ ธพิ ลอยา่ งไพศาล เนลสนั แสดงความเหนอื ชัน้ เชงิ กลยทุ ธใ์ นการไลล่ า่ กองเรอื ฝรงั่ เศสในหลายสมรภมู โิ ดยเฉพาะในยา่ นทะเลเมดเิ ตอรเ์ รเนยี น
แม้เนลสันจะจบชีวิตในการรบครั้งสุดท้ายที่ทราฟัลการ์ แต่ชัยชนะในครั้งนั้นมีส่วนอย่างสำ�คัญในการช่วยให้อังกฤษมีชัยเหนือฝรั่งเศสในสงคราม	
นโปเลียน ศึกษาเพิ่มเติมแบบย่อได้ที่ http://en.wikipedia.org/wiki/Horatio_Nelson, http://en.wikipedia.org/wiki/Battle_of_Trafagar  
accessed on 19 August 2010 	
	 48 	นคี่ อื ชว่ งเวลาในการพฒั นาระบบโครงขา่ ยรถไฟชว่ ยประหยดั เวลาและตนั ทนุ ในการขนสง่ อตุ สาหกรรมเกยี่ วกบั การขนสง่ การกอ่ สรา้ ง การ
ผลติ ฝา้ ยและเคมโี ดยเฉพาะในสว่ นทเี่ กยี่ วขอ้ งกบั การเกษตร ศกึ ษาเพมิ่ เตมิ ที่ E. J. Hobsbawm. (1962/1991). The Age of Revolution 1789-1848.
London: Cardinal, pp. 44-48, 62. 	
	 49	 ในช่วงเวลาดังกล่าวผู้คนจำ�นวนมากในฝรั่งเศสเชื่อว่า การก่อสงครามภายนอกประเทศคือทางออกของการแก้ปัญหาต่างๆ เพราะไม่
เพียงหวังสร้างผลกำ�ไรจากการปล้มสดมภ์และช่วงชิงทรัพยากรในสังคมที่พ่ายแพ้ แต่ยังช่วยสร้างเสถียรภาพภายในสังคมฝรั่งเศสเอง เพราะเชื่อ
ว่าจะสามารถลดความแตกแยกภายในสังคม เมื่อกลุ่มต่างๆ ในสังคมเชื่อว่า มีศัตรูภายนอกร่วมกัน การก่อสงครามภายนอกจึงเป็นสิ่งจำ�เป็นใน
การชดเชยช่วงเวลาแห่งการปฏิวัติ (ค.ศ. 1794-1799) เพื่อสร้างเสถียรภาพทางการเมือง และความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ บนพื้นฐานการพัฒนา
สังคมตามแนวทางเสรีนิยมในช่วง ค.ศ. 1789-1791 ศึกษาเพิ่มเติมที่ E. J. Hobsbawm. (1962/1991). ibid., pp. 87-89, 91-94.	

                              ลิขสทิ ธ์ขิ องมหาวิทยาลยั สโุ ขทัยธรรมาธริ าช
   52   53   54   55   56   57   58   59   60   61   62