Page 59 - สังคมโลก
P. 59
จักรวรรดินิยม 6-19
ช่วงสามทศวรรษหลังการสิ้นสุดสงครามนโปเลียน ได้เกิดความไม่สงบขึ้นมากมายในทวีปยุโรป โดยเฉพาะ
ในช่วงทศวรรษ 1840 ซึ่งความเปลี่ยนแปลงในเมืองใหญ่เริ่มปรากฏชัดทั้งในทางการเมือง55 เศรษฐกิจและสังคม56
สภาพการณ์โดยรวมยิ่งเลวร้าย เมื่อผลผลิตทางการเกษตรตกตํ่า จนนำ�ไปสู่ภาวะทุพภิกขภัย ความไม่สงบทางสังคม
และความรุนแรงทางการเมืองเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในหลายพื้นที่โดยเฉพาะเมื่อ ค.ศ. 1848 ในปารีส57 อย่างไรก็ตาม
อังกฤษแทบไมไ่ ดร้ บั ผลกระทบจากเหตกุ ารณด์ งั กล่าว ด้วยความทีข่ บวนการกฏบัตรประชาชน (People’s Charter)58
และการเรยี กรอ้ งการปฏิรปู เศรษฐกจิ แบบสหกรณ์ตามแนวความคิดของ โรเบริ ต์ โอเวน (Robert Owen, 1771-1858)
มิได้ก่อความรุนแรงในระดับเดียวกับที่เกิดขึ้นในภาคพื้นทวีปยุโรป59
ความจริงในช่วงเวลานี้จักรวรรดิอังกฤษได้ขยายอิทธิพลอย่างรวดเร็วเข้ามาในเอเชีย โดยในช่วง ค.ศ. 1814-
1849 จักรวรรดิอังกฤษสามารถเอาชนะสงครามในเอเชียได้มากมาย รวมถึงสงครามฝิ่น (Opium War) กับจีน ในช่วง
เวลานี้เองที่จักรวรรดิอังกฤษสามารถครอบครองจุดยุทธศาสตร์ทางทะเล ซึ่งเป็นเมืองท่าที่สำ�คัญทางการค้าด้วยเช่น
กัน ไม่ว่าจะเป็นเกาะซีลอน (ศรีลังกาในเวลาต่อมา) ฮ่องกง และสิงคโปร์ รวมไปถึงเมืองท่าตามชายฝั่งทวีปแอฟริกา60
แน่นอนว่าการพัฒนากิจการขนส่งทางเรือ เช่น บริษัท P&O มีส่วนสนับสนุนการแผ่อิทธิพลของจักรวรรดิอังกฤษเป็น
อย่างดี จะเห็นได้ว่าใน ค.ศ. 1832 เซียงไฮ้ มีผลประกอบการจากการพาณิชย์นาวีใกล้เคียงหรือมากกว่าลอนดอน
55 การปลกุ เรา้ กระแสชาตนิ ยิ มจนทำ�ใหเ้ กดิ ความระสํา่ ระสายทางการปกครองโดยเฉพาะในเขตบอลขา่ นทีป่ ระชากรสว่ นใหญเ่ ปน็ ชาวสลาฟ
(Slavs) แต่อยู่ภายใต้การปกครองของชาวเยอรมันภายใต้ราชวงศ์แฮปสเบิร์ก (Hapsburg Dynasty) จากจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี กระแส
ชาตินิยมนี้ยังรวมไปถึงเน้นยํ้าในเรื่องความเป็นเชื้อชาติเยอรมนี และอิตาลี ซึ่งในที่สุดได้ก่อให้เกิดการรวมตัวเป็นรัฐชาติเยอรมนีและอิตาลีขึ้นมา
ในยุคจักรวรรดินิยมเฟื่องฟู ซึ่งจะได้กล่าวถึงต่อไป ศึกษาเพิ่มเติมที่E. J. Hobsbawm. (1962/1991). op, cit., pp. 164-179.
56 การเปลีย่ นแปลงทางเศรษฐกจิ และสงั คม ทำ�ใหช้ นชั้นกลางจำ�นวนหนึ่งซึ่งเปน็ ผลผลติ มาจากการเปลีย่ นแปลงดังกลา่ วเหน็ ถงึ ความทุกข์
ยากของผู้คนจำ�นวนมากทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม ตลอดจนปัญหาสุขอนามัย และโรคระบาดทั้งโรคท้องร่วง และไทฟอยด์ ซึ่งปรากฏในเขตพื้นที่
แออัดที่กำ�ลังพัฒนาเป็นเมือง (urbanisation) อยู่หลายครั้งตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1830-1840 (และยังปรากฏอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งเริ่มมีการจัด
ระบบสุขอนามัยชุมชนในช่วงครึ่งแรกของทศวรรษ 1850) และเรียกร้องให้มีการปฏิวัติสังคม ศึกษาเพิ่มเติมที่E. J. Hobsbawm. (1962/1991).
op, cit., pp. 227-228.
57 ความไม่สงบในปารีสเป็นภาพความต่อเนื่องของความยากจนข้นแค้นและภาวะทุพภิกขภัยในหลายพื้นที่ ซึ่งไม่เพียงแต่จะทำ�ให้เกิด
ผู้อพยพราว 1 ล้านคน (ส่วนใหญ่อพยพไปยังสหรัฐอเมริกา) แต่ยังคร่าชีวิตผู้คนในจ�ำ นวนเดียวกัน โดยเฉพาะในไอร์แลนด์ (Great Irish Famine)
เมื่อ ค.ศ. 1847 อย่างไรก็ตาม ความไม่สงบที่ปารีสถือว่ารุนแรงเป็นอย่างยิ่ง โดยที่ปารีสนั้นการแสดงออกถึงความเกลียดชังของนายทุนผู้มั่งมี
ต่อกรรมกรผู้ยากไร้ นำ�ไปสู่การพล่าผลาญชีวิตของผู้เข้าร่วมการปฏิวัติกว่า 4,000 คน (3,000 คนถูกสังหารหลังการก่อการในเดือนมิถุนายน
ล้มเหลว) ตามมาด้วยการจับกุมผู้เกี่ยวข้องราว 12,000 คนซึ่งส่วนใหญ่ถูกส่งตัวไปใช้แรงงานในค่ายกักกันที่แอลจีเรีย ศึกษาเพิ่มเติมที่E. J.
Hobsbawm. (1975). The Age of Capital 1848-1875. London: Weidenfeld and Nicolson, pp. 16-17.
58 เนือ้ หาสว่ นใหญเ่ ปน็ การเรยี กรอ้ งทีเ่ นน้ ประเดน็ ทางการเมอื งเพือ่ ใหป้ ระชาชนโดยทัว่ ไปไดม้ โี อกาสมตี วั แทนทีช่ อบธรรม (just represen-
tation) ในสภาผู้แทนราษฎรของอังกฤษและไอร์แลนด์ เพื่อการนี้ขบวนการเรียกร้องดังกล่าวเสนอให้มีการยอมรับหลักการเรื่องการเลือกตั้งสากล
(principles of universal suffrage) การไม่ใช้คุณสมบัติเรื่องทรัพย์สินมาเป็นข้อกีดกันการเลือกตั้ง (no property qualification) การเรียกร้อง
ให้มีการเปิดประชุมสภาฯ ทุกปี (annual parliaments) การได้รับการยอมรับเรื่องการเป็นตัวแทนอย่างเท่าเทียม (equal representation) การ
จ่ายค่าตอบแทนแก่สมาชิกสภาฯ (payments of member) และการลงคะแนนแบบหย่อนบัตร (vote by ballots) http://www.marxist.org/
historyengland/chartists/people-charter.htm accessed on 25 December 2010
59 E. J. Hobsbawm. (1962/1991). op, cit., p. 152.
60 ความรุนแรงและความสูญเสียจากการก่อสงครามมากมายในเอเชีย เช่น สงครามในอินเดียกับชาวแคว้นมหาราษฎร์ แคว้นราชบุตร
สงครามกับเนปาล กับอัฟกานิสถาน สงครามกับชาวซิกข์ กับชาวพม่า ตลอดจนสงครามในตะวันออกกลาง ทำ�ให้การดำ�เนินการของอังกฤษได้รับ
การต่อต้านในดินแดนดังกล่าว ขณะที่การขยายบทบาทเข้าไปในแอฟริกาได้รับการตอบรับที่ดีกว่า ด้วยการชูนโยบายต่อต้านการค้าทาส ซึ่งเป็น
นโยบายที่ได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มมนุษย์นิยม และกลุ่มเผยแพร่ศาสนาในลอนดอนเป็นอย่างดี กลุ่มหลังนั้นใช้การศึกษาเป็นสื่อในการจัดตั้ง
ชุมชน เพื่อปลดปล่อยแรงงานทาสและการซื้อขายทาสโดยเฉพาะชายฝั่งตะวันตกของแอฟริกา เช่นที่ซิเออราลีโอน (Sierra Leone) กล่าวได้ว่า
ส�ำ หรบั กลุม่ คนเหลา่ นีน้ โยบายการดแู ลอาณานคิ ม จกั รวรรดนิ ยิ ม และการเผยแพรศ่ าสนาผกู โยงเปน็ หนึง่ เดยี วกนั อยา่ งชดั เจนมาตัง้ แตช่ ว่ งทศวรรษ
1830 ขยายความเรื่องทาส Jonathan ศึกษาเพิ่มเติมที่ Hardt. (2008). op, cit, pp. 176-179, 214-217.
ลิขสทิ ธข์ิ องมหาวิทยาลัยสโุ ขทัยธรรมาธริ าช