Page 64 - สังคมโลก
P. 64
6-24 สังคมโลก
ในช่วงเวลาเดียวกันนี้ ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นในสหรัฐอเมริกาและจีนจนนำ�ไปสู่สงครามกลางเมืองใน
ทั้งสองประเทศ สำ�หรับสหรัฐอเมริกาในช่วงทศวรรษ 1850 ซึ่งเกิดความขัดแย้งใหญ่ในเรื่องนโยบายเกี่ยวกับการ
ซื้อขายทาส โดยเฉพาะในดินแดนที่ซื้อต่อมาจากฝรั่งเศส เพราะดินแดนใหม่นี้ก่อความเห็นที่ไม่ลงรอยในเรื่องของ
แรงงานทาส69 ความขัดแย้งรุนแรงขึ้นเมื่อ แอบราฮัม ลินคอล์น (Abraham Lincoln, 1809-1865) ได้รับเลือกตั้งเป็น
ประธานาธิบดีเมื่อ ค.ศ. 1861 ทำ�ให้เกิดการแยกตัวของฝ่ายใต้ (ที่สนับสนุนการใช้แรงงานทาส) ในรูปของสมาพันธรัฐ
(Confederate States of the South) ใน ค.ศ. 1861 จนนำ�ไปสู่สงครามกลางเมือง (American Civil War, 1861-
1865) ความขัดแย้งนี้เกี่ยวโยงไปถึงความเห็นที่แตกต่างในเรื่องนโยบายเศรษฐกิจ เพราะฝ่ายใต้ในฐานะแหล่งส่ง
ออกฝ้ายดิบที่สำ�คัญ สนับสนุนนโยบายการค้าเสรีภายใต้ธงน�ำ ของอังกฤษ ขณะที่ฝ่ายเหนือซึ่งเป็นแหล่งรวมตัวของ
อตุ สาหกรรมมากมายตอ้ งการตัง้ ก�ำ แพงภาษี เพือ่ หวงั ปกปอ้ งผลประโยชนข์ องตน แมฝ้ า่ ยเหนอื จะเปน็ รองทางการทหาร
แตเ่ หนอื กวา่ ในเรือ่ งเทคโนโลยแี ละแรงงาน ในชว่ งเริม่ สงครามรอ้ ยละ 70 ของประชากมถี ิน่ ฐานอยูท่ างเหนอื รอ้ ยละ 80
ของคนจำ�นวนนี้เป็นชายฉกรรจ์ที่พร้อมเป็นทหาร และร้อยละ 90 ของคนจำ�นวนนี้เป็นแรงงานในภาคอุตสาหกรรม70
ทศวรรษ 1850-1860 ยังเป็นช่วงเวลาแห่งสงครามเพื่อต่อกรกับเจ้าอาณานิคมโดยตรง และต่อกรกับรัฐบาล
ที่ล้มเหลวในการสกัดกั้นการแผ่อิทธิพลเข้ามาอย่างรวดเร็วของเจ้าอาณานิคม การปฏิวัติหรือกบฏไท่ผิง (Taiping
Revolution/Rebellion, 1850-1864)71 เกิดจากสาเหตุในลักษณะหลัง ภายใต้การนำ�ของหง ซิวฉวน (Hong
69 จุดเริ่มของความเปลี่ยนแปลงนี้ มาจากความต้องการที่จะขยายพื้นที่ทางการเกษตรโดยอาศัยแรงงานทาสเข้าไปในเขตฝั่งตะวันตก
(Wild West) โดยอาศัยเส้นทางรถไฟ ชนวนสำ�คัญที่ทำ�ให้มีการออกพระราชบัญญัติแคนซัส-เนบราสก้า (Kansas-Nebraska Act) ใน ค.ศ.
1854 ให้รัฐที่กำ�ลังจะเกิดขึ้นใหม่ตัดสินใจเองว่า แรงงานทาสเป็นสิ่งที่ถูกกฎหมายหรือไม่ กฎหมายนี้กระตุ้นให้ความขัดแย้งขยายวงกว้างมากกว่า
จะเป็นการประนีประนอมความแตกต่างเรื่องนโยบายทาสอย่างที่มุ่งหมาย จุดเริ่มของการออก พ.ร.บ. แคนซัส-เนบราสก้า มาจากการที่วุฒิสมาชิก
สตีเฟน เอ ดักกลาส (Stephen A Douglas) แห่งรัฐอิลินอยส์ (Illinois) ต้องการสร้างเส้นทางรถไฟจากชิคาโกไปยังแคลิฟอร์เนียทางฝั่งตะวันตก
แต่การจะทำ�เช่นนั้นได้จำ�เป็นต้องมีการเปิดพื้นที่ในเขตพื้นที่ไอโอวา (Iowa) และมิสซูรี่ (Missouri) ซึ่งนำ�ไปสู่ปัญหาเรื่องการบริหารจัดการ
ดินแดนเหล่านี้โดยเฉพาะในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับนโยบายซื้อขายทาส ว่าจะเป็นสิ่งที่ดำ�เนินการได้อย่างถูกกฎหมายหรือไม่ เพราะกฎหมายให้สิทธ ิ
ผู้ตั้งรกรากในรัฐเหล่านี้เป็นผู้ตัดสินบนพื้นฐานของอ�ำ นาจอธิปไตยของปวนชน (popular sovereignty or rule of the people) เป็นผู้ตัดสินใจใน
เรื่องดังกล่าว กฎหมายนี้มุ่งหมายให้เกิดการประนีประนอมระหว่างรัฐทางเหนือซึ่งเป็นฐานของการอุตสาหกรรมของประเทศ และรัฐทางใต้ซึ่งเป็น
ฐานทางการเกษตรและการส่งออกวัตถุดิบของประเทศ เพราะรัฐทางใต้อาจจะสามารถขยายพื้นที่การใช้แรงงานทาสเข้าไปในเขตพื้นที่ใหม่ หรือรัฐ
ทางเหนืออาจะทำ�การยกเลิกเรื่องทาสในเขตพื้นที่รัฐของต้น อย่างไรก็ตาม กฎหมายดังกล่าวกลับส่งผลในทางตรงข้ามดังได้กว่าวไว้ข้างต้น ศึกษา
เพิ่มเติมแบบย่อได้ที่ http://history1800s.about.com/od/sleryinamerica/a/KansanNebraska.htm, http://en.wikipedia.org/wiki/
Kansas%E2%80%93Nebraska_Act accessed on 1 September 2010
70 E. J. Hobsbawm. (1975). op, cit., pp. 135-143 .
71 เมื่อสงครามฝิ่นครั้งแรกสิ้นสุดลงได้ไม่นาน และจีนยังต้องเผชิญภาวะทุพภิกขภัยอย่างหนัก โดยมีการประมานกันว่าใน ค.ศ. 1849
จีนมีผู้เสียชีวิตเพราะความอดอยากเกือบ 14 ล้านคน พลังในการต่อต้านตะวันตกและรัฐบาลปักกิ่งทำ�ให้เกิดขบวนการสมาคมลับ (Triad) ขึ้น
มากมายทางตอนใต้ของจีน ขบวนการไท่ผิงเกิดขึ้นในบรรยากาศเช่นนี้ ไท่ผิง (มีความหมายว่า สันติสุข หรือความสงบสุข) เป็นการรวมตัวก่อการ
เคลื่อนไหวทางการเมืองครั้งใหญ่โดยมีชาวนา (ส่วนใหญ่เป็นเชื้อสายชาวฮั่น และชาวแคระหรือฮากกา แต่ก็ยังมีชนกลุ่มน้อยเช่น ชาวจ้วงและ
ชาวไต) ซึ่งเป็นประชาชนส่วนใหญ่ของจีนเป็นกำ�ลังสำ�คัญ ที่กำ�ลังประสบภาวะทุพภิกขภัยทั้งจากภัยธรรมชาติและภัยสงคราม การเคลื่อนไหวเริ่ม
ขึ้นที่หมู่บ้านจินเทียน ในเขตมณฑลกวางซี ก่อนที่จะขยายเข้าไปในเขตมณฑลหูหนาน และหูเป่ย รวมถึงมณฑลต่างๆ ทางฝั่งตะวันออกของแม่นํ้า
แยงซีเกียง ศึกษาเพิ่มเติมแบบย่อได้ที่ ‘The Taiping Revolution’ at http://enyi.tripod.com/index-4.html, http://en.wikipedia.org/
wiki/Taiping_Rebellion accessed on 1 September 2010
ลขิ สทิ ธข์ิ องมหาวิทยาลยั สุโขทยั ธรรมาธริ าช