Page 67 - สังคมโลก
P. 67
จักรวรรดินิยม 6-27
ปรากฏอย่างเด่นชัด เช่น บริษัทสแตนดาร์ด ออย (Standard Oil Company)79 ที่ครองส่วนแบ่งการผลิตนํ้ามันใน
ราวร้อยละ 90-95 ในสหรัฐอเมรกิ าเมือ่ ค.ศ. 1880 แนวโนม้ เชน่ นี้ท�ำ ใหร้ ฐั สภาอเมรกิ าผา่ นกฎหมายป้องกันการผูกขาด
การค้า (Anti-Trust Law) มาตั้งแต่ ค.ศ. 1890 แนวโน้มการผูกขาดปรากฏที่เยอรมนีด้วยเช่นกัน เช่นในกรณีของ
บริษัทไรน์ เวสฟาเลียน โคล์ ซินดีเคท (Rhine-Westphalian Coal Syndicate) ครองส่วนแบ่งการผลิตถ่านหินใน
เขตไรน์-เวสต์ฟาเลียถึงร้อยละ 90 ใน ค.ศ. 189380
ลักษณะแนวโน้มการผูกขาดทางการค้า ย่อมหมายถึงธุรกิจและอุตสาหกรรมขนาดเล็กจำ�นวนมากไม่อาจ
ดำ�เนินการได้อีกต่อไป ปัญหาสังคมจากภาวะการว่างงานและความอดอยากเริ่มปรากฏมากขึ้นตามเมืองใหญ่ บ้างก็
พยายามใช้ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์เข้ามาช่วยในการบริหาร (scientific management) เพื่อหวังลดต้นทุน
ทางเศรษฐกิจ81 แต่การดำ�เนินการแก้ปัญหาโดยอาศัยเทคโนโลยีในสมัยนั้นเป็นหลัก เป็นไปแบบค่อนข้างล่าช้าและ
จำ�เป็นต้องใช้เงินทุนจำ�นวนมาก กลุ่มธุรกิจและอุตสาหกรรมในดินแดนต่างๆ จึงนิยมการแก้ปัญหาด้วยการเรียกร้อง
ให้รัฐบาลของตน ออกมาตรการต่างๆ เพื่อป้องกันการค้าและการลงทุน
ผลก็คือ ไม่เพียงแต่จะทำ�ให้การค้าระหว่างชาติจักรวรรดินิยม เช่น ระหว่างอังกฤษ ฝรั่งเศส และเยอรมนี
ลดลง โดยต่างชดเชยรายได้ด้วยการขยายการค้ากับอาณานิคมของตน และพยายามแสวงหาอาณานิคมเพิ่มเติม เพื่อ
ขยายฐานทรัพยากรธรรมชาติที่จ�ำ เป็นต่อการอุตสาหกรรม และเพิ่มปริมาณอาหารในรูปของสินค้าเกษตร ทำ�ให้หลาย
ชาติมุ่งความสนใจไปยังดินแดนในบอลข่าน และแอฟริกาเพิ่มมากขึ้น เพราะสามารถสนองความต้องการของยุโรปได้
ดีในเรื่องของวัตถุดิบ และสินค้านำ�เข้า (ในฐานะแหล่งผลิตและเส้นทางผ่านของสินค้า) ได้ดี82 ไม่เพียงเท่านั้น ชาติ
จักรวรรดินิยมยังแข่งขันกันใช้ดินแดนเหล่านี้เป็นแหล่งระบายสินค้าอุตสาหกรรม ด้วยหวังใช้เป็นฐานการสร้างการ
ประหยัดต่อขนาดการผลิตในสังคมของตน และยังหวังแสวงหาแหล่งลงทุนที่น่าจะให้ผลตอบแทนสูงกว่าการดำ�เนิน
การในเขตพื้นที่เดิม ตลาดหลักทรัพย์แห่งลอนดอนจึงเป็นศูนย์กลางในการผลักดันการแสวงหาอาณานิคมเพื่อ
แหล่งลงทุน โดยเฉพาะเมื่อกลุ่มทุนใหญ่อย่างรอธไชด์ย้ายสำ�นักงานใหญ่จากปารีสมาอยู่ที่ลอนดอน83
บอลข่านกลายเป็นชนวนแห่งความขัดแย้งโดยเฉพาะระหว่างรัสเซียและอาณาจักรออตโตมาน (the
Russo-Turkish War, 1877-78) เยอรมนีภายใต้การนำ�ของออตโต ฟอน บิสมาร์ค (Otto von Bismarck, 1815-
1898) ตดั สนิ ใจเขา้ มาเกีย่ วขอ้ งโดยการเปน็ เจา้ ภาพในการจดั ประชมุ คองเกรสแหง่ เบอรล์ นิ (the Congress of Berlin,
79 จอห์น ดี ร็อกกี้เฟลเลอร์ หนึ่งในนักธุรกิจอุตสาหกรรมที่สะสมทุนมหาศาลในช่วงสงครามกลางเมืองในสหรัฐอเมริกา ซึ่งได้กล่าวไว้
แล้ว เป็นผู้ก่อตั้งบริษัทนี้ขึ้นใน ค.ศ. 1870 เพียงแค่สิบปีหลังจากนั้นก็สามารถครองส่วนแบ่งนํ้ามันในลักษณะที่เป็นการผูกขาดตลาดภายในของ
สหรัฐอเมริกาด้วยการดำ�เนินการในลักษณะของบรรษัทข้ามชาติ (multinational company) ที่ควบคุมการผลิตและการจำ�หน่ายสินค้าที่เกี่ยว
เนื่องกับอุตสาหกรรมนํ้ามัน บริษัทต้องยุติการดำ�เนินการในลักษณะดังที่ได้กล่าวเมื่อ ค.ศ. 1911 ตามคำ�สั่งศาลสูงสหรัฐอเมริกา ละเมิดกฎหมาย
ป้องกันการผูกขาด ศึกษาเพิ่มเติมที่ http://www.enwikipedia.org/Standard_Oil accessed on 26 October 2010
80 E. J Hobsbawm (1989) The Age of Empire 1875-1914. New York: Vintage Books, p. 43 และศึกษาเชิงอรรถที่ 76
ประกอบ
81 เช่น กรณีของการสร้างการผลิตระบบเทย์เลอร์ (Taylorism) เพื่อควบคุม ตรวจตรา และวางแนวทางให้กับอุตสาหกรรมการผลิตขนาด
ใหญ่เพื่อหวังสร้างกำ�ไรสูงสุด จากแนวคิดในการสร้างการประหยัดต้นทุนต่อขนาดการผลิต (economy of scales) ที่เริ่มมีมากขึ้นในสหรัฐอเมริกา
เช่น การที่เฮนรี ฟอร์ด (Henry Ford) ใช้การบริหารงานในลักษณะนี้ สร้างความสำ�เร็จให้กับการผลิตรถยนต์ฟอร์ดเพื่อการอุปโภคของมวลชน
จนทำ�ให้การผลิตในระบบสายพานการผลิตเป็นที่รู้จักกันในนามของระบบฟอร์ด (Fordism) ศึกษาเพิ่มเติมที่ E. J Hobsbawm. (1989). ibid.,
p. 44, 48.
82 ไม่ว่าจะเป็นนํ้ามันและยางดิบที่จำ�เป็นต่อเครื่องกลที่ใช้วิธีการจุดระเบิดจากภายในเป็นตัวขับเคลื่อนการทำ�งาน ทองแดงซึ่งจำ�เป็นใน
การผลิตเครื่องจักร และเป็นองค์ประกอบหลักของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ส่วนฝ้าย โกโก้ กาแฟ ชาและแม้กระทั่งเพชรนั้น ล้วนเป็นสินค้าที่
มีความต้องการสูงขึ้นของชนชั้นกลาง ที่มีส่วนอย่างสำ�คัญในการสร้างความเป็นเมืองขึ้นในหลายพื้นที่ ศึกษาเพิ่มเติมที่Jonathan Hardt. (2008).
op, cit., p. 204
83 Tony Smith. (1981). op, cit., pp. 37-38, E. J. Hobsbawm. (1989). op, cit., p. 42.
ลขิ สิทธข์ิ องมหาวทิ ยาลัยสโุ ขทัยธรรมาธริ าช