Page 72 - สังคมโลก
P. 72
6-32 สังคมโลก
เรือ่ งท่ี 6.2.2
การเปลีย่ นแปลงของจักรวรรดินิยมใหมใ่ นศตวรรษที่ 20
แม้คริสต์ศตวรรษที่ 20 จะเริ่มด้วยภาพเหตุการณ์ที่คล้ายเดิมในเรื่องจักรวรรดินิยม แต่ก็มีสัญญาณที่
บ่งบอกถึงความเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะเป็นการต่อต้านชาติตะวันตกของผู้นำ�พื้นเมืองที่เติบโตภายใต้ร่มเงาวัฒนธรรม
ตะวันตกในดินแดนของตน และความขัดแย้งระหว่างชาติตะวันตกที่รุนแรงสืบเนื่องมาจากศตวรรษก่อนหน้า ได้ขยาย
ตัวจนกลายเป็นสงครามโลกถึงสองครั้ง ทำ�ให้รัฐจักรวรรดินิยมตะวันตกไม่อาจด�ำ รงตนได้เช่นเดิม เท่ากับเปิดโอกาส
ให้สหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียต ก้าวเข้ามามีบทบาทในการกำ�หนดความเป็นไปของสังคมโลกในช่วงเวลาเกือบกึ่ง
ศตวรรษ
ต้นศตวรรษที่ 20 จักรวรรดิอังกฤษยังคงครองความยิ่งใหญ่97 และยังมองจีนเป็นเป้าหมายในการขยายผล
ประโยชน์ของตน อังกฤษจึงเป็นหนึ่งในแกนนำ�ชาติจักรวรรดินิยมฝรั่งเศส รัสเซีย อิตาลี เยอรมนี ออสเตรีย-ฮังการี
สหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นเข้าใช้กำ�ลังยึดครองปักกิ่งเมื่อ ค.ศ. 1900 ด้วยข้ออ้างเรื่องการให้ความช่วยเหลือรัฐบาลจีน
ปราบการลุกฮือขึ้นต่อกรอำ�นาจตะวันตกของกลุ่มนักมวยจีน ที่รู้จักกันในนามของ “กบฏนักมวย” (the Boxer Re-
bellion) ซึ่งจบลงด้วยการที่รัฐบาลจีนต้องชดเชยค่าเสียหายหลายสิบล้านปอนด์แก่ชาติตะวันตก อันเป็นชนวนก่อการ
ปฏิวัติล้มล้างระบบการปกครองของจีนใน ค.ศ. 1911 ภายใต้การนำ�ของซุนยัดเซ็น (Sun Yat-sen, 1866-1925)98
อย่างไรก็ตาม การแข่งขันระหว่างชาติยุโรปที่รุนแรงขึ้น ตลอดจนภาพลักษณ์ของความป่าเถื่อนโหดร้ายใน
การปกครองโดยเฉพาะที่แอฟริกา ทำ�ให้หลายชาติเกิดแนวคิดที่จะลดระดับความรุนแรงและภาพลักษณ์ดังกล่าว
อังกฤษจึงปรับเปลี่ยนแนวนโยบายต่างประเทศ ที่ไม่นิยมการเข้ามาเกี่ยวข้องโดยตรงกับเรื่องราวในภาคพื้นทวีปยุโรป
โดยการแยกตัวออกไปอย่างโดดเดี่ยว (splendid isolation) มาเป็นสร้างกลุ่มพันธมิตรขึ้นอย่างจริงจัง เริ่มด้วยการ
เป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่นใน ค.ศ. 1902 ทำ�ให้อังกฤษต้องหลีกเลี่ยงการเข้าไปพัวพันกับสงครามระหว่างรัสเซียกับญี่ปุ่น
(Russo-Japanese Wars, 1904-05) สงครามทีญ่ ีป่ ุน่ เปน็ ฝา่ ยชนะและมสี ถานะทีโ่ ดเดน่ ยิง่ ขึน้ ในแวดวงระหวา่ งประเทศ
97 จักรวรรดิอังกฤษเริ่มต้นศตวรรษใหม่ด้วยการมีพื้นที่ในครอบครองถึง 12 ล้านตารางไมล์ และประชากรในความดูแลคิดเป็นร้อยละ
25 ของประชากรโลก ณ ขณะนั้น ด้วยการเพิ่มที่ในปกครองได้ถึง 4.25 ล้านตารางไมล์ และประชากรอีก 66 ล้านคนนับตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1870
เป็นต้นมา Jonathan Hardt. (2008). op, cit., p. 225.
98 การลุกฮอื ของพวกนกั มวย (the Boxer Upraising) ในรปู ของการบกุ ยึกสถานทตู และสังหารชาวตะวันตกจำ�นวนมาก แมช้ าตติ ะวนั ตก
กับรัฐบาลปักกิ่งจะตกลงกันได้ในปีถัดมาว่ารัฐบาลจีนแห่งราชวงศ์ชิง (Qing Dynasty) จะเป็นผู้ชดเชยความเสียหายมูลค่า 67 ล้านปอนด์
สเตอริง แต่สถานะของทั้งสองฝ่ายก็ไม่มีวันกลับไปเป็นเช่นเดิม เพราะราชวงศ์ชิงถูกล้มล้างโดยการปฏิวัติของซุนยัดเซ็น หรือซุนอี้เซียน (Sun
YiXian) ผู้ให้กำ�เนิดสาธารณรัฐจีน (Republic of China: ROC) ผู้ให้กำ�เนิดหลักไตรราษฎร์ (Three Principles or Sun-min Doctrine) ใน
ฐานะอุดมการณ์หลักในการบริหารประเทศ หลักการนี้ประกอบไปด้วยแนวคิดในเรื่องของชาตินิยม (nationalism) หรือหลักประชาชาติ ที่เน้น
เรื่องความเป็นเอกราชของจีนและการยอมรับความหลากหลายของเชื้อชาติ หลักสาธารณรัฐนิยม (republicanism) หรือหลักประชาสิทธิ ที่ให้
ความสำ�คัญกับการปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย ซึ่งมีการประกันสิทธิเสรีภาพของปราชาชน หรือหลักประชาธิปไตย และหลักสังคมนิยม
(socialism) หรือหลักประชาชีพ ที่ให้ความสำ�คัญกับรัฐสวัสดิการและการให้สิทธิชาวนาถือครองที่ดิน ซึ่งเป็นปัจจัยการผลิตขึ้นพื้นฐาน ศึกษา
เพิ่มเติมที่E. J. Hobsbawm. (1989). op, cit., p. 282, http://enwikipedia.org/wiki/Sun_Yat-sen, http://enwikipedia.org/wiki/
Three_Principles_of_the_Peoples และ “หลัก 3 ประการแห่งประชาชน” at http://th.wikipedia.org เข้าสู่ฐานข้อมูลเมื่อ 1 พฤศจิกายน
2553
ลขิ สทิ ธ์ิของมหาวทิ ยาลยั สโุ ขทยั ธรรมาธิราช