Page 75 - สังคมโลก
P. 75

จักรวรรดินิยม 6-35

dun 1916)108 และที่ซอมม์ (Battle of Somme, 1916)109 ค.ศ. 1917 เป็นปีที่โครงสร้างจักรวรรดินิยมตะวันตก
เปลี่ยนแปลงอย่างมาก โดยมีความเสื่อมถอยทางเศรษฐกิจเป็นตัวเร่ง รัสเซียได้รับผลกระทบมากที่สุดจนนำ�ไปสู่การ
ปฏิวัติล้มล้างระบบกษัตริย์ในเดือนตุลาคม (the October Revolution, 1917)110 ภายใต้การนำ�ของเลนิน การที่ต้อง
เผชิญกับสงครามกลางเมืองทำ�ให้เลนิน ตัดสินใจลงนามในสนธิสัญญาเบรสต์-ลิตทอฟ (Treaty of Brest-Litovsk,
1918) กับฝ่ายมหาอำ�นาจกลางโดยมีเยอรมนีเป็นตัวแทน เพื่อถอนตัวจากสงครามโลกครั้งที่ 1 แลกเปลี่ยนกับการ
ยอมรับความเป็นอิสระของฟินแลนด์ เอสโตเนีย แลตเวีย เบรารุส ยูเครน และลิธัวเนีย อย่างไรก็ตามสนธิสัญญา	
ฉบับดังกล่าวช่วยให้เลนินและผู้นำ�บอลเชวิคสามารถรวบรวมกำ�ลัง จนนำ�ไปสู่การจัดตั้งสาธารณรัฐสังคมนิยมแห่ง
สหภาพโซเวียต (Union of Soviet Socialist Republic, 1922-1991)111

       ในปเี ดยี วกนั นีเ้ องทีส่ งครามโลกครัง้ ที่ 1 เริม่ ปรากฏทางออก เพราะไดแ้ รงหนนุ เสรมิ จากสหรฐั อเมรกิ า เจา้ หน	ี้
รายสำ�คัญของจักรวรรดิอังกฤษที่ต้องแบกรับภาระหนี้สินของทั้งอิตาลี รัสเซียและฝรั่งเศส จนขาดสภาพคล่องในช่วง
ปลายสงคราม ทำ�ให้รัฐบาลที่ลอนดอนต้องกู้ยืมผ่านตลาดการเงินทั้งในชิคาโกและนิวยอร์ก112 ปีนี้เป็นปีที่เยอรมนี
ตัดสินใจดำ�เนินยุทธศาสตร์ในการใช้เรืออูโจมตีเรือฝ่ายตรงข้ามแบบไม่จำ�กัดเขตตั้งแต่เดือนมกราคม เพื่อกดดันและ
ตัดเสบียงฝ่าย Entente113 และเพื่อเป็นการป้องกันการเข้ามาเกี่ยวข้องของสหรัฐอเมริกา เยอรมนีจึงพยายามติดต่อ
สนับสนุนให้เม็กซิโกก่อสงครามกับสหรัฐอเมริกา แต่โทรเลข (Zimmermann Telegram) ดังกล่าวได้รั่วไหลไปถึง	
	

	 108 	สนามรบที่กินเวลายาวนานที่สุดเกือบตลอด ค.ศ. 1916 (กุมภาพันธ์ถึงธันวาคม) กองทหารฝรั่งเศสสามารถยันกองกำ�ลังใหญ่ของ
เยอรมนีให้ถอยกลับไปยังเส้นเขตแดนก่อนที่จะรุกคืบในปีนั้น สนามรบที่เป็นเสมือนฝันร้ายของทั้งสองฝ่ายนี้คร่าชีวิตทหารทั้งสองฝ่ายไปกว่า 3
แสนนาย (ทหารฝรั่งเศส 163,000 นาย ทหารเยอรมนี 143,000 นาย) และยังมีผู้ได้รับบาดเจ็บอีกกว่าครึ่งล้าน http://en.wikipedia.org/wiki/
Battle_of_Verdun accessed on 6 November 2010
	 109 	สนามรบแห่งนี้คร่าชีวิตทหาราว 1.5 ล้านคน ก่อภาวะทุพพลภาพให้กับทั้งทหารและพลเรือกว่า 2 ล้านคน แค่เพียงเปิดฉากรบวันแรก
อังกฤษสูญเสียทหารไปถึง 6 หมื่นนาย โดยส่วนใหญ่มาจากหน่วยอาสาจากนิวฟาวด์แลนด์ (Newfoundland) ทำ�ให้โครงสร้างประชากรของดิน
แดนดังกล่าวเปลี่ยนแปลงไป ช่วงเดือนกรกฎาคมถึงพฤศจิกายนของปีเดียวกันนี้เองอังกฤษได้เปิดฉากการรุกฝ่ายเยอรมนีที่บริเวณลุ่มนํ้าซอม
ม์ (Somme Offensive or the Battle of the Somme, 1916) ซึ่งถือเป็นการรบครั้งใหญ่ที่สุดในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง แม้อังกฤษจะนำ�ยาน
เกราะภายใต้ชื่อรหัสว่า แทงค์ (tank) ที่รู้จักกันในภาษาไทยว่า รถถังมาใช้เป็นครั้งแรก แต่ก็ยังไม่อาจลดความสูญเสีย ศึกษาเพิ่มเติมที่ E. J.
Hobsbawm. (1994). Age of Extremes: The Short Twentieth Century 1914-1991. London: Abacus, p. 23, http://en.wikipedia.
org/wiki/Battele_of_the_Somme accessed on 6 November 2010	
	 110 	แม้ซาร์นิโคลัสที่ 2 (Tsar Nicolas II, 1868-1918) จะใช้วิธีกู้ยืมจากอังกฤษเข้ามาแก้ปัญหา แต่การพยายามขัดราชวงศ์แฮปสเบิร์ก
ออกจากบอลข่านยิ่งซํ้าเติมปัญหาทางการเงินของรัสเซีย ในที่สุดการปฏิวัติก็ปรากฏขึ้นก่อนที่เมืองเปโตรการ์ด หรือเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กเมื่อเดือน
กุมภาพันธ์ ก่อนจะขยายวงกว้างจนนำ�ไปสู่การล้มล้างรัฐบาลพระเจ้าซาร์แบบเด็ดขาดในเดือนตุลาคม (the October Revolution 1917) ภายใต้
การนำ�ของวลาดิเมียร์ เลนิน (Vladimir Lenin, 1870-1924) จากพรรคบอลเชวิค (Bolshevik) ผู้เสนอทฤษฎีโจมตีจักรวรรดินิยมอย่างรุนแรง	
ดังที่ได้กล่าวไว้แล้วในตอนที่ 6.1.1  ศึกษาเพิ่มเติมที่ http://en.wikipedia.org/wiki/Russian_Revolution_(1917), http://en.wikipedia.
org/wiki/Nicholas_II_of_Russia accessed on 6 November 2010	
	 111 	Tony Smith. (1981). op, cit., pp. 86-88,  http://en.wikipedia.org/wiki/Soviet_Union, http://en.wikipedia.org/wiki/
Vladimir_lenin,  http://en.wikipedia.org/wiki/Treaty_of_Brest-Litovsk accessed on 6 November 2010
	 112	 Jonathan Hardt. (2008). op, cit., p. 228.	
	 113 	โดยคาดหมายว่าจะสามารถสร้างความสูญเสียต่อสินค้าฝ่ายตรงข้ามได้ถึง 6 แสนตันต่อเดือน เมื่อผนวกกับสภาพผลผลิตทางการ
เกษตรในอังกฤษตกตํ่ามาตั้งแต่ช่วงปี ค.ศ. 1916 ฝ่ายเยอรมนีจึงมั่นใจว่าจะสามารถกดดันให้อังกฤษเผชิญภาวะทุพภิกขภัยจนต้องประกาศยอม
แพ้ใน 5 เดือน ศึกษาเพิ่มเติมที่ http://historylearningsite.co.uk/unrestricted_submarine_warfare.htm, accessed on 9 November
2553	

                              ลขิ สทิ ธขิ์ องมหาวิทยาลยั สุโขทยั ธรรมาธิราช
   70   71   72   73   74   75   76   77   78   79   80