Page 78 - สังคมโลก
P. 78

6-38 สังคมโลก

ครั้งใหญ่ (the Great Depression) การค้าที่หดตัวทำ�ให้หลายประเทศขาดสภาพคล่อง จนต้องสนับสนุนนโยบาย

การปกป้องตลาดการค้าและอุตสาหกรรมภายในของตน (protectionism) ด้วยการตั้งกำ�แพงภาษีสูงและลดการนำ�
เข้า เพื่อหวังแก้ปัญหาการว่างงานภายในประเทศที่มีอัตราเพิ่มสูงขึ้นมาก124 ราคาสินค้าเกษตรพื้นฐาน เช่น ข้าว ลด

ลงราวร้อยละ 60 ทำ�ให้พม่า อินโดจีน และสยาม ซึ่งเป็นผู้ส่งออกรายหลักได้รับผลกระทบหนัก โดยเฉพาะเมื่อรัฐบาล

ในเอเชียหลายประเทศส่งเสริมให้ประชากรบริโภคอาหารแป้งอื่นๆ เช่น จัปปาติ และอาหารเส้น เพื่อลดการนำ�เข้า

ความตกตํ่าทางเศรษฐกิจนี้เป็นเชื้อไฟอย่างดีให้เกิดการต่อต้านเจ้าอาณานิคมในอินโดจีนอย่างรุนแรง โดยเฉพาะจาก	
                                125
ขบวนการเวียดกง

   ช่วงทศวรรษ 1930 ญี่ปุ่นเริ่มบุกเข้ายึดแมนจูเรีย ซึ่งต่อมาได้สถาปนาขึ้นเป็นรัฐแมนจูกัว (Manchukuo) ใน

ค.ศ. 1932 เท่ากับเป็นการละเมิดความตกลงเก้าชาติซึ่งมีอเมริกาเป็นผู้สนับสนุน ปัญหาเศรษฐกิจยังทรุดหนัก ชาติ
ตะวันตกทะยอยกันละทิ้งมาตรฐานทองคำ�เพื่อหวังสร้างสภาพคล่องทางการเงิน126 ค.ศ. 1936 ซึ่งเยอรมนีมีอัตรา

การว่างงานอยู่ราว 6 ล้านคน และเป็นปีที่ อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ (Adolf Hitler, 1889-1945) ผู้นำ�พรรคนาซี (Nazi) หรือ

พรรคแรงงานสังคมนิยมแห่งชาติเยอรมนี (National Socialist German Workers’ Party: NSDAP) ก้าวขึ้นรับ

ตำ�แหน่งผู้นำ�เยอรมนี พร้อมกับการชูนโยบายแก้ปัญหาการว่างงาน ด้วยการใช้นโยบายการขาดดุลงบประมาณ สร้าง

งานภาครัฐโดยปราศจากสหภาพแรงงาน และการบังคับใช้แรงงานจากกลุ่มคนที่ไม่ได้มีเชื้อสายเยอรมนีบริสุทธิ์โดย
เฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการสงคราม127 	

   ค.ศ. 1936 เป็นปีที่ฮิตเลอร์ฉีกสนธิสัญญาแวร์ซายส์ (Treaty of Versailles) ด้วยการเข้ายึดครอง	

ไรน์แลนด์ (Rhineland) ซึ่งตามสนธิสัญญายกให้อยู่ในความดูแลของฝรั่งเศส ขณะที่อิตาลีภายใต้การนำ�ของ	

เบนิโต มุสโสลินี (Benito Mussolini, 1883-1945) ได้บุกเข้ายึดครองแอดดิส อบาบา (Addis Ababa) เมืองหลวง

ของอบิสซีเนีย (เอธิโอเปีย) ไม่เพียงเท่านั้นทั้งฮิตเลอร์และมุสโสลินี ยังตัดสินใจเข้าแทรกแซงสงครามกลางเมืองใน

สเปน (the Spanish Civil War, 1936-39) ด้วยการสนับสนุนฟรังโก (General Franco) ซึ่งเป็นฝ่ายเผด็จการ	

	

	 124 	ภาวะการแข่งขันในลักษณะนี้ยิ่งเพิ่มสูงขึ้น เพื่อหวังแก้ปัญหาภายในซึ่งรวมถึงภาวะการว่างงานที่สูงกว่าร้อยละ 20 ในประเทศสูงกลาง
เศรษฐกิจทุนนิยม เช่น อังกฤษ และอเมริกา สูงกว่าร้อยละ 30 ในย่านทะเลเหนือและบอลติก และสูงกว่าร้อยละ 40 ในเยอรมนี ศึกษาเพิ่มเติมที่
E. J Hobsbawm. (1994). op, cit, pp. 91-92, 95, http://en/wikipedia.org/Great_Depression  accessed on 15 November 2553
	 125 	เมื่อผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจไม่มีการกระจายตัว ประชากรเชื้อสายจีนเพียงร้อยละ 4 ทั้งในส่วนที่เป็นตระกูลเจ้าที่ดิน นายทุนการ
ค้าและอุตสาหกรรมที่ได้รับการสนับสนุนจากฝรั่งเศส เป็นผู้เก็บเกี่ยวผลประโยชน์หลักที่ได้รับจากที่ราบลุ่มแม่นํ้าโขง ความไม่พอใจนี้มีส่วนช่วย

ให้พรรคชาตินิยมเวียดนาม              หรือที่รู้จักกันในนามเวียดกง                     ซึ่งอาศัยอุดมการณ์

ชาตินิยมและสังคมนิยมเป็นหลัก ขยายตัวอย่างรวดเร็วโดยได้รับการสนับสนุนจากชาวนาเป็นหลัก แม้จะถูกกดดันอย่างหนักจากฝรั่งเศส โดย

เฉพาะหลังกรณีการปราบปรามการลุกฮือของชาวนานที่เขต Nghe An กับ Ha Tinh ซึ่งรู้จักกันในนามของการลุกฮือ (the Nghe-Tinh Revolt

1930-31) ศึกษาเพิ่มเติมที่ Tony Smith. (1981). op, cit., p. 125 http://en.wikipedia.org/wiki/Vietnam_Quoc_Dan_Dang, http://

libcom.org/history/articles/nghe-tinh-revolt-1930-1931 accessed on 15 November 2553	
	 126 	อังกฤษ แคนาดา รัฐสแกนดิเนเวีย ตัดสินใจละทิ้งมาตรฐานทองคำ�เพื่อหวังให้การแก้ปัญหาทางการเงินมีความคล่องตัวมากขึ้นใน

ช่วง ค.ศ. 1931-32 ตามมาด้วยอเมริกาใน ค.ศ. 1933 ก่อนที่ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์และเบลเยียมจะประกาศนโยบายในทำ�นองเดียวกันใน ค.ศ.

1936 ศึกษาเพิ่มเติมที่ http://en.wikipedia.org/wiki/Gold_Standard#Gold_Standard_from_peak_to_crisis_.28901.E2.80.931932.29

accessed on 17 November 2010 	
	 127 	กล่าวได้ว่าแรงงานเหล่านี้มีส่วนอย่างสำ�คัญในการช่วยให้อุตสาหกรรมการผลิตอาวุธของเยอรมนีมีพัฒนาการไปอย่างรวดเร็ว ไม่ว่า

จะเป็นเครื่องบินรบที่บินได้เร็วขึ้นแม้นํ้าหนักเครื่องจะมากขึ้น และรถถังขนาดใหญ่ที่สามารถบรรจุปืนกลที่มีความสามารถในการทำ�ลายล้างสูงขึ้น

มิพักต้องเอ่ยถึงเทคโนโลยีในการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งต่อมาได้รับการพัฒนาขึ้นเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคแรกของบริษัทอินเตอร์

เนชั่นแนล บิซิเนส แมชชีน (International Business Machine: IBM) ซึ่งมีส่วนอย่างสำ�คัญในการช่วยให้การบริหารจัดการค่ายกักกันและ	

คร่าชีวิตชาวยิวประสบความสำ�เร็จ ศึกษาเพิ่มเติมที่ Tony Smith. (1981). op, cit., p. 144, Jonathan Hardt. (2008). op, cit., p. 233, http://

en/wikipedia.org/wiki/Nazi_Germany#Economy accessed on 17 November 2010	

                                ลขิ สทิ ธิข์ องมหาวทิ ยาลยั สโุ ขทยั ธรรมาธริ าช
   73   74   75   76   77   78   79   80   81   82   83