Page 82 - สังคมโลก
P. 82
6-42 สังคมโลก
หลักการตามกฎบัตรแอตแลนติกได้รับการตอกยํ้า ในการประชุมเบรตตันวู้ดส์ (Bretton Woods) เพื่อ
วางกฎเกณฑ์ในการบริหารจัดการการค้าและการเงินระหว่างประเทศหลังสงคราม ซึ่งรวมเรียกว่าระบบเบรตตันวู้ด
(Bretton Woods System) โดยมีธนาคารเพื่อการบูรณะและการพัฒนาระหว่างประเทศ (International Bank for
Reconstruction and Development: IBRD) หรือที่รู้จักกันในนามของธนาคารโลก (World Bank) และกองทุนการ
เงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund: IMF) เป็นจักรกลหลักในการดูแลนโยบายทางการเงิน และ
การแลกเปลีย่ นสกลุ เงนิ ทีต่ อ้ งองิ กบั สกลุ ดอลลารส์ หรฐั ฯ ทีม่ กี ารกำ�หนดอตั ราแลกเปลีย่ นตายตวั กบั นํา้ หนกั ทองคำ�140
การแสดงบทบาทนำ�ของสหรัฐอเมริกา มิใช่ปัจจัยเดียวที่มีผลต่อสังคมโลกหลังสงคราม การปลดแอกตนเอง
ของดินแดนต่างๆ จากเจ้าอาณานิคมเกิดขึ้นอีก โดยที่ความรุนแรงและความขัดแย้งจากกระบวนการนี้แตกต่างกันไป
เชน่ กรณขี องฟลิ ปิ ปนิ ส์ (1946) ทีเ่ ปน็ ไปแบบคอ่ นขา้ งสงบ141 ขณะทีก่ ารสนบั สนนุ การใหเ้ อกราชแกด่ นิ แดนในปกครอง
ของรัฐบาลพรรคแรงงานแห่งอังกฤษ ไม่ว่าจะเป็นอินเดีย ปากีสถาน (1946) ไปจนถึงพม่า ศรีลังกา และปาเลสไตน์
(1948) กลับเป็นชนวนให้ความขัดแย้งภายในปะทุขึ้น กรณีของอินโดนีเซียก็ไม่สู้จะราบรื่น เมื่อสหรัฐอเมริกาต้องเข้า
สนับสนุนผู้นำ�ท้องถิ่นต่อกรกับเนเธอร์แลนด์ที่ยังไม่ยอมปล่อยดินแดนนี้142 อย่างไรก็ตาม การเรียกร้องเอกราชของ
ดินแดนในปกครองของฝรั่งเศส ดูจะราบรื่นน้อยกว่าดินแดนอื่น นอกจากกรณีเลบานอน (1943) ฝรั่งเศสต้องเผชิญ
กับสงครามปลดแอกมาดากัสการ์ (Madagascar, 1947) และสงครามในอินโดจีนที่เพิ่มระดับความรุนแรงขึ้น143
ขอ้ สงเกตการเคลือ่ นไหวในชว่ งเวลานีก้ ค็ อื การทีส่ หรฐั อเมรกิ าเขา้ ไปเกีย่ วขอ้ งกบั สงครามทีเ่ กดิ ขึน้ ในภมู ภิ าค
ตา่ งๆ เปน็ การแสดงใหเ้ หน็ วา่ การนยิ ามผลประโยชนข์ องอเมรกิ ามลี กั ษณะทีค่ รอบคลมุ ในระดบั โลก ซึง่ แนน่ อนวา่ ยอ่ ม
รวมถึงการปกป้องผลประโยชน์ของชาติพันธมิตรของสหรัฐอเมริกา ตามหลักการความมั่นคงร่วมกัน144
ความเปลี่ยนแปลงในเชิงอุดมการณ์ก็แพร่หลายเช่นกัน โดยเฉพาะความนิยมที่เพิ่มของแนวทางสังคมนิยม
ไปจนถึงคอมมิวนิสต์ที่มีต่อสหภาพโซเวียต กอปรกับการแผ่ขยายอิทธิพลในยุโรปตะวันออกของสตาลิน ด้วยการใช้
แนวร่วมใต้ดินภายในในการบ่อนทำ�ลายฝ่ายเสรีนิยม ทำ�ให้เชอร์ชิลล์ถึงกับเปรียบเปรยว่า ม่านเหล็ก (iron curtain)
กำ�ลังแบ่งแยกยุโรป และสตาลินคือภัยคุกคามที่อาจจะกลายสภาพเป็นฮิตเลอร์ในอนาคต145 นี่เองคือจุดเริ่มต้นแห่ง
140 การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยเรื่องการเงิน (United Nations Monetary and Financial Conference) ที่เบรตตัน วู้ดส์ (Bretton
Woods) นิวแฮมเชียร์ (New Hampshire) ที่สหรัฐอเมริกาในช่วงเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1944 มีตัวแทนฝ่ายพันธมิตร 730 คนจาก 44 ประเทศ
เข้าร่วม ศึกษาเพิ่มเติมที่ Jonathan Hardt. (2008). op, cit., p. 246, http://en.wikipedia.org/wiki/Bretton_Woods_system accessed
on 5 December 2553
141 แต่ก็ต้องเผชิญการเรียกร้องตามแนวทางคอมมิวนิสต์ผนวกกับแนวคิดชาตินิยมของขบวนการฮุกบาลาฮับ (the Hukbalahap Move-
ment) ซึ่งเป็นหนึ่งในแกนนำ�สำ�คัญในการต่อต้านทหารญี่ปุ่น และเรียกร้องให้มีการปฏิรูปที่ดินซึ่งได้รับการตอบสนองในสมัยที่รามอน แม็กไซ
ไซ (Ramon Magsaysay, 1907-1957) ดำ�รงตำ�แหน่งประธานาธิบดี ศึกษาเพิ่มเติมที่ Tony Smith. (1981). op, cit., p. 166, http://www.
philippine-revolution.110mb.com/hukbalahup.htm, http://globalsecurity.org/military/library/report/1984/GRR.htm accessed
on 11 December 2553
142 สหรัฐอเมริกาได้ให้การสนับสนุนซูการ์โน (Sukarno, 1901-1970) และโมฮัมหมัด ฮัตตา (Mohammad Hatta, 1902-1980) ผู้นำ�
กอบกู้เอกราชของอินโดนีเซีย ในการต่อกรกับเนเธอร์แลนด์ที่ยังไม่ยอมคืนเมืองยอกยากาต้า (Yogyakarta) ให้กับอินโดนีเซีย ทั้งที่ให้การยอมรับ
การประกาศเอกราชของดินแดนแห่งนี้ตั้งแต่ ค.ศ. 1945 ศึกษาเพิ่มเติมที่ Tony Smith. (1981). op, cit., p. 163, http://en.wikipedia.org/
Mohammad_Hatta, http://en.wikipedia.org/Sukarno accessed on 11 December 2553
143 เพราะการเจรจาที่ฟอนเตนเบลอร์ (Fontainebleau Agreement, 1946) ระหว่างโฮจิมินห์กับประธานาธิบดีชาร์ลเดอโกลด์ (Charles
de Gaulle 1890-1970) ไมป่ ระสบความส�ำ เรจ็ จนน�ำ ไปสูก่ ารใชก้ �ำ ลงั อยา่ งหนกั ของฝรัง่ เศสทีไ่ ฮฟอง อนั จดุ เริม่ ของสงครามอนิ โดจนี ทีค่ รา่ ชวี ติ ทหาร
ฝรัง่ เศสเรอื นแสนและชวี ติ ชาวเวยี ดนามอกี จ�ำ นวนมาก ศกึ ษาเพิม่ เตมิ ที่ E. J. Hobsbawm. (1994). op, cit., pp. 217-222, http://en.wikipedia.
org/wiki/Fontainebleau_Agreements accessed on 5 December 2553
144 Tony Smith. (1981). op, cit., pp. 113, 126, 167.
145 Jonathan Hardt. (2008). op, cit., p. 256, http://en.wikipedia.org/wiki/Iron_Curtain , http://www.answers.com/topic/
iron-curtain accessed on 5 December 2553
ลขิ สิทธ์ิของมหาวิทยาลัยสุโขทยั ธรรมาธริ าช