Page 86 - สังคมโลก
P. 86
6-46 สังคมโลก
สันติภาพและเอกภาพของประเทศในแอฟริกา ซึ่งล้วนได้รับผลกระทบจากการขีดแบ่งเส้นกันพรมแดนที่ก่อปัญหามา
ตั้งแต่ยุคจักรวรรดินิยม161
นอกจากความขัดแย้งดังที่ได้เสนอไปข้างต้น สังคมโลกยังต้องเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลทั้งต่อ
การครองความเป็นเจ้าของจักรวรรดิอเมริกา และการปรับโครงสร้างความสัมพันธ์ในกลุ่มยุโรปตะวันออกกับสหภาพ
โซเวียต ให้เป็นไปในลักษณะที่ฝ่ายหลังเข้าควบคุมฝ่ายแรกมากยิ่งขึ้น เช่นกรณีกรณีมอสโคว์ส่งกองกำ�ลังเข้ารุกราน
กรุงปรากของเชคโกสโลวาเกีย (1968)162 แม้ ค.ศ. 1969 บรรยากาศความขัดแย้งระหว่างสหรัฐอเมริกากับสหภาพ
โซเวียต จะมีท่าทีผ่อนคลายขึ้นเพราะสามารถเริ่มการเจรจาจำ�กัดอาวุธยุทธศาสตร์ (Strategic Arms Limitation
Talks: SALT I) ขึ้นเป็นครั้งแรกได้ที่กรุงเฮลซิงกิ ประเทศฟินแลนด์ ความขัดแย้งจนถึงขั้นปะทะด้วยก�ำ ลังทหารตาม
แนวชายแดนระหว่างจีนกับโซเวียตกลับเกิดขึ้นในปีเดียวกันนี้ เท่ากับเป็นการเปิดโอกาสให้สหรัฐอเมริกาเข้าแทรก
ด้วยการสถาปนาความสัมพันธ์กับจีนอย่างเป็นทางการในช่วงทศวรรษ 1970 จนนำ�ไปสู่การเปิดศักราชของยุคผ่อน
คลายความตึงเครียด (Dètente)163
ดังได้กล่าวแล้วว่า มิติด้านเศรษฐกิจมีความสำ�คัญมากขึ้น ในการกำ�หนดความเป็นไประหว่างประเทศทั้งที่
กำ�หนดโดยรัฐและมิใช่โดยรัฐ ความสำ�คัญของการกำ�หนดโดยรัฐนั้นเห็นได้จากการที่ประธานาธิบดีเคนเนดี้ ประกาศ
นโยบายสร้าง “พันธมิตรเพื่อความก้าวหน้า” (Alliance for Progress) โดยหวังใช้การพัฒนาเศรษฐกิจขจัดโครงสร้าง
การถือครองทรัพย์สินอันอยุติธรรม เพื่อนำ�ไปสู่การสร้างเสถียรภาพทางการเมืองในกลุ่มประเทศลาตินอเมริกา164
ส่วนที่มิได้กำ�หนดโดยรัฐนั้นเริ่มปรากฏชัดจากการขยายตัวอย่างมากของบรรษัทข้ามชาติ (trans-national corpora-
tions: TNC or multinational corporations: MNC) โดยเฉพาะที่จดทะเบียนดำ�เนินงาน และมีสำ�นักงานใหญ่อยู่
ในสหรัฐอเมริกา ผลตอบแทนเชิงบวกของกลุ่มนี้ต่อประเทศตะวันตก กลับก่อให้เกิดการตั้งคำ�ถามในวงกว้างมากขึ้น
ว่า การขยายตัวดังกล่าว ก่อผลเช่นใดกันแน่ต่อประเทศเกิดใหม่หลังสงครามโดยเฉพาะในแอฟริกาและเอเชีย หรือที ่
161 องค์การนี้ได้พัฒนาตัวขึ้นเป็นสหภาพแอฟริกัน (African Union: AU) ซึ่งมีมิติที่ครอบคลุมและผูกพันรัฐสมาชิกในทุกด้านมากขึ้น
กว่าเมื่อครั้งเป็น OAU ศึกษาเพิ่มเติมที่ Jonathan Hardt. (2008). op, cit., p. 264, http://en.wikipedia.org/wiki/Orgnisation_of_Afri-
can_Unity, http://en.wikipedia.org/wiki/African_Union accessed on 16 December 2553
162 ที่รู้จักกันในนามของ “Prague Spring 1968” เพราะต้องการยับยั้งการทดลองแนวทางสังคมนิยมแบบมีความเป็นมนุษย์ (socialism
with human face) ซึ่งต่างไปจากแนวทางภายใต้การน�ำ ของมอสโคว์ ‘World: Europe Remembering the Prague Spring’ at http://news.
bbc.co.uk/2/hi/europe/155500.htm, 21 August 1998 published at 10:52 GMT, http://en.wikipedia.org/wiki/Prague_Spring ac-
cessed on 16 December 2553
163 ความขัดแย้งเนื่องจากการตีความลัทธิมาร์กซิสต์-เลนินนิสต์ที่แตกต่างกันเกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงปลายทศวรรษ 1950 ก่อนจะเพิ่มระดับ
ความรุนแรงขึ้นจนถึงขั้นที่รัฐบาลปักกิ่งออกแถลงการณ์โจมตีมอสโควว่าเป็นผู้ทรยศต่ออุดมการณ์เมื่อต้นทศวรรษ 1960 ทำ�ให้เกิดความตึงเครียด
ตามแนวชายแดน จนนำ�ไปสู่การปะทะกันครั้งแรกใน ค.ศ. 1962 ศึกษาเพิ่มเติมที่ Jonathan Hardt. (2008). op, cit., pp. 260-261, http://
en.wikipedia.org/wiki/Sino%E280%93sino_soviet_split , http://en.wikipedia.org/wiki/Sino%E2%80%93soviet_border_conflict
, http://en.wikipedia.org/wiki/Strategic_Arms_Limitation_Talks, http://www.historylearningsite.co.uk/detente.htm accessed
on 16 December 2553
164 ด้วยการให้ความสำ�คัญกับการพัฒนาอุตสาหกรรมในภูมิภาคนี้ ควบคู่ไปกับการสนับสนุนให้สินค้าส่งออกของประเทศในภูมิภาคนี้มี
ความหลากหลายยิ่งขึ้น นอกเหนือไปจากการส่งเสริมเรื่องการปฏิรูปที่ดิน และสนับสนุนนโยบายสวัสดิการทางสังคมแก่ผู้เสียเปรียบในสังคมไม่
ว่าจะเป็นด้านสุขภาพ ที่อยู่อาศัย และการจ้างงาน ศึกษาเพิ่มเติมที่ Tony Smith. (1981). op, cit., p. 242, http://en.wikipedia.org/wiki/
Alliance_for_Progress accessed on 13 December 2553
ลิขสิทธข์ิ องมหาวทิ ยาลัยสโุ ขทัยธรรมาธิราช