Page 83 - สังคมโลก
P. 83

จักรวรรดินิยม 6-43

การกระตุน้ สำ�นกึ ในเรือ่ งของสงครามเยน็ (Cold War) ทีแ่ มส้ หรฐั อเมรกิ ากบั สหภาพโซเวยี ตจะไมเ่ คยปะทะกนั โดยตรง	
ทางทหาร แต่ต่างก็สร้างเงื่อนไขของความขัดแย้งทางอุดมการณ์จนน�ำ ไปสู่การปะทะกันผ่านกองก�ำ ลังอื่นๆ ที่ได้รับการ
สนับสนุนจากทั้งสองฝ่ายในหลายพื้นที่ จอร์จ เอฟ เคนนาน (George F Kennan, 1904-2005) นักการทูตอเมริกา
ประจำ�มอสโคว์ เสนอแนวนโยบายปิดล้อม (Containment Policy, 1946) ทั้งทางการทูต เศรษฐกิจ และการทหาร
เพื่อสกัดกั้นอิทธิพลของสหภาพโซเวียต146 นโยบายนี้เป็นพื้นฐานให้กับหลักการทรูแมน (Truman Doctrine) ซึ่ง
ประธานาธิบดี แฮร์รี เอส ทรูแมน (Harry S Truman, 1884-1972) นำ�มาใช้เป็นครั้งแรกด้วยการประกาศสนับสนุน
กรีซและตุรกีทั้งทางเศรษฐกิจและการทหาร เมื่ออังกฤษล้มเหลวในการสกัดกั้นการขยายอิทธิพลของโซเวียตเข้ามายัง
ดินแดนดังกล่าว

       นโยบายปิดล้อมและหลักการทรูแมน คือ การแสดงออกอย่างชัดเจนถึงบทบาทในการแสดงความเป็นเจ้า
อันเป็นหน่ออ่อนของการขยายจักรวรรดิอเมริกา ด้วยความที่หลักการทรูแมนโยงปัญหาเศรษฐกิจและความยากจน
เข้ากับแนวโน้มการขยายตัวของคอมมิวนิสต์ ทำ�ให้แผนการมาร์แชล (Marshall Plan) เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมเพื่อ
ฟื้นฟูยุโรปด้วยเม็ดเงินกว่า 1.2 หมื่นล้านดอลลาร์ในการฟื้นฟูและพัฒนาเศรษฐกิจยุโรป147

       แม้โดยหลักการแผนพัฒนานี้จะรวมสหภาพโซเวียตและยุโรปตะวันออกเข้าไว้ด้วย แต่ประเทศเหล่านี้ไม่เข้า
รว่ มโครงการ และมองวา่ โครงการนีค้ อื การขยายอทิ ธพิ ลของอเมรกิ าเขา้ มาหยัง่ รากในยโุ รป จนเกดิ การตอบโตด้ ว้ ยการ
ปดิ ลอ้ มเบอรล์ นิ (Berlin Blockage June, 1848-May 1949) แตฝ่ า่ ยตะวนั ตกนำ�โดยสหรฐั อเมรกิ ากส็ ามารถแกป้ ญั หา
ด้วยการใช้เครื่องบินลำ�เลียงอาหารและสิ่งจำ�เป็นต่อการดำ�รงชีวิตเข้าไปในเขตปิดล้อม วิกฤตการณ์ในครั้งนี้ทำ�ให้เกิด
องค์การความรว่ มมอื ทางการทหารในระดบั ภูมภิ าคทีเ่ นน้ ถึงความโดดเดน่ ของระเบียบโลก ที่สหรฐั อเมรกิ าเป็นผู้ก�ำ กบั
ดูแลขึ้นเป็นครั้งแรกนั่นคือ องค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ (North Atlantic Treaty Organisation:
NATO) ซึ่งก่อตั้งขึ้นในเดือนเมษายน ค.ศ. 1949148 องค์การนี้ได้กลายเป็นต้นแบบให้กับองค์การระดับภูมิภาคต่างๆ
ในช่วงทศวรรษ 1950 อาทิ องค์การสนธิสัญญาป้องกันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (South East Asia Treaty Organi-
sation: SEATO, 1954-1977) หรือองค์การสนธิสัญญากลาง (Central Treaty Organisation: CENTO, 1955-
1979) ซึ่งเปลี่ยนชื่อมาจากองค์การสนธิสัญญาตะวันออกกลาง (Middle East Treaty Organisation: METO)149

       สิ่งที่ควรพิจารณาถึงการขยายบทบาทด้านความมั่นคงของสหรัฐอเมริกาในเอเชียก็คือ ใน ค.ศ. 1949 เกิด
มีรัฐบาลจีนขึ้นสองแห่ง คือ จีน-ไต้หวัน และจีน-คอมมิวนิสต์ที่ปักกิ่งซึ่งฝ่ายหลังนี้มีสัมพันธ์อันดีกับโซเวียต ทำ�ให้

	 146 	เคนนานรายงานใน ค.ศ. 1946 ว่า สหภาพโซเวียตจะไม่ปรับเปลี่ยนท่าทีในการแสวงหาพันธมิตรร่วมอุดมการณ์จากภายนอก เพราะ
ความรู้สึกไม่มั่นคงของผู้นำ�มอสโคว์ ทางออกที่ดีที่สุดก็คือการปิดล้อมแนวโน้มการขยายอิทธิพลเช่นนี้ ด้วยมาตรการต่างๆ ทั้งทางด้านการทูต
เศรษฐกิจและการทหาร นี่คือที่มาของนโยบายปิดล้อม (Containment Policy) ศึกษาเพิ่มเติมที่ E. J. Hobsbawm. (1994). op, cit., p. 233,
http://countrystudies.us/united-states/history-110.htm,  http://en.wikipedia.org/wiki/Containment  accessed on 5 December
2553
	 147 	หลกั การทรแู มนเปน็ เสมอื นการประกาศวา่ ผูน้ �ำ ทวี่ อชงิ ตนั ไดเ้ ชอื่ มโยงปญั หาการใชอ้ �ำ นาจแบบเผดจ็ การเขา้ กบั ปญั หาความยากจน พรอ้ ม
กับเสนอภาพว่าสิ่งเหล่านี้คือบ่อเกิดของแนวทางคอมมิวนิสต์ สหรัฐอเมริกาจึงทุ่มเม็ดเงินและความช่วยเหลือในรูปแบบต่างๆ จำ�นวนมากไปยังดิน
แดนที่ตนเห็นว่าเสี่ยงต่อการเป็นคอมมิวนิสต์โดยเฉพาะยุโรป สิ่งที่เป็นรูปธรรมสืบเนื่องมาก็คือ การประกาศโปรแกรมการฟื้นฟูยุโรป (European
Recovery Programme: ERP 1947-1951) ของ จอร์ ซี มาร์แชลล์ (George C Marshall, 1880-1959) รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐอเมริกาใน
ขณะนั้น ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในนามของ แผนมาร์แชล (Marshall Plan)  Jonathan Hardt. (2008). op, cit., p. 247, http://en.wikipedia.org/
wiki/Truman_Doctrine , http://www.spartacus.schoonet.co.uk/USAmarshallP.htm,  accessed on 5 December 2553 	
	 148 	NATO ก่อนหน้าที่การปิดล้อมเบอร์ลินจะสิ้นสุดลงด้วยการแบ่งเยอรมนีออกเป็น เยอรมนีตะวันออกและตะวันตก ซึ่งต่างได้รับการ
สนบั สนนุ ใหพ้ ฒั นาก�ำ ลงั ทหารของตน อนั เปน็ การเปลีย่ นแปลงไปจากแผนการเดมิ ทีต่ อ้ งการปลดอาวธุ เยอรมนี Jonathan Hardt. (2008). op, cit.,
pp. 256-257, http://en.wikipedia.org/wiki/Berlin_Blockage , http://en.wikipedia.org/wiki/NATO  accessed on 5 December 2553
	 149 	http://en.wikipedia.org/South_East_Asia_Organizaton, http://en.wikipedia.org/wiki/Central_Treaty_Organization
accessed on 6 December 2553	

                              ลขิ สิทธ์ขิ องมหาวิทยาลัยสโุ ขทยั ธรรมาธริ าช
   78   79   80   81   82   83   84   85   86   87   88