Page 88 - สังคมโลก
P. 88
6-48 สังคมโลก
1955-1968)169 สิ่งที่ไม่อาจมองข้ามก็คือ การเรียกร้องในลักษณะเหล่านี้กระตุ้นให้เกิดการเรียกร้องในลักษณะ
ใกล้เคียงกันในยุโรป เช่น กรณีที่กรุงปรากดังที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น
แม้โดยภาพรวมแล้ว มหาอำ�นาจยุโรปอดีตเจ้าอาณานิคมจะประสบปัญหาสูญเสียดินแดนที่เคยอยู่ใต้การ
ปกครองและยังไม่อาจฟื้นตัวทางเศรษฐกิจได้มากนัก แต่พัฒนาการทางเศรษฐกิจเพื่อแก้ปัญหาทางการเมืองได้
ปรากฏชัดเมื่อมีการประสานความร่วมมือจากหลายชาติ ภายใต้การนำ�ของฝรั่งเศสและเยอรมนีตะวันตก แม้ว่าทั้งสอง
เคยบาดหมางกันอย่างรุนแรงมาหลายครั้ง ประชาคมถ่านหินและเหล็กกล้าแห่งยุโรป (European Coal and Steal
Community: ECSC) เกิดขึ้นตามสนธิสัญญาปารีส (Paris Treaty, 1951) จากข้อเสนอของโรเบิร์ต ชูมานน์ (Robert
Schumann, 1886-1963) รัฐมนตรีต่างประเทศของฝรั่งเศสในสมัยนั้นที่ต้องการใช้ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ เป็น
โครงการนำ�ร่องเพื่อลดปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง ก่อนที่การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจนี้จะขยายตัวและพัฒนา
ไปเป็นประชาคมเศรษฐกิจยุโรป (European Economic Community: EEC) ตามสนธิสัญญากรุงโรม (Treaty
of Rome, 1957) ซึ่งบ้างก็รู้จักกันในนามของตลาดร่วมยุโรป (Common Market) การบูรณาการขยายขอบข่าย
มากขึ้นตามสนธิสัญญามาสทริสต์ (Treaty of Maastricht, 1993) และเปลี่ยนชื่อเป็นประชาคมยุโรป (European
Community) ท้ายที่สุดแล้วการรวมกลุ่มนี้ได้ขยายครอบคลุมมิติทางการเมือง การต่างประเทศและกฎหมายที่บังคับ
ใช้กับพลเมืองเป็นการทั่วไป ตามความในสนธิสัญญาลิสบอน (Treaty of Lisbon, 2007) ซึ่งมีผลบังคับใช้อย่างเป็น
ทางการเมื่อ ค.ศ. 2009 จึงเป็นผลให้การรวมกลุ่มนี้แปรสภาพไปเป็นสหภาพยุโรป (European Union: EU)170
พัฒนาการดังกล่าวข้างต้น มีส่วนอย่างสำ�คัญในการปูทางให้ยุโรปตะวันตกแก้ปัญหาทางการเมืองในภูมิภาค
ของตน และความสัมพันธ์กับอดีตประเทศอาณานิคมของตน โดยพึ่งพาสหรัฐอเมริกาน้อยลง อาทิ การที่วิลลี บรานด์
(Willy Brandt, 1913-1992) ผู้นำ�เยอรมนีตะวันตก เริ่มแสดงท่าทีเป็นมิตรกับสหภาพโซเวียต และพยายามกระชับ
มิตรผ่านความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจกับเยอรมนีตะวันออกภายใต้นโยบาย “Ostpolotik” รวมถึงให้ความช่วยเหลือ
โปแลนด์171 ไม่เพียงเท่านั้นใน ค.ศ. 1975 ซึ่งสหรัฐอเมริกาได้สูญเสียเมืองไซ่งอนต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นเมืองโฮจิมินต์
ในเวียดนามได้ให้แก่เวียดนามเหนือ ยุโรปได้สร้างความเปลี่ยนแปลงเชิงบวกให้เกิดขึ้นในทวีปของตนในช่วงเวลาที่
การเจรจาลดกำ�ลงั อาวธุ ระหวา่ งสหรฐั อเมรกิ ากบั สหภาพโซเวยี ตไมม่ คี วามคบื หนา้ ดว้ ยการจดั การประชมุ วา่ ดว้ ยความ
มั่นคงและความร่วมมือ (Conference on Security Cooperation in Europe: CSCE) ขึ้นที่กรุงเฮลซิงกิ หรือที่
บางครั้งเรียกขานกันว่า “กระบวนการเฮลซิงกิ” (Helsinki Process) เพื่อแสวงหาแนวทางในการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ
169 ขบวนการนี้เรียกร้องให้ยุติการเหยียดผิว ผ่านการทำ�อารยะขัดขืน (civil disobedience) โดยเสนอสุนทรพจน์ “ข้าพเจ้ามีความฝัน”
(I have a Dream) เรยี กรอ้ งความเทา่ เทยี มหนา้ อนสุ รณส์ ถานลนิ คอนรท์ ีม่ ผี ูส้ นบั สนนุ กวา่ 200,000 คน ศกึ ษาเพิม่ เตมิ ที่ Jonathan Hardt. (2008).
op, cit., pp. 266-267, http://en.wikipedia.org/wiki/Martin_Luther_King,_Jr., http://en.wikipedia.org/wiki/I_have_a_dream,
http://en.wikipedia.org/African-American_Civil_Rights_Movement_(1955-1968) accessed on 17 December 2553
170 E. J. Hobsbawm. (1994). op, cit., pp. 234-235, http://en.wikipedia.org/wiki/European_Union, http://en.wikipedia.
org/wiki/European_Economic_Community, http://en.wikipedia.org/wiki/European_Coal_and_Steal_Community, http://
en.wikipedia.org/wiki/Treaty_of_Lisbon accessed on 6 December 2010
171 บรานด์ เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพประจำ�ปี ค.ศ. 1971 ริเริ่มสร้างความตกลงที่เน้นถึงการยอมรับในเรื่องการไม่ใช้ความรุนแรง
ระหว่างกันกับโซเวียตและยุโรปตะวันออกมาตั้งแต่ ค.ศ. 1969 ศึกษาเพิ่มเติมที่ Jonathan Hardt. (2008). op, cit., p. 262, http://www.bbc.
co.uk/history/historic_figures/brandt_willy.shtml , http://nobleprize.org/nobel_prizes/peace/laurates/1971/press.html accessed
on 17 December 2553
ลิขสิทธิ์ของมหาวทิ ยาลยั สโุ ขทยั ธรรมาธิราช