Page 93 - สังคมโลก
P. 93

จักรวรรดินิยม 6-53

นามของกลุ่ม G-7 ใน ค.ศ. 1975178 ในปีเดียวกันนี้เอง EEC ในฐานะกลุ่มประเทศที่มีความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจได้
เป็นผู้ริเริ่มแสวงหานโยบายที่จะบรรเทาความอ่อนแอทางเศรษฐกิจของประเทศโลกที่สาม อนุสัญญาโลเม่ (the Lome
Convention) จึงเกิดขึ้นโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อช่วยเหลืออดีตประเทศอาณานิคมของตนในแอฟริกา แคริบเบียน และ
แปซิฟิก (Africa, Caribbean, and the Pacific: ACP) ให้สามารถพึ่งตนเอง และพัฒนาประเทศได้อย่างยั่งยืนและ
รอบด้าน179

       การมุ่งแก้ปัญหาภายในของชาติตะวันตก และความอ่อนแอโดยเปรียบเทียบของสหรัฐอเมริกาเป็นเหตุให้
หลายประเทศไม่เชื่อมั่นต่อท่าทีของฝ่ายเสรีนิยมตะวันตก สถานะของฝ่ายสังคมนิยมคอมมิวนิสต์จึงให้ภาพบวก
มากกว่า โดยเฉพาะเมื่อสหภาพโซเวียตเลือกสนับสนุนท่าทีดังกล่าวผ่านพันธมิตรที่แสดงถึงความแข็งแกร่ง และแสดง
ความห่วงใยต่อปัญหาดังกล่าวในภูมิภาคต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น เวียดนามในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อินเดียในเอเชียใต	้
กลุ่มอาหรับโดยเฉพาะอิรักในตะวันออกกลาง รวมถึงการสนับสนุนกลุ่มแอฟริกันผิวดำ�ในการต่อต้านชาวผิวขาว	
กลุ่มน้อยที่เป็นฝ่ายปกครอง180

       หลายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงรอยต่อจากทศวรรษ 1970-1980 ทำ�ให้สถานะและบทบาทของสหรัฐอเมริกา
ไดร้ บั การตัง้ ค�ำ ถามยิง่ ขึน้ วา่ จกั รวรรดอิ เมรกิ ายงั คงความยิง่ ใหญอ่ ยูห่ รอื ไม่ โดยเฉพาะในเรือ่ งทีผ่ กู โยงไปถงึ การปฏวิ ตั ิ
อิหร่าน (The Iranian Revolution or The Islamic Revolution, 1978-1979) ไม่ว่าจะเป็นการไร้ความสามารถใน
การเข้าช่วยเหลือตัวประกันในเตหะราน หรือสถานะทางเศรษฐกิจที่ยํ่าแย่ลงเพราะวิกฤตราคานํ้ามันรอบสองในช่วง	
ค.ศ. 1979-1980181 แรงกดดันจากภาวะเศรษฐกิจในครั้งนี้ส่งผลให้ตะวันตกเร่งปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ โดยมี
สหรัฐอเมริกาและอังกฤษเป็นแกนน�ำ  ด้วยการลดสวัสดิการและบทบาทของสหภาพแรงงาน โดยหันมาสนับสนุนภาค
เอกชนและหลกั การเสรีนยิ มมากยิ่งขึ้น182 อันเป็นที่มาของนโยบายเศรษฐกจิ ที่รู้จกั กันในนามของ Thatcherism หรือ

	 178	 ความชว่ ยเหลอื มลี กั ษณะครอบคลมุ อาทิ ผา่ นมาตรการสรา้ งเสถยี รภาพทางราคาสนิ คา้ เกษตรซึง่ เปน็ สนิ คา้ สง่ ออกหลกั ของกลุม่ ประเทศ
ACP ผ่านการทำ�ความตกลงในเรื่องการถ่ายโอนความช่วยเหลือทางการเงินและเทคโนโลยี ผ่านการสร้างความเข้าใจในเรื่องสิทธิด้านการลงทุน
ตลอดจนผ่านการสร้างกลไกเชิงสถาบันเพื่อตรวจสอบมาตรการการให้ความช่วยเหลือ ศึกษาเพิ่มเติมที่ E. J. Hobsbawm. (1994). op, cit., p.
259, ‘The G7 Summits: declassified records published for the first time’ at http://www.margaretthatcher.org/archiev/G7.asp
accessed on 18 December 2010 	
	 179	 Tony Smith. (1981). op, cit., p. 232, ‘The Lome Convention!: Has it changed anything within the ACP countries?’
at http://homepages.uel.ac.uk/mye0278s/ACP1.htm accessed on 18 December 2010	
	 180	 Tony Smith. (1981). op, cit., p. 223, E. J Hobsbawm. (1994). op, cit., pp. 260.	
	 181	วิกฤตการณ์ในครั้งนี้สืบเนื่องมาจากความไม่สงบภายในอิหร่าน การประท้วง และการก่อวินาศกรรมที่ดำ�เนินอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่
เกิดการปฏิวัติอิหร่าน (The Iranian Revolution or The Islamic Revolution 1978-1979) ที่เป็นผลให้เกิดการล้มล้างระบอบกษัตริย์ภายใต้
การสนับสนุนของสหรัฐอเมริกา จนนำ�ไปสู่การสถาปนารัฐอิสลามภายใต้ผู้นำ�ทางศาสนานามอยาโตลาห์ รูโอลลาห์ โคไมนี่ (Ayatollah Ruhollah
Komeini, 1902-1989) และความขัดแย้งทางการทูตกับอเมริกาครั้งใหญ่ในวิกฤตการณ์ตัวประกัน (the Iran Hostage Crisis 1979-1981) จาก
การที่กลุ่มติดอาวุธที่สนับสนุนการปฏิวัติอิหร่านบุกเข้ายึดสถานทูตอเมริกันในเตหะราน เพื่อตอบโต้การที่อเมริกาให้ที่หลี้ภัยแก่พระเจ้าชาห์ วิกฤต
ที่กินเวลายาวนานถึง 444 วัน นี้เป็นวิกฤตการณ์ที่แสดงความอ่อนแอของวอชิงตันให้ปรากฏแก่สายตาชาวโลก โดยเฉพาะเมื่อไม่อาจเข้าช่วยเหลือ
ตัวประกันออกมาจากสถานทูต ทั้งที่ลอบส่งหน่วยคอมนามโดเข้าปฏิบัติการภายใต้ชื่อแผนกรงเล็บพญาอินทรีย์ (Operation Eagle Claw, 1980)
ศึกษาเพิ่มเติมที่ James Phillips. (1979). ‘The Iranian Oil Crisis’ at http://www.heritage.org/researchreports/1979/02/the-iranian-
oil-crisis , published on February 28, 1979, http://en.wikipedia.org/wiki/Iranian_Revolution, ‘1979: Militants storm US embassy
in Tehran’ at http://news.bbc.co.uk/onthisday/hi/dates/storiesnovember/4/newsid3910000/3910627.htm, http://en.wikipedia.
org/wiki/Iran_hostage_crisis, accessed on 20 December 2010
	 182	 สถานการณ์ความไม่แน่นอนเหล่านี้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อเศรษฐกิจภายในของประเทศอุตสาหกรรม ซึ่งได้รับแรงกดดันจากหลาย
ฝ่ายโดยเฉพาะจากสถาบันต่างๆ ทางเศรษฐกิจและการเงิน ให้เร่งทบทวนนโยบายรัฐสวัสดิการและการปรับโครงสร้างค่าจ้างแรงงานตามการ	
เรียกร้องของสหภาพแรงงาน (corporatist system) ซึ่งได้รับการประเมินในช่วงเวลานั้นว่า เป็นโครงสร้างเพื่อการหลบภัยของอุตสาหกรรมที่
อ่อนแอทางเศรษฐกิจ ศึกษาเพิ่มเติมที่ E. J. Hobsbawm. (1994). op, cit., p. 397.	

                              ลิขสทิ ธ์ิของมหาวิทยาลยั สุโขทัยธรรมาธริ าช
   88   89   90   91   92   93   94   95   96   97   98