Page 90 - สังคมโลก
P. 90

6-50 สังคมโลก

ตอนท่ี 6.3
จักรวรรดนิ ยิ มในกระแสโลกาภวิ ัตน์

โปรดอ่านหัวเรื่อง แนวคิด และวัตถุประสงค์ของตอนที่ 6.3 แล้วจึงศึกษารายละเอียดต่อไป

  หัวเรือ่ ง

         6.3.1 	การเปลี่ยนแปลงจักรวรรดินิยมในกระแสโลกาภิวัตน์
         6.3.2 	จักรวรรดินิยมแบบไร้ศูนย์กลาง

  แนวคดิ

         1. 	ทศวรรษ 1960-1970 เป็นช่วงที่ความอ่อนแอของสหรัฐอเมริกาปรากฏ ขณะที่สหภาพโซเวียตดู
            มีความแข็งแกร่ง ยุโรปตะวันตกและญี่ปุ่นฟื้นตัวอย่างเต็มที่ทางเศรษฐกิจ บรรษัทข้ามชาติและ
            การทำ�ธุรกรรมนอกประเทศขยายตัวอย่างมาก ภาวะเช่นนี้กระตุ้นให้สหรัฐอเมริกาหันมาให้ความ
            สำ�คัญกับภาคเอกชน และกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งใหญ่ผ่านโครงการวิจัยที่เชื่อมโยงกับโครงการทาง
            ทหาร แม้ปัญหาภายในและแนวนโยบายต่างประเทศของสหรัฐอเมริกาจะเปลี่ยนจุดเน้นไปบ้าง	
            แต่นโยบายที่เน้นการประสานความร่วมมือระหว่างการทหารและเศรษฐกิจกลับมาอีกครั้ง หลัง
            เกิดเหตุวินาศกรรมในสหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 2001 โดยเฉพาะการรุกอิรักและ
            อัฟกานิสถาน อย่างไรก็ตาม สหรัฐอเมริกาได้รับเสียงสนับสนุนน้อยกว่าในอดีต จึงเกิดการตั้ง
            คำ�ถามขึ้นมา สถานะการครองความเป็นเจ้าของอเมริกาคงถึงคราวต้องเปลี่ยนแปลง

         2. 	ความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวข้างต้นส่งผลต่อความสัมพันธ์ทางสังคม รูปแบบการผลิต และการ
            ใช้ชีวิตประจำ�วันของปัจเจกบุคคล ซึ่งไมเคิล ฮาร์ดท์ (Michael Hardt) และอันโตนิโอ เนกรี
            (Antonio Negri) เสนอมุมมองว่า จักรวรรดิ (Empire) ได้เกิดขึ้นในรูปไร้ศูนย์กลางแห่งอำ�นาจที่
            ชัดเจน มีเพียงศูนย์ความสัมพันธ์ในลักษณะที่ยึดโยงกันด้วยโครงข่ายกลุ่มชุมชน ซึ่งมีพัฒนาการ
            ของเทคโนโลยีการสื่อสารช่วยให้เกิดสิ่งที่มีร่วมกัน (the common) เป็นแกนกลางผ่านการสร้าง
            ภาษาและสัญลักษณ์ที่ยอมรับและใช้ร่วมกัน พัฒนาการเช่นนี้แสดงแนวโน้มในการรวมกลุ่มต่อ
            รองของผู้เสียเปรียบอยู่ในโครงสร้างจักรวรรดินิยมแบบเดิม อย่างไรก็ตาม ทั้งสองไม่ปฏิเสธว่า
            จักรวรรดิแบบเช่นนี้ดำ�เนินควบคู่ไปกับการปรับเปลี่ยนของจักรวรรดินิยมแบบเดิม ที่เน้นในเรื่อง
            ของอ�ำ นาจการควบคุมและกดทับ นั่นย่อมหมายความว่า ความขัดแย้งและความรุนแรงยังคงด�ำ รง
            และอาจจะรุนแรงมากขึ้นเมื่อจักรวรรดิแบบใหม่ พยายามเข้าไปมีบทบาทในการกำ�หนดความเป็น
            ไปของตนเอง

                             ลิขสทิ ธ์ขิ องมหาวิทยาลยั สโุ ขทัยธรรมาธริ าช
   85   86   87   88   89   90   91   92   93   94   95