Page 95 - สังคมโลก
P. 95

จักรวรรดินิยม 6-55
และจีน เพื่อแสวงหาแหล่งลงทุน และสถานประกอบการที่สามารถสนองตอบต่อเรื่องการลงทุนที่ตํ่าลง ที่รู้จักกันใน
นามของการเปลี่ยนฐานการผลิต (relocation)187

       สำ�หรับสหรัฐอเมริกาและกลุ่มผู้สนับสนุนแนวคิดเสรีนิยม ปลายทศวรรษ 1980 ถือได้ว่าเป็นช่วงเวลาแห่ง
ชัยชนะในสงครามอุดมการณ์ สัญญาณการเปลี่ยนแปลงปรากฏช่วงกลางทศวรรษ เมื่อกอร์บาชอฟกับเรแกนเข้าสู่การ
เจรจาเพื่อปรับลดอาวุธนิวเคลียร์ที่เร็ย์คจาวิค (Reykjavik Summit, 1986) เมืองหลวงของไอซ์แลนด์ แม้การเจรจา
ไม่อาจบรรลุตามคาดหมาย เพราะสหรัฐอเมริกาไม่ยินยอมปรับโครงการสงครามอวกาศ อย่างไรก็ตาม การประชุมใน
ครั้งนี้ได้รับการยอมรับว่า เป็นการปรับท่าทีครั้งสำ�คัญเข้าหากันของผู้นำ�วอชิงตันและผู้นำ�มอสโคว์ในรอบ 40 ปี และ
นำ�ไปสู่การลงนามในสนธิสัญญาลดอาวุธนิวเคลียร์พิสัยกลางและพิสัยใกล้ (the Intermediate- and Short-Range
Nuclear Force Treaty, 1987) ซึ่งครอบคลุมอาวุธนิวเคลียร์ที่มีพิสัยทำ�การอยู่ระหว่าง 500-5,500 ไมล์ ได้ในปีถัด
มา188

       อีกสองปีให้หลังก็เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งสำ�คัญจากหลายเหตุการณ์ เริ่มด้วยการที่สหภาพโซเวียตถอน
ทหารออกจากอัฟกานิสถานในช่วงต้นฤดูใบไม้ผลิของ ค.ศ. 1989 เท่ากับเป็นการส่งสัญญาณว่าผู้นำ�มอสโคว์ต้องการ
ดำ�เนินการเปลี่ยนแปลงที่เป็นรูปธรรม และจะให้ความสนใจกับปัญหาภายในประเทศเป็นหลัก189 ช่วงฤดูร้อนของ
ปีนี้ได้เกิดการประท้วงเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยในปักกิ่ง เหตุการณ์นี้ไม่เพียงจบลงด้วยการที่เติ้งเสี่ยวผิง (Deng
Xiaoping, 1904-1997) เปลี่ยนตัวผู้นำ�จากจ้าวจื่อหยาง (Zhao Ziyang, 1919-2005) ไปเป็นเจียงเจ๋อหมิน (Jiang
Zemin, 1926-) แต่ยังจบลงด้วยบทเรียนถึงชีวิตของกลุ่มผู้เรียกร้องประชาธิปไตยในจีนที่จตุรัสเทียนอันเหมิน190

	 187 	ความพยายามนี้เกิดขึ้นเพราะไม่เพียงจะหวังลดความได้เปรียบทางการค้า การปรับโครงสร้างการลงทุนระยะยาวระหว่างกัน แต่ยัง
หวังแก้ปัญหาการขาดการค้า (และการขาดดุลงบประมาณมหาศาล โดยเฉพาะในกรณีของสหรัฐอเมริกา ซึ่งเกือบจะถึงร้อยละ 3.5 ของผลิตภัณฑ	์
มวลรวมของประเทศ (gross domestic product: GDP) ซึง่ มากกวา่ อตั ราการเตบิ โตทางเศรษฐกจิ ราวรอ้ ยละ 0.5) อยา่ งเรง่ ดว่ น ความตกลงพลาซา่
ทำ�ให้ค่าดอลลาร์สหรัฐอ่อนตัวลงร้อยละ 51 เมื่อเทียบกับค่าเงินเยน อย่างไรก็ตาม ค่าเงินดอลลาร์มีแนวโน้มอ่อนตัวลงอย่างต่อเนื่อง จนในที่สุด
สมาชิกกลุ่ม G7 ตัดสินใจเข้าแทรกอัตราแลกเปลี่ยนอีกครั้งด้วยการจัดท�ำ ความตกลงลูฟร์ อันเป็นความตกลงที่มุ่งเน้นในเรื่องการปรับนโยบาย
การเงินและการคลังโดยเฉพาะ ความตกลงทั้งสองฉบับส่งผลอย่างชัดเจนต่อเศรษฐกิจญี่ปุ่นและเอเชียในช่วงทศวรรษ 1990 ในรูปของเศรษฐกิจ
ฟองสบู่ (1986-1991) เศรษฐกิจญี่ปุ่นชะลอตัวและชะงักงันเป็นช่วงระยะเวลายาวหลังเกิดวิกฤตเศรษฐกิจนี้ ศึกษาเพิ่มเติมที่ ‘The Plaza Accord:
The World Intervenes in Currency Markets’ at http://www.investopedia.com/articles/forex/09/plaza-accord.asp ,   http://
en.wikipedia.org/wiki/Plaza_Accord, ‘Plaza Accord & Louvre Accord’ at http://cambridgeforcast.wordpress.com/2008/03/30/
plaza-accord-louvre-accord/ published on March 30, 2008, ‘The Louvre Accord: The Flight Against U.S Dollar Deflation’ at
http://www.investopedia.com/articles/forex/09/louvre-accrod.asp, ‘The Lost Decade: Japan’s Economic Crisis’ at http://
www.japan-101.com/history/history_lost_decade , http://en.wikipedia.org/wiki/Japanese_assest_price_bubble , accessed on
21 December 2010	
	 188	 E. J. Hobsbawm. (1994). op, cit., p. 248,   T Lees Shapiro. (2010). ‘Maynard W. ‘Mike’ Glitman, key negotia-
tor in US-Russia nuclear arms treaty, dies at 77’ at http://www.washingtonpost.com/wp-dyn/content/article/2010/12/15/
AP2010121506475.html, published on December 15, 2010,  ‘1986: Reykjavik summit ends in failure’ at http://news.bbc.co.uk/
onthisday/dates/stories/october/12/newsid_3732000/3732902.stm, ‘1986 Reykjavik Summit’ at  http://www.nuclearsecurity-
project.org/site/cdmjJXJbMMIoE/b.3534715k.35cc/Learn_More_1986_Reykjavik_Summit.htm, http://en.wikipedia.org/wiki/
Reykj%C3%AD_Summit accessed on 21 December 2010 	
	 189	 http://en.wikipedia.org/wiki/Soviet_war_on_Afganistan, ‘1989: Soviet troops pull out of Afghanistan’ at http://
news.bbc.co.uk/onthisday/hi/dates/stories/february/15/newsid_4160000/4160827.stm accessed on 21 December 2010
	 190	 อาจกล่าวได้ว่าการเปิดรับการลงทุนโดยตรง (foreign direct investment: FDI) จากต่างประเทศโดยเฉพาะตามเมืองท่าสำ�คัญทางฝั่ง
ตะวนั ออกและตอนใต้ ไดน้ �ำ มาซึง่ การเรยี กรอ้ งสทิ ธแิ ละเสรภี าพโดยมกี ลุม่ นกั ศกึ ษามหาวทิ ยาลยั ปกั กิง่ เปน็ แกนน�ำ  ศกึ ษาเพิม่ เตมิ ที่ สทิ ธพิ ล เครอื รฐั
ติกาล ดวงใจ เด่นเกศินีลํ้า สิทธิเทพ เอกสิทธิพงษ์ และวิศรา ไกรวัฒนพงศ์ (แปล) (2552) บันทึกลับจ้าวจื่อหยาง เบื้องหลังเหตุการณ์นองเลือด
เทียนอันเหมิน (Prisoner of the State) กรุงเทพมหานคร สำ�นักพิมพ์มติชน ศึกษาเพิ่มเติมที่ http://en.wikipedia.org/wiki/Deng_Xiaop-
ing, http://en.wikipedia.org/wiki/Zhao_Ziyang, http://en.wikipedia.org/wiki/Jiang_Zemin,  ‘1989: Massacre in Tiananmen
Square’ at  http://news.bbc.co.uk/onthisday/hi/dates/stories/june/4/newsid_2496000/2496277.stm accessed on 21 December
2010	

                              ลิขสทิ ธ์ิของมหาวทิ ยาลยั สโุ ขทยั ธรรมาธริ าช
   90   91   92   93   94   95   96   97   98   99   100