Page 92 - สังคมโลก
P. 92

6-52 สังคมโลก

เรอื่ งท่ี 6.3.1
การเปลยี่ นแปลงจกั รวรรดนิ ิยมในกระแสโลกาภวิ ตั น์

       แรงกดดนั จากทศวรรษ 1960 ท�ำ ใหเ้ กดิ การเปลีย่ นแปลงขึน้ หลายอยา่ ง ทัง้ การเรง่ ถอนทหารอเมรกิ นั ออกจาก
เวียดนาม การตัดสินใจประกาศหลักการนิกสัน หรือหลักการกวม (Nixon Doctrine or Guam Doctrine)174 ของ
ประธานาธิบดีริชาร์ด นิกสัน (Richard Nixon, 1913-1994) แห่งสหรัฐอเมริกาเมื่อ ค.ศ. 1969 อันเป็นการบ่งบอก
ถึงการลดบทบาททางการทหารของสหรัฐฯ ในเวทีโลก เพื่อปรับลดงบประมาณเพราะหวังจะแก้ปัญหาภาวะเศรษฐกิจ
ที่รุมเร้าอยู่ในขณะนั้น175 และลดผลกระทบจากความผันผวนของค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ จนวอชิงตันตัดสินใจถอน
ตัวออกจากระบบเบรตตันวู้ดส์176 สถานการณ์เลวร้ายลงเมื่อกลุ่มประเทศผู้ส่งออกนํ้ามัน (Oil Exporting Coun-
tries: OPEC) ตัดสินใจขึ้นราคานํ้ามันในช่วง ค.ศ. 1973-1974 ผลคือการขาดดุลการค้าและการขาดดุลงบประมาณ	
ปรากฏชัด ทำ�ให้ทั้งสหรัฐอเมริกาและอีกหลายประเทศต้องเผชิญทั้งภาวะเงินเฟ้อ และเศรษฐกิจฝืดเคือง
(stagnation)177

       ความผันผวนทางเศรษฐกิจที่ส่งผลกระทบต่อความเป็นไปทางการเมืองเผยความจริงว่า คงเป็นการยากที่
ประเทศใดประเทศหนึ่งจะบริหารจัดการเรื่องราวต่างๆ ได้ด้วยตนเอง ค.ศ. 1973 จึงเป็นปีแรกที่รัฐมนตรีคลังของ
สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส และเยอรมนีตะวันตก ปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิด ต่อมาได้ขยายไปรวมญี่ปุ่น
แคนาดาและอิตาลี ตลอดจนพัฒนาความสำ�คัญถึงขั้นเป็นที่ประชุมผู้นำ�ของชาติอุตสาหกรรม 7 ประเทศที่รู้จักกันใน	
	

	 174	 การประกาศหลักการนี้เป็นเสมือนการส่งสัญญาณให้แก่พันธมิตรตามหลักการความมั่นคงร่วมของสหรัฐอเมริกาว่า สหรัฐอเมริกา
จะไม่เข้าไปสนับสนุนทางการทหารโดยตรง แต่ยังจะให้ความช่วยเหลือผ่านมาตรการอื่นๆ ศึกษาเพิ่มเติมที่ http://en.wikipedia.org/wiki/
Nixon_Doctrine accessed on 18 December 2010	
	 175	 สถานภาพที่แปรเปลี่ยนเริ่มปรากฏชัดผ่านสถานการณ์ทางเศรษฐกิจในสังคมอเมริกา ที่มีแนวโน้มเข้าสู่ช่วงถดถอย ภาวะเศรษฐกิจของ
สหรัฐอเมริกาอยู่ในช่วงถดถอยอย่างมากเริ่มด้วยภาวะเงินเฟ้อใน ค.ศ. 1968 ตามมาด้วยดุลการค้าที่ลดตํ่าลงอย่างมาก และการที่ค่าเงินดอลลาร์
เป็นเป้าหมายแห่งการโจมตีของนักลงทุน เพราะค่าเงินไม่สอดคล้องต่อความเป็นจริง สถานการณ์ยํ่าแย่ลงเมื่อสหรัฐอเมริกาต้องเผชิญกับปัญหา
การขาดดุลการค้า กอปรกับความสามารถทางการแข่งขันที่ถดถอยเพราะมีคู่แข่งเพิ่มมากขึ้นไม่ว่าจะเป็นยุโรปตะวันตก หรือญี่ปุ่นที่ฟื้นตัวอย่าง
ชัดเจน ศึกษาเพิ่มเติมที่ Tony Smith (1981) op, cit., p. 206, http://en.wikipedia.org/wiki/Nixon_Shock accessed on 18 December
2010 	
	 176	 หลายประเทศเห็นความไม่แน่นอนของค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ จึงเรียกร้องให้สหรัฐอเมริกาแปลงดอลลาร์เป็นทองคำ�เพื่อจ่ายคืนการ
ลงทุนในพันธบัตรของพวกตน ค่าเงินดอลลาร์อ่อนลงมากเมื่อเทียบกับค่าเงินสกุลอื่นๆ ในยุโรปตะวันตก ในที่สุดนิกสันต้องประกาศถอนตัว	
จากระบบเบรตตันวู้ดส์นั่นเท่ากับเป็นการประกาศว่า ธนาคารกลางสหรัฐสามารถผลิตเงินดอลลาร์เข้าสู่ตลาดได้โดยไม่ต้องมีทองคำ�เป็นเครื่อง	
คํ้าประกันมูลค่าการผลิต แต่ยังเป็นสัญญาณบ่งบอกว่า คงเป็นการไม่ง่ายอีกต่อไปแล้วที่รัฐบาลของประเทศอุตสาหกรรมจะเข้ามาควบคุมนโยบาย
การเงินอย่างเข้มงวด ศึกษาเพิ่มเติมที่ ‘The Almighty US Dollar’ at http://www.capital-flow-analysis.com/investment-tutorial/les-
son_19.html accessed on 18 December 2010	
	 177	 OPEC ถือครองส่วนแบ่งปริมาณการผลิตนํ้ามันดิบในโลกราวร้อยละ 7 (มีมูลค่าการส่งออกราว 29.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐใน
ช่วงเวลานั้น) ตัดสินใจขึ้นราคาส่งมอบนํ้ามันดิบร้อยละ 70 เพื่อตอบโต้การที่สหรัฐอเมริกาให้การสนับสนุนยุทโธปกรณ์แก่อิสราเอลในสงคราม	
ยมคิปปุดังที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น หลังจากช่วงเวลานี้ราคานํ้ามันค่อยปรับตัวสูงขึ้นมา และกลุ่มโอเปคก็ปรับเพิ่มปริมาณการผลิตเช่นกัน โดยก่อน
เกิดวิกฤตการณ์ราคานํ้ามันครั้งที่ 2 ในช่วง ค.ศ. 1979-1980 นั้นกลุ่มโอเปคถือครองส่วนแบ่งการผลิตในตลาดโลกอยู่ที่ระดับร้อยละ 14 คิดเป็น
มูลค่าการส่งออกประมาณ 207 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ศึกษาเพิ่มเติมที่  David P Calleo. (2009). op, cit., p. 95, http://en.wikipedia.org/
wiki/1973_oil_crisis , http://en.wikipedia.org/wikiw/Economic_History_of_the_United_States#Inflation_woes:1970s accessed
on 18 December 2010 	

                             ลขิ สิทธิ์ของมหาวทิ ยาลัยสโุ ขทยั ธรรมาธริ าช
   87   88   89   90   91   92   93   94   95   96   97