Page 94 - สังคมโลก
P. 94

6-54 สังคมโลก

Reaganomics ที่เน้นความสำ�คัญการดำ�เนินการตามกลไกตลาด และความสำ�คัญของภาคเอกชนจนทำ�ให้เกิดการ
แปรรูปรัฐวิสาหกิจ (privatisation) มากมาย183 (ศึกษาการเชื่อมโยงกับกระแสโลกาภิวัตน์ได้ที่หน่วย 9)

       กลุ่มเสรีนิยมตะวันตก เช่น สหรัฐอเมริกาภายใต้การนำ�ของโรนัลด์ เรแกน (Ronald Reagan, 1911-2004)
และอังกฤษภายใต้การนำ�ของมาร์กาเร็ต แธตเชอร์ (Margaret Thatcher, 1925-) ในช่วงทศวรรษ 1980 ได้ดำ�เนิน
นโยบายไปในทิศทางที่คล้ายคลึงกันคือ การใช้มาตรการที่แข็งกร้าวในการดำ�เนินนโยบายต่างประเทศเพื่อสร้างความ
รู้สึกเชื่อมั่นให้กับผู้คนในประเทศ และกระตุ้นการใช้จ่ายภาครัฐผ่านการทำ�สงคราม เช่น กรณีสงครามฟอล์คแลนด์
(Falkland War, 1982) ระหว่างอังกฤษกับอาร์เจนตินา และสงครามสงครามหลากหลายครั้งของสหรัฐอเมริกา184 ที่
ได้กลายเป็นเครื่องมือสำ�คัญในการลบล้างความรู้สึกถูกหมิ่นหยามเกียรติภูมิในฐานะมหาอำ�นาจ จากกรณีอิหร่านดัง
ที่กล่าวไว้แล้ว กล่าวได้ว่าในสมัยประธานาธิบดีเรแกนนั้นงบประมาณด้านการทหารของวอชิงตันเพิ่มขึ้นร้อยละ 43 สูง
เสียยิ่งกว่างบประมาณที่อเมริกาใช้ในสงครามเวียดนาม ทำ�ให้สถานการขาดดุลงบประมาณยิ่งสาหัส สหรัฐอเมริกันยัง
เร่งพัฒนาเทคโนโลยีทางการทหาร เพื่อป้องกันสงครามอวกาศที่อาจจะเกิดจากการขยายขีดความสามารถของระบบ
นำ�ร่องขีปนาวุธติดหัวรบนิวเคลียร์ ที่เรียกกันว่า โครงการริเริ่มป้องกันทางยุทธศาสตร์ (Strategic Defence Initia-
tive: SDI) หรือโครงการสงครามอวกาศ (Star War) ซึ่งมีส่วนอย่างสำ�คัญในการพัฒนาเทคโนโลยีทางการสื่อสาร
อย่างก้าวกระโดด จนนำ�ไปสู่การพัฒนาโครงข่ายการสื่อสารแบบอินเทอร์เน็ต (the Internet)185

       ในชว่ งทศวรรษ 1980 ความเปลยี่ นแปลงเรมิ่ ปรากฏอยา่ งชดั เจนเมอื่ มกิ คาเอล กอรบ์ าชอฟ (Mikhail Gorbach-
ev, 1931-) ไดก้ า้ วขึน้ เปน็ ผูน้ �ำ สงู สดุ ของโซเวยี ตเมือ่ ค.ศ. 1985 พรอ้ มกบั การยอมรบั ความจรงิ วา่ สงั คมโซเวยี ตถดถอย
มากจนเปน็ ทีม่ าของนโยบายเปเรสตรอยกา้ (Perestroika or Restructuring) ทีม่ ุง่ เนน้ การปรบั โครงสรา้ งทางเศรษฐกจิ
และการเมือง และนโยบายกลาสนอสต์ (Glasnost or Openness) ที่มั่งเน้นการให้เสรีภาพทางด้านข้อมูลข่าวสาร186
ราวกลางทศวรรษ ค่อนข้างเป็นที่ปรากฏชัดว่า แม้เศรษฐกิจเยอรมนีตะวันตกจะแข็งแกร่ง แต่เศรษฐกิจของตะวัน
ตกโดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาก็ยังไม่มีทีท่าว่าจะฟื้นตัวเต็มที่ เศรษฐกิจจีนขยายตัวอย่างก้าวกระโดด ขณะที่เศรษฐกิจ
ญี่ปุ่นแข็งแกร่งเพราะเกินดุลการค้ากับคู่ค้าเกือบทั้งหมด ช่วงเวลาเช่นนี้เองชาติตะวันตกในกลุ่ม G5 (สหรัฐอเมริกา	
อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมนีตะวันตก และญี่ปุ่น) โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาต้องการหยุดความร้อนแรงทางเศรษฐกิจของ
เอเชยี โดยเฉพาะญี่ปุน่ ดว้ ยการบังคับปรบั ขึน้ คา่ เงนิ เยน ผ่านการจัดทำ�ความตกลงพลาซ่า (the Plaza Accord, 1985)
และความตกลงลูฟว์ (the Louvre Accord, 1987) ความตกลงทั้งสองฉบับส่งผลให้ทุนมหาศาลจากญี่ปุ่นหลั่งไหลไป
ยงั ภมู ภิ าคตา่ งๆ โดยเฉพาะเอเชยี ตะวนั ออกเฉยี งใต้ (รวมถงึ ไทยโดยเฉพาะนบั ตัง้ แตร่ ฐั บาลพลเอกเปรม ตณิ สลู านนท)์ 	

	 183 	ศกึ ษาการเปลีย่ นแนวคดิ และหลกั การอยา่ งยอ่ ของนโยบายเศรษฐกจิ ดงั กลา่ วไดท้ ี่ วรารกั เฉลมิ พนั ธศุ กั ดิ์ (2553) “ความคดิ : คณุ สมบตั ิ
สำ�คัญของการเป็นตัวแสดงที่มีความกระตือรือร้น” รัฐศาสตร์สาร (รัฐศาสตร์ธรรมศาสตร์ 60 ปี/รัฐศาสตร์สาร 30 ปี ฉบับที่ 2) หน้า 138-188	
	 184	 สหรฐั อเมรกิ าไมเ่ พยี งจะแสดงแสนยานภุ าพดว้ ยการเขา้ แทรกในกรณคี วามขดั แยง้ ทีล่ กุ ลาม เปน็ สงครามกลางเมอื งทีเ่ กรนาดา (Grena-
da) ใน ค.ศ. 1983 กรณกี ารโจมทางอากาศตอ่ ลเิ บยี (Libya) อยา่ งรนุ แรงใน ค.ศ. 1986 ดว้ ยขอ้ กลา่ วหาทวี่ า่ มฮู มั มา อลั กดั ดาฟี (Muammar al-Gad-
dafi 1942-) ผู้นำ�ลิเบียในขณะนั้นใหก้ ารสนับสนนุ กลุ่มก่อการร้ายซึง่ วางระเบิดสนามบินที่โรมและเวียนนาใน ค.ศ. 1985 ส่งผลให้มีชาวอเมริกนั เสีย
ชีวติ หลายคน และกรณีความขดั แยง้ ในปานามาเมื่อ ค.ศ. 1989 ที่อเมริกาในสมัยจอรจ์ เอช ดับเบิลยู บุช (George Herbert Walker Bush, 1924-)	
ผู้ดำ�รงตำ�แหน่งประธานาธิบดีต่อจากโรนัลด์ เรแกน ตัดสินในส่งกองกำ�ลังเข้าแทรกเพื่อให้ความขัดแย้งในปานามายุติเพื่อหวังสร้างเสถียรภาพให้
กับการคมนาคมขนส่งผ่านคลองปานามา ศึกษาเพิ่มเติมที่ E. J. Hobsbawm. (1994). op, cit., p. 248, ‘Roland Reagan’s military build-
up’ at http://www.us-history.com/pages/h1957.htm , http://en.wikipedia.org/wiki/Invasion_of_Grenada , ‘1983: US troops
invade Granada’ at http://news.bbc.co.uk/onthisday/hi/dates/stories/october/25/newsid_3207000/3207409.htm , http://www.
history.com/this-day-in-history/us-bombs-libya , http://en.wikipedia.org/wiki/United_States_Invasion_of_panama accessed
on 20 December 2010
	 185	 http://en.wikipedia.org/wiki/Strategic_Defence_Initiative accessed on 20 December 2010	
	 186	 ‘1985: Perestroika and Glasnost’ at http://www.soviethistory.org/index.php?page=subject&SubjectID=1985peres
troika&Year=1985 accessed on 20 December 2010

                             ลิขสทิ ธ์ขิ องมหาวิทยาลัยสโุ ขทัยธรรมาธริ าช
   89   90   91   92   93   94   95   96   97   98   99