Page 98 - สังคมโลก
P. 98
6-58 สังคมโลก
เร่ืองท่ี 6.3.2
จกั รวรรดนิ ิยมแบบไรศ้ ูนย์กลาง
หลังจากที่ได้มีการนำ�เสนอเนื้อหาเกี่ยวกับพัฒนาการ และความเปลี่ยนแปลงของจักรวรรดินิยมตะวันตก
นับตั้งแต่ช่วงศตวรรษที่ 16 เป็นต้นมา ในตอนสุดท้ายนี้ผู้เขียนจะนำ�เสนออีกแนวทางหนึ่งในการศึกษาความเป็นไป
ของจักรวรรดินิยม ในยุคสมัยที่ความเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจ สังคมและเทคโนโลยีที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตประจ�ำ
วันของเราเป็นไปอย่างรวดเร็ว โดยจะอาศัยแนวคิดของฮาร์ดท์และเนกรีเป็นพื้นฐาน เพราะแนวคิดของทั้งสองให้ทั้ง
ภาพที่แสนคุ้นชิน (การมีโครงสร้างอำ�นาจเด่นนำ�ที่อยากจะเปลี่ยนแปลงในสังคม) และภาพที่ต่างออกไปเนื่องจาก
การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีโดยเฉพาะทางด้านอุตสาหกรรม และการสื่อสารสารสนเทศ ตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1970
เป็นต้นมา199 ฮาร์ดท์และเนกรีมองภาพว่า จักรวรรดิในยุคปัจจุบันมิได้มีตัวตนที่จับต้องและระบุตำ�แหน่งแห่งที่ได้
อย่างชัดเจนเหมือนเช่นที่ได้นำ�เสนอข้างต้น หากแต่จักรวรรดิในที่นี้หมายถึง ตรรกะแห่งการปกครองในรูปโครงข่าย
ของการควบคุม ที่เราจำ�เป็นต้องทำ�ความเข้าใจ เพราะตรรกะเช่นนี้มีลักษณะที่ขยายกว้าง ครอบคลุมปริมณฑลหลาก
มิติ ตรรกะเช่นนี้เองคือ ทิศทางในการกำ�หนดกระบวนทัศน์ หรือโครงสร้างความสัมพันธ์ของความคิดเกี่ยวกับอำ�นาจ
แบบใหม่ (the new paradigm of power)200
ทั้งสองเลือกที่จะไม่ใช่คำ�ว่า “จักรวรรดินิยม” (Imperialism) วาดภาพสังคมที่ดำ�เนินอยู่รอบตัวเรา เพราะ
มองว่าเป็นคำ�ที่มีความหมายถึง การขยายดินแดนเลยขอบเขตรัฐอธิปไตยแต่ดั้งเดิมของชาติตะวันตกดังที่ได้กล่าวไว้
แล้ว แต่จักรวรรดิ (Empire) ให้ภาพความเปลี่ยนแปลงทั้งในระดับรัฐ ตํ่ากว่ารัฐ และเหนือรัฐ กล่าวได้ว่าแนวคิดนี้
เสนอภาพทีค่ รอบคลมุ ปรมิ ณฑลทางอารยธรรมและระเบยี บทางสงั คมในทกุ รูปแบบ แม้จะยอมรบั การจัดระเบยี บตาม
ลำ�ดับขั้นที่มีความยืดหยุ่น แต่ทั้งสองก็เห็นว่า ระเบียบสังคม ช่วยทำ�ให้สภาพความสัมพันธ์ในสังคมที่เป็นมาแต่เดิม
ยงั คงดำ�เนนิ อยูต่ อ่ ไป การแลกเปลีย่ นตำ�แหนง่ แหง่ ทีท่ างสงั คมมลี กั ษณะพหนุ ยิ มมากขึน้ ท�ำ ใหอ้ ตั ลกั ษณข์ องผูค้ นเปน็
ไปแบบผสมผสานไม่ชัดเจนในด้านใดด้านหนึ่ง (hybrid identities) ทั้งสองจึงเสนอภาพว่า เป็นไปไม่ได้เลยที่จะเกิด
สันติภาพขึ้นใน Empire โดยปราศจากการเอาเลือดเนื้อเข้าแลก201 นั่นก็คือ การใช้กำ�ลังความรุนแรงเกิดขึ้นได้เสมอ
แม้จะมุ่งวัตถุประสงค์เพื่อการสร้างสันติภาพท่ามกลางความแตกต่างหลากหลาย
สิ่งที่เป็นดังแก่นกลางและหน่ออ่อนของการเคลื่อนไหวภายใน Empire ก็คือ “การผลิตทางชีวการเมือง”
(biopolitical production) ที่ไม่แบ่งแยกมิติทางการเมือง เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม และยังมีลักษณะที่เหลื่อมซ้อน
การเข้าลงทุนข้ามมิติกันไปมาเป็นตัวกำ�หนดรูปแบบชีวิต (forms of life) จากกิจกรรมภายในการผลิต ไม่ว่าจะปรากฏ
199 ระบบรวมศูนยเ์ ชน่ นี้ ไดร้ บั การพฒั นาและขยายฐานอยา่ งต่อเนือ่ งนับตัง้ แตช่ ่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เปน็ ต้นมา ระบบสายพานการผลติ
และการประกอบชิ้นส่วน (assembly line and mass manufacturing regime) เข้ามาใช้กำ�หนดตำ�แหน่งแห่งที่ในการจัดระเบียบการผลิต รวม
ไปถึงการใช้ระบบการผลิตแบบทันท่วงที (Taylorism) และการก้าวกระโดดครั้งสำ�คัญกับการกำ�หนดวงจรทางสังคมของการผลิตซํ้า (Fordism)
แต่เทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ได้รับการพัฒนานับตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1970 ทำ�ให้ประสิทธิภาพการควบคุมการผลิตและสังคมที่ดำ�เนินการผ่านระบบดัง
กล่าวไม่ก่อประสิทธิผลอีกต่อไป เพราะในสังคมหลังสมัยใหม่ (post modern society) ยุคที่การบริหารความเป็นไปในสังคมมีลักษณะที่ไม่หยุด
นิ่ง (mobile) มีความยืดหยุ่น (flexible) และมีความสามารถในการจัดการกับความแตกต่างหลากหลาย อันเป็นลักษณะที่ทำ�ให้สังคมทุนนิยม
อุตสาหกรรมหลุดพ้นจากการครอบง�ำ ของการผลิตแบบสายพาน (Fordism) ที่จัดสรรให้แรงงานมีระเบียบอยู่ในที่ทางของโครงข่ายการรวมศูนย์
ทางการผลิต ศึกษาเพิ่มเติมที่ Michael Hardt and Antonio Negri (2000), ibid., pp. 267-268
200 Michael Hardt and Antonio Negri. (2000). ibid., pp. 25, 155.
201 Michael Hardt and Antonio Negri. (2000). ibid., pp. Preface, chapter 1.2.
ลขิ สทิ ธิข์ องมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธริ าช