Page 100 - สังคมโลก
P. 100
6-60 สังคมโลก
กับกองกำ�ลังภายนอก-ขยายความโดยผู้เขียน) กลับมีน้อยลง แต่การกำ�กับตรวจตราระเบียบต่างๆ (pollicising ac-
tions) กลับมีมากขึ้นทุกขณะ206
อย่างไรก็ตาม ฮาร์ดท์และเนกรีตั้งข้อสังเกตว่า การสร้างลัทธิชาตินิยม (โดยเฉพาะแบบสุดขั้วเช่นที่เกิดขึ้น
ในเยอรมนีและอิตาลี) ขึ้นต่อกรกับลัทธิทุนนิยม กลับยิ่งทำ�ให้สถานการณ์เลวร้ายลง เพราะทำ�ให้เกิดลัทธิเผด็จการ
เบ็ดเสร็จ (totalitarianism) ที่ครอบงำ�รูปแบบชีวิตในทุกมิติ มีการกีดกันผู้อื่นหรือความเป็นอื่น (โดยเฉพาะที่ไม่ใช่
ชาวยุโรป หรือกลุ่มชนที่เป็นกำ�ลังสำ�คัญในการสร้างชาติตามนิยามของผู้ถือครองอำ�นาจรัฐ) ออกจากกระบวนการ
ดังกล่าว เหมือนเช่นที่เสกสรรค์ ประเสริฐกุลตั้งข้อสงสัยต่อความคับแคบของการนิยามความเป็นชาติ ที่ทำ�ให้เกิด
ปัญหาหลากมิติขึ้นในสังคมไทย207 ซึ่งยังไม่มีทีท่าว่าจะปรากฏทางออกแห่งการแก้ปัญหาที่ชัดเจนเมื่อใด
แม้กระบวนการดังกล่าวข้างต้น จะดำ�เนินคู่ไปกับการปลดแอกตนเองของอดีตรัฐอาณานิคม แต่รัฐเหล่านี้
ยังไม่สามารถปลดแอกตนเอง จากการตกเป็นเบี้ยล่างระเบียบเศรษฐกิจระหว่างประเทศ เพื่อปลดแอกจากเรื่องนี้รัฐ
จำ�นวนหนึ่งได้หันไปหาแนวคิดพื้นฐานที่มีอยู่ในสังคมของตน ซึ่งมักปรากฏในรูปของลัทธิความเชื่อทางศาสนา (reli-
gious fundamentalism) การปฏิวัติอิหร่านเมื่อ ค.ศ. 1979 จึงถือได้ว่าเป็นการปฏิวัติครั้งแรกที่ปฏิเสธการเป็นส่วน
หนึ่งของตลาดโลกอย่างแท้จริง
อย่างไรก็ตาม กลุ่มคนที่ถูกกีดกันออกจากกระบวนการต่างๆ ดังที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้นก็ยังมีอยู่ นั่นก็
คือ “กลุ่มคนจน” (the poor) ซึ่งมักถูกมองในแง่ร้ายว่า เป็นพวกที่ก่ออันตรายต่อสังคม ด้วยทัศนะที่ว่าคนกลุ่มนี้
เป็นเสมือนกาฝากทางสังคมที่ไม่ก่อโภคผลใด เช่น พวกหัวขโมย โสเภณี และพวกติดยาเสพติด และยังก่ออันตราย
ทางการเมือง เนื่องด้วยถูกจัดให้เป็นกลุ่มคนที่ไร้ระเบียบ ยากต่อการจัดการ และยังมีแนวโน้มสูงในการเป็นพวก
ปฏิกริยาที่เปลี่ยนจุดยืนเพื่อผลประโยชน์ของตนอย่างง่ายดาย ที่ผ่านมา (โดยเฉพาะในสังคมตะวันตก) เคยมีการ
ใช้คำ�ว่า “กรรมาชีพโง่เง่า” (lumpenproletariat) เพื่อเรียกขานคนกลุ่มนี้ แม้แต่นักคิดในสายมาร์กซ์ก็ยังมองคน
กลุ่มนี้ด้วยความเคลือบแคลงว่าคนกลุ่มนี้คือกองหนุนสำ�หรับอุตสาหกรรม (industrial reserve army) ซึ่งเป็นภัย
คุกคามต่อชนชั้นแรงงาน ด้วยเหตุผลว่า 1) ความทุกข์ยากของคนเหล่านี้เป็นตัวอย่างอันน่าพรั่นพรึงสำ�หรับแรงงาน
อุตสาหกรรมว่า พวกตนอาจจะต้องตกอยู่ในสภาพเดียวกันนี้ (หากไม่ดำ�รงตนแบบว่านอนสอนง่าย-ขยายความโดยผู้
เขียน) และ 2) กองหนุนในลักษณะเช่นนี้ ทำ�ให้เกิดการตัดโอกาสที่ชนชั้นแรงงานจะทำ�การต่อรองอย่างมีประสิทธิภาพ
ในการขอขึ้นค่าแรงกับฝ่ายนายจ้าง208
ฮาร์ดท์และเนกรี มองคนกลุ่มนี้ด้วยทัศนะที่ต่างออก แม้จะเป็นกลุ่มคนที่ดูไร้หนทาง ถูกกีดกัน ถูกเอารัดเอา
เปรียบกดขี่ข่มเหง แต่คนกลุ่มนี้ก็ยังสามารถดำ�เนินชีวิตรอดได้อย่างมีสีสัน ถือได้ว่าเป็นกลุ่มคนที่มีคุณลักษณะข้าม
ผ่านกาล (transcendental) นั่นก็คือ ไม่ว่าในยุคสมัยใดก็มีคนยากจนเป็นองค์ประกอบหลักของสังคม คนกลุ่มนี้มี
ลกั ษณะทีเ่ ปดิ กวา้ งมกี ารยอมรบั ในเรือ่ งของความแตกตา่ งหลากหลาย และมกี ารเคลือ่ นไหวสงู รวมถงึ มสี ว่ นอยา่ งมาก
ในกระบวนการผลิตต่างๆ ทีด่ �ำ เนินอยู่ในสงั คม การด�ำ รงอยู่ การขยายตัว และการเคลื่อนไหวไปมาของชมุ ชนแออัดใน
เมอื งใหญท่ ี่หลากหลายอยา่ งมมุ ไบ เปน็ ตวั อยา่ งที่นา่ สนในในเรือ่ งดงั กล่าว209 สำ�หรบั ทัง้ สองแลว้ กลุ่มคนจนเหลา่ นีค้ ือ
206 Antonio Negri. (2008). Reflections on Empire (translated by Ed Emery) Cambridge: Polity Press, pp. 132-133.
207 เสกสรรค์ ประเสริฐกุล (2552) “พัฒนาการของรัฐชาติ กับความขัดแย้งภายในของชาวสยาม” วิภาษา 3:4(5-16) วันที่ 1 สิงหาคม – 15
กันนยายน 2552
208 Michael Hardt and Antonio Negri. (2005). Ibid., p. 130.
209 ผู้ที่สนใจภาพการเคลื่อนไหว และสีสีนของคนยากจน ที่แข็งแกร่งและเสรี (อย่างน้อยในเชิงจิตวิญญาณ) อาจศึกษาแบบมีอรรถรส
ได้จากนวนิยายกึ่งอัตชีวประวัติของชาวออสเตรเลียที่ใช้ชีวิตอยู่ที่ชุมชนแออัดในมุมไบมาหลายปี เกรเกอร์รี่ เดวิด โรเบิร์ต (2550) ศานตาราม
กรุงเทพมหานคร สำ�นักพิมพ์สันสกฤต (วิภาดา กิตติโกวิท แปล)
ลิขสทิ ธิ์ของมหาวิทยาลยั สโุ ขทัยธรรมาธิราช