Page 102 - สังคมโลก
P. 102

6-62 สังคมโลก

กลุ่มนี้เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการผลิตที่เปลี่ยนแปลงไปตามเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 2) แรงงานส่วน
หนึ่งทำ�งานเกี่ยวกับสัญลักษณ์และการวิเคราะห์ ที่แตกแขนงออกเป็นสองส่วน ส่วนแรกทำ�งานเกี่ยวกับการกำ�กับ
ควบคุมสร้างสรรค์สัญลักษณ์ต่างๆ ส่วนที่สองทำ�งานในลักษณะดูแลให้สัญลักษณ์ที่สร้างมานั้นดำ�เนินไปตามวิถีทาง
ที่ได้กำ�หนดไว้ 3) ส่วนสุดท้ายเป็นกลุ่มแรงงานที่ด�ำ เนินการกำ�กับควบคุมดูแลในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์ความรู้สึก	
ซึ่งเป็นส่วนที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการติดต่อผู้คนกลุ่มอื่น215

       ต่อมาแนวคิดนี้ได้รับการพัฒนาไปโดยเน้นว่า แรงงานกลุ่มนี้คือกลุ่มแรงงานที่ผลิตสินค้าเกี่ยวกับความรู้
ข้อมูลสารสนเทศ การติดต่อสื่อสาร และสินค้าที่สนองตอบต่ออารมณ์ความรู้สึกและความสัมพันธ์ของมนุษย์ แรงงาน
ในลักษณะนี้ดำ�เนินการในสองรูปแบบใหญ่ 1) กลุ่มแรงงานที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางปัญญาและภาษา ซึ่งดำ�เนินงาน
เกี่ยวกับการวิเคราะห์และการแก้ปัญหาที่เกี่ยวกับสัญลักษณ์และการแสดงออกทางภาษา แรงงานกลุ่มนี้จะเป็นผู้ผลิต
แนวคิด สัญลักษณ์ รหัส ตัวบท รูปลักษณ์ทางภาษา ภาพลักษณ์สินค้าอื่นๆในทำ�นองเดียวกัน 2) แรงงานที่เน้นการ
สร้างความชื่นชอบ (affective labour) โดยที่ความชื่นชอบนี้ส่งผลกระทบต่อทั้งกายและใจ แรงงานในส่วนนี้จึงเป็น
แรงงานที่ผลิตหรือกำ�กับความรู้สึก เช่น ความรู้สึกผ่อนคลาย (feeling of ease) ความรู้สึกมั่งมีศรีสุข (well-being)
ความพึงพอใจ ความตื่นเต้น หรือความปรารถนา

       ผลผลิตที่เกิดจากแรงงานเหล่านี้ มักปรากฏทั้งสองลักษณะผสานกัน เช่น การสร้างสรรค์การสื่อสาร ซึ่งมิใช่
เพียงดำ�เนินการทางปัญญาในเชิงใช้ภาษา แต่ต้องมีองค์ประกอบในเรื่องความชื่นชอบ และความสัมพันธ์ของกลุ่มชน
ที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารนั้น รูปธรรมของการนี้คือ การสื่อสารมวลชน ซึ่งไม่เพียงแต่จะรายงานข่าวสาร แต่ยังต้อง
ทำ�ให้ที่น่าสนใจและตื่นเต้น นั่นคือ สื่อมวลชนได้สร้างความชื่นชอบและรูปแบบชีวิตขึ้นมา ด้วยลักษณะดังที่กล่าว
แรงงานกลุ่มนี้จึงสามารถวางโครงข่ายการครองความเป็นเจ้ารูปแบบใหม่ที่เน้นการเปลี่ยนแปลงเชิงคุณภาพ ในฐานะที่
เป็นแรงงานทางชีวการเมือง (biopolitical labour) ซึ่งไม่เพียงแต่จะผลิตสินค้าที่จับต้องได้ แต่ยังผลิตความสัมพันธ์
และชีวิตทางสังคม (social life) ขึ้นมาด้วย216

       การทำ�งานของแรงงานที่ไม่เกี่ยวข้องกับวัตถุนี้ มิใช่เป็นไปในระบบแบบสั่งการครอบงำ�จากภายนอก แต่เกิด
จากการร่วมมือในกิจกรรมการดำ�เนินงานต่างๆ การทำ�งานในลักษณะเช่นนี้ทำ�ให้เราอยู่ในโลกของการผลิตที่ก่อร่าง
จากโครงข่ายทางสังคมและการสื่อสาร ที่มีการดำ�เนินการแบบมีปฏิสัมพันธ์และมีภาษาร่วมกัน สิ่งที่เรามีร่วมกัน (the
common) ผ่านกระบวนการเช่นนี้คือ สิ่งที่ช่วยทำ�ให้ความสำ�คัญของโครงข่ายกลุ่มชุมชนปรากฏ ในฐานะกลไกใน
การปลดแอกจักรวรรดินิยม217 จุดเด่นของกระบวนการเช่นนี้ก็คือ การใช้ภาษาร่วมกัน ผ่านกระบวนการที่มีลักษณะ
ผสมผสาน (movements of hybridisation) สิง่ ที่มสี ่วนช่วยเชื่อมโยงโครงขา่ ยเหล่านีเ้ ขา้ ดว้ ยกนั ก็คือ สิง่ ที่ยึดถือรว่ ม
กันท่ามกลางความเป็นหนึ่งของแต่ละหน่วยที่มีอยู่อย่างหลากหลาย มิใช่เรื่องของอัตลักษณ์ หรือความเป็นหนึ่งเดียว

       ฮาร์ดท์และเนกรีเน้นว่า สิ่งที่มีร่วมกันมีพื้นฐานมาจากความคิดในเรื่องเศรษฐกิจภายนอก ซึ่งก็คือ การ
ผลิตของระบบเศรษฐกิจอันเกิดจากการเพิ่มขึ้นของนวัตกรรม (ซึ่งเป็นผลมาจาก อำ�นาจ ที่เป็นพื้นฐานให้กับ	
เครือข่ายในเรื่องของการศึกษา วิทยาศาสตร์ และความรู้ในด้านอื่นๆ) และความเข้มข้นของความร่วมมือ (ซึ่งมีพื้นฐาน
มาจากความสัมพันธ์เชิงสังคม) นั่นย่อมหมายความว่า พื้นฐานทางเศรษฐกิจได้กลายเป็นพื้นฐานของสถาบันทางสังคม	
กล่าวได้ว่า สำ�หรับทั้งสองแล้ว ภาวะวิทยาของการผลิตและการผลิตซํ้าของชีวิต คือ สิ่งที่มีร่วมกัน ภาษาที่เป็นแกน
กลางในการรวมกลุ่มเหล่านี้ จึงเป็นภาษาที่ว่าด้วยเรื่องราวของเศรษฐกิจภายนอก ซึ่งจะแพร่ขยายและผลิตซํ้าโดย
แรงงานที่ยังดำ�รงชีพอยู่ในสังคม (living labour) กระบวนการเช่นนี้หาใช่สิ่งที่เป็นนามธรรม ด้วยไม่มีสิ่งใดดำ�รงอยู่

	 215 	Michael Hardt and Antonio Negri. (2000). ibid., pp. 289-299.	 	
	 216 	Michael Hardt and Antonio Negri. (2005). op, cit., pp. 108-109.	 	
	 217 	Michael Hardt and Antonio Negri. (2000). op, cit., pp. 303-303.

                             ลขิ สิทธ์ิของมหาวทิ ยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
   97   98   99   100   101   102   103   104   105   106   107