Page 99 - สังคมโลก
P. 99

จักรวรรดินิยม 6-59

ในรูปแบบของการตีความ การซึมซับ และการหล่อหลอมให้เกิดการดำ�เนินชีวิตในลักษณะเช่นนี้ ทั้งสองพัฒนา
แนวคิดนี้มาจากแนวคิดเรื่อง อำ�นาจเชิงชีวภาพ (biopower) ของมิเชล ฟูโกต์ (Michel Foucault) ที่กล่าวถึงรูปแบบ	
องคาพยพของสังคมที่เป็นไปเพื่อควบคุมสมาชิกในสังคม202 การควบคุมนี้เป็นผลสืบเนื่องมาจากการรู้เท่าทันในเรื่อง
การก่อตัวของอำ�นาจอธิปไตยสมัยใหม่ (modern sovereign) ที่เป็นไปในลักษณะต่อต้านความเป็นหนึ่งที่มีเสรีภาพ
(liberating singularities) อันเป็นการสร้างเงื่อนไขเชิงปฏิวัติไปสู่การก่อตัวของโครงข่ายกลุ่มชุมชน (multitude)	
ที่เริ่มปรากฏให้เห็นเมื่อสังคมก้าวเข้าสู่ความทันสมัย (modernisation) ผ่านกลไกการบริหารงาน

       กล่าวได้ว่า ลักษณะดังกล่าวข้างต้นอำ�นวยให้เกิดเงื่อนไขของความเป็นปัจเจกและโครงข่ายกลุ่มชุมชน ซึ่ง
ยากแก่การควบคุมโดยอำ�นาจรัฐ รัฐอธิปไตยสมัยใหม่โดยเฉพาะในยุโรป จึงปรับหน้าที่จากการเป็นเพียงตัวกลาง
ประสานความขัดแย้งและแก้วิกฤต ไปสู่การสร้างประสบการณ์ความเป็นหนึ่งเดียวผ่านแนวคิดเรื่องของการสร้างชาติ
และประชาชน ด้วยการดูดซับพลังของภาคสังคมเข้าสู่อำ�นาจรัฐ203

       สิ่งที่ควรได้รับการพิจารณาเพิ่มก็คือ คำ�ว่าประชาชน (the people) ซึ่งเป็นคำ�ที่มีสองความหมายผสานอยู่
ด้วยกัน นั่นคือ ความเห็นชอบ ที่ประชากรในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งมอบให้แก่ผู้มีอำ�นาจในพื้นที่นั่น และการสั่งการ ที่ผู้
ถือครองอำ�นาจอธิปไตยมีเหนือกลุ่มดังกล่าว ความสัมพันธ์ของทั้งสองความหมายนี้มักไม่สู้จะราบรื่นนัก จนเป็นเหตุ
ให้เกิดการเคลื่อนไหวต่อต้านอำ�นาจรัฐอธิปไตยอยู่เนื่องๆ จนบางครั้งก็นำ�ไปสู่สงครามกลางเมืองซึ่งอาจปรากฏได้
ในสามลักษณะ 1) กลุ่มกบฏและกลุ่มต่อต้านแบบใช้ยุทธวิธีกองโจร ซึ่งอาจจะรวมตัวกันขึ้นเป็นกองกำ�ลังประชาชน	
2) กลุ่มต่อต้านแบบใช้ยุทธวิธีแบบกองโจรที่จัดสร้างเครื่อข่ายแบบหลายศูนย์กลาง และ 3) จากโครงข่ายในข้อที่ 2	
อาจจะมกี ารพฒั นาขึน้ เปน็ เครือ่ ขา่ ยในการกระจายตวั แบบไรศ้ นู ยก์ ลางและซบั ซอ้ นเตม็ รปู แบบ (full-matrix, network
structure)204 การเคลื่อนไหวภาคประชาชนที่อาจครอบคลุมกำ�ลัง ความรุนแรงเป็นตัวอย่างของการเคลื่อนไหวเช่นนี้
(ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่หน่วย 9 ว่าด้วยโลกาภิวัตน์)

       ในอดีตนั้น เพื่อให้การควบคุมความเป็นไปในรัฐอธิปไตยและจักรวรรดินิยมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ การ
ผลิตอ�ำ นาจเพื่อการควบคมุ จงึ มีสภาพคลา้ ยตุก๊ ตารสั เซีย205 โดยการจดั ระเบยี บทางประวตั ศิ าสตร์ (historical order)
ได้ผลิตอำ�นาจในลักษณะที่มีแบบแผน ซึ่งต่อมาปรากฏในรูปของสงคราม แต่ในปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคตนั้น
กลับเป็นไปในทางกลับกัน นั่นก็คือ สงครามเป็นเสมือนเปลือกผิวที่ภายในห่อหุ้มไว้ด้วยการควบคุมและระเบียบวินัย
สงครามในลักษณะเช่นนี้จึงเป็นสงครามที่มีอำ�นาจในการกำ�กับกฎระเบียบ (regulating power) ซึ่งเกี่ยวข้องตั้งแต่
เรื่องของการสร้างพื้นฐานความคิด แนวคิด และการกำ�หนดรูปแบบกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับสงครามตั้งแต่ต้นจนจบ
กล่าวได้ว่า ทุกวันนี้ระเบียบสังคมมิได้กำ�หนดจากการสิ้นสุดของสงคราม หากแต่เกิดจากการสนับสนุนให้สงคราม
และภาวะสงครามดำ�เนินอยู่อย่างต่อเนื่อง (แนวคิดเช่นนี้คล้ายคลึงกับแนวคิดของชุมปีเตอร์ดังที่ได้กล่าวแล้วข้างต้น)

       แม้สงครามในทุกวันนี้จะมีลักษณะการทำ�ลายล้างน้อยลง แต่กลับปรากฏในลักษณะของการตรวจตรา	
(actions of pollicising) มากขึ้น เนกรีเห็นว่า ใน Empire ที่ไร้เส้นแบ่งอย่างชัดเจนระหว่างพื้นที่ภายในและพื้นที่
ภายนอก สงครามมักถูกมองว่าเป็นเรื่องภายในเสมอ ดังนั้นแท้จริงแล้วสงคราม (ในรูปแบบเดิมที่หมายถึงการต่อสู้

	 202 	Michel Foucault. (1991). Discipline and Punish: The Birth of the Prison (translated by Alan Sheridan) London:
Penguin Books 	
	 203	 Michael Hardt and Antonio Negri. (2000), op,cit, pp. 83-90.	
	 204	 Michael Hardt and Antonio Negri .(2005). Multitude: War and Democracy in the Age of Empire. London: Penguin
Books, pp. 79, 87.	 	
	 205	 ตุ๊กตาไม้ทาสีที่มักวาดเป็นรูปผู้หญิงภายในกลวงสามารถใช้บรรจุสิ่งของได้ แต่ส่วนใหญ่แล้วมักจะบรรจุไว้ซึ่งตุ๊กตาไม้แบบเดียวกันใน
ขนาดย่อส่วนเล็กลงไปเรื่อยๆ เป็นชั้นๆ ส่วนใหญ่แล้วตุ๊กตารัสเซียหนึ่งตัวมักจะมีตุ๊กตาขนาดเล็กลงไปเรื่อยๆ เหล่านี้บรรจุอยู่แปดตัว ทำ�ให้บาง
ครั้งมีคนเรียกตุ๊กตาเหล่านี้ว่า ตุ๊กตาแม่ลูกดก.

                              ลขิ สิทธขิ์ องมหาวทิ ยาลยั สโุ ขทัยธรรมาธิราช
   94   95   96   97   98   99   100   101   102   103   104