Page 101 - สังคมโลก
P. 101

จักรวรรดินิยม 6-61

ตัวแสดงที่มีพลังในการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจนในการผลิตทางชีวการเมือง210 กลุ่มคนเหล่านี้คือ หน่ออ่อนชั้นดีของ
การเคลื่อนย้ายแรงงาน จนมีส่วนทำ�ให้ไม่อาจระบุอย่างชัดเจนได้ว่าการกดขี่ขูดรีดแรงงานเกิดขึ้นในที่ใดบ้าง แรงงาน
ที่ไร้การจัดตั้งเป็นกลุ่มก้อนในที่ทางเฉพาะเช่นนี้ ก่อให้เกิดลักษณะของแรงงานในเชิงนามธรรมขึ้นในยุคของ Empire
ด้วยปัจจัยในสองลักษณะ 1) ปัจจัยผลักดัน ที่ทำ�ให้เกิดการเคลื่อนย้ายไม่หยุดนิ่งด้วยหวังหลุดพ้นจากความทุกข์ยาก
ทางวัตถุ และวัฒนธรรมจากการผลิตซํ้าของสังคมแบบจักรวรรดินิยม 2) ส่วนปัจจัยชักนำ� คือ ความปรารถนาที่จะ
สะสมความมั่งคั่งและได้แสดงออกถึงพลังในการผลิตและการสะสมความมั่งคั่งนั้น211

       กล่าวได้ว่า แนวคิดในเรื่องการผลิตทางชีวการเมือง เป็นแนวคิดที่พัฒนาต่อมาจากแนวคิดในเรื่องอำ�นาจ
เชิงชีวภาพ อันเกิดจากการเฝ้ามองความเปลี่ยนแปลงการจัดระเบียบภายในสังคมในยุคสมัยใหม่ ไปสู่สังคมแห่งการ
ควบคุม ผ่านการใช้ประโยชน์จากการพัฒนาเครื่องไม้เครื่องมือทางเทคโนโลยี โดยเฉพาะด้านการติดต่อสื่อสาร212
ซึ่งดำ�รงสถานะเสมือนร่มเงาใหญ่ในการผลิตภาษาและสัญลักษณ์ ที่เป็นทั้งเครื่องมือและจุดมุ่งหมายในการบริโภค
เทคโนโลยีเหล่านี้ รวมทั้งยังเป็นแหล่งผลิตเพื่อสร้างความเป็นปัจเจก (subjectivities) ให้กับผู้คนในยุคสมัยที่ Em-
pire เรืองอำ�นาจ สิ่งที่ไม่อาจมองข้ามก็คือ แท้จริงแล้วเทคโนโลยีเหล่านี้คือแก่นแกนในการก่อรูปการเคลื่อนไหวทาง
สังคม ด้วยการเพิ่มพื้นที่การติดต่อแลกเปลี่ยนทางสังคม ตลอดจนสร้างโครงข่ายเพื่อเชื่อมต่อพื้นที่ต่างๆ การผลิต
ทางชวี การเมอื งจงึ เปน็ เสมอื นแหลง่ รวมของการผลติ ทางสงั คมทีค่ ูข่ นาน ผสมผสานและดำ�รงอยูร่ ว่ มกบั การสรา้ งความ
ชอบธรรมทางกฎหมายของผู้ถือครองอำ�นาจรัฐ213

       ฮาร์ดท์และเนกรีตั้งข้อสังเกตว่า แนวคิดเช่นนี้เริ่มปรากฏมาตั้งแต่เมื่อครั้งมีการปฏิรูปสังคม โดยเฉพาะการ
เปิดโอกาสทางการศึกษา ที่ผลิตนักศึกษาในยุคแสวงหาที่ปฏิเสธครรลองชีวิตตามแนวจารีตที่เคยเป็นมา (ดังเช่นที่
ปรากฏในสังคมตะวันตกยุคทศวรรษ 1960) บางคนถึงขั้นลองหันไปมาความหมายของชีวิตผ่านการทดลองใช้สาร
เสพติด ส่วนนักศึกษาหญิงต้องการแสดงบทบาทในหลายทางจนแทบจะไม่ใส่ใจกับการสร้างครอบครัว และปฏิเสธที่
จะทำ�งานในระบบโรงงานที่ดำ�รงอยู่ในช่วงเวลานั้น ผลก็คือ นักศึกษาเหล่านี้เรียกร้องให้สังคมในเวลานั้นยอมรับการ
เกิดขึ้นและการขยายตัวของแรงงานปัญญาชนที่มีมันสมองและความรู้เป็นเครื่องมือหาใช่แรงกาย และเพื่อแก้ปัญหา
การขาดแคลนแรงงาน สังคมตะวันตกจึงต้องยอมรับการหลั่งไหลเข้ามาของแรงงานผิวสี ด้วยลักษณะดังที่กล่าวทำ�ให้
โครงสร้างสังคม การเมือง เศรษฐกิจ เปลี่ยนแปลงไปจากโครงสร้างในยุคจักรวรรดินิยม โครงสร้างเช่นนี้เองที่สร้าง
ความเป็นตัวตนในลักษณะประธานของสรรพสิ่ง (subjectivity) สิ่งที่ไม่อาจลืมก็คือ ระบอบใหม่นี้สะสมไว้ด้วยความ
ขัดแย้งและการต่อสู้แย่งชิง214

       การเกิดขึ้นของแรงงานปัญญาชนนีเ่ องที่ใหก้ �ำ เนดิ สิ่งที่ฮาร์ดทแ์ ละเนกรเี รยี กว่า แรงงานทีไ่ มเ่ กีย่ วขอ้ งกบั วัตถุ
(immaterial labours) ซึ่งในช่วงแรกของการพัฒนาแนวคิดทั้งสองนิยามว่าปรากฏในสามลักษณะคือ 1) แรงงาน	

	 210	 Michael Hardt and Antonio Negri. (2000). op, cit, pp. chapter 2.3, 156-159.
	 211	 Michael Hardt and Antonio Negri .(2000). ibid., pp. chapter 209, 213.
	 212	 ประเด็นนี้มีลักษณะที่ค่อนข้างคล้ายคลึงกับการวิพากษ์วิจารณ์สังคมตะวันตก โดยเฉพาะในช่วงทศวรรษที่ 1960 ถึงทศวรรษที่ 1970
ของเยอร์เก้น ฮาเบอร์มาส (Jûrgen Habermas) ว่า เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์เข้ามามีบทบาทในการก�ำ หนดบทบาทความเป็นไปของชีวิตมนุษย์
มากเกินไป จนสังคมตะวันตก (โดยเฉพาะสังคมเยอรมนี) ในช่วงเวลานั้นมองภาพปัญหาและการแก้ปัญหาทุกอย่างว่าเป็นเรื่องทางเทคนิค ที่ความ
ก้าวหน้าทางเทคโนโลยีจะช่วยให้ทุกอย่างในชีวิตดีขึ้น ภายใต้การดูแลของนักแก้ปัญหาทางเทคนิคมืออาชีพ (technocrats) ซึ่งเท่ากับเป็นการลด
มิติด้านอื่นๆ โดยเฉพาะความคิดคำ�นึงจากประสบการณ์ในความเป็นมนุษย์ โปรดศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับความคิดของฮาเบอร์มาสในประเด็นนี้
ได้ที่ Jûrgen Habermas. (1979). Communication and the Evolution of Society. Boston: Beacon Press (translated by Thomas
McCarthy), (1997). Towards A Rational Society: Student Protest, Science, and Politics Cambridge: Polity Press (translated
by Jeremy J. Shapiro)	 	
	 213	 Michael Hardt and Antonio Negri. (2000). op, ci.t, pp. 23-24, 31-34, 41.	
	 214 	Michael Hardt and Antonio Negri. (2000). ibid., pp. 272-276.	

                              ลขิ สิทธขิ์ องมหาวิทยาลยั สโุ ขทยั ธรรมาธิราช
   96   97   98   99   100   101   102   103   104   105   106