Page 84 - สังคมโลก
P. 84

6-44 สังคมโลก

สหรัฐอเมริกาคลางแคลงใจ โดยเฉพาะเมื่อสภาความมั่นคงแห่งสหรัฐอเมริกา (National Security Council: NSC)
ได้กำ�หนดแนวนโยบายให้วอชิงตันเตรียมความพร้อมในการทำ�สงครามระยะยาวกับสหภาพโซเวียตไว้ในเอกสาร
หมายเลขที่ 68 (NSC Policy Paper No.68)150 สถานการณ์ยิ่งเลวร้ายเมื่อเกิดสงครามเกาหลี (Korean War, 1950-
1953) ซึ่งคร่าชีวิตทั้งสองฝ่ายไปเกือบล้านชีวิต จากการที่คิมอิลซุง (Kim Ii-Sung, 1912-1994) ผู้นำ�เกาหลีเหนือ	
รุกข้ามเส้นขนานที่ 38 อันเปน็ แนวพรมแดนของเกาหลเี หนือและเกาหลใี ต้ ปกั กิง่ ตัดสินใจเข้าช่วยเกาหลเี หนือหลงั จาก
สหรัฐอเมริกาและกลุ่มพันธมิตร เข้าร่วมสงครามในนามสหประชาชาติ151 วอชิงตันจึงไม่ให้การรับรองรัฐบาลปักกิ่ง

       ตะวันออกกลางเป็นอีกหนึ่งพื้นที่ ซึ่งสหรัฐอเมริกาแสดงบทนำ�ทางการเมืองและการทหาร โดยเฉพาะเมื่อเกิด
กรณีวิกฤตการณ์สุเอซ (Suez Crisis, 1956-1957) ที่ลุกลามกลายเป็นสงครามไซไน (Sinai War, 1956-1957) เริ่ม
จากการเข้ารุกรานอียิปต์ของอิสราเอล ก่อนที่อังกฤษและฝรั่งเศสจะเข้าปกป้องผลประโยชน์ของตน ดไวท์ ดี ไอเซน
ฮาวเออร์ (Dwight D Eisenhower, 1890-1969) ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาในขณะนั้น กดดันให้เกิดการหยุดยิง
เพื่อป้องกันการเข้าแทรกของสหภาพโซเวียต152 เหตุการณ์ครั้งนี้เป็นเสมือนจุดสิ้นสุดบทบาทของจักรวรรดิอังกฤษ
เพราะไม่อาจแก้ปัญหาที่อาจจะลุกลามกลายเป็นปัญหานานาชาติ เพราะคลองสุเอซเป็นหนึ่งในเส้นทางหลักในการ
เชื่อมต่อยุโรป แอฟริกา และเอเชีย ขณะที่การเข้าแทรกแซงของสหรัฐอเมริกากลับเป็นการเน้นยํ้าถึงทัศนะและบทบาท
ในเชิงจักรวรรดินิยมของวอชิงตัน153

       ในช่วงปลายทศวรรษ 1950-1960 แม้มิติด้านเศรษฐกิจจะมีความสำ�คัญขึ้นมากในแวดวงระหว่างประเทศ
(ผู้เขียนจะได้กล่าวถึงในเวลาต่อไป) แต่มิติด้านการเมืองการทหารก็ยังไม่ลดบทบาท จำ�นวนชาติที่ครอบครองอาวุธ
นิวเคลียร์มีมากขึ้น จากที่เคยมีแค่สหรัฐอเมริกา สหภาพโซเวียตและอังกฤษ ฝรั่งเศส (1960) และจีน (1964) ได้เข้ามา
เป็นสมาชิกกลุ่มนี้ ไม่เพียงเท่านั้นสหภาพโซเวียตยังแสดงแนวโน้มความเหนือชั้นเรื่องเทคโนโลยีทางการทหาร และยัง
พยายามขยายอทิ ธพิ ลเขา้ ไปในควิ บา154 จนลกุ ลามกลายเปน็ วกิ ฤตการณข์ ปี นาวธุ ควิ บา (Cuba Missile Crisis, 1962)
ที่จบลงด้วยการทำ�ความตกลงจัดตั้งโทรศัพท์สายด่วน (Hotline Agreement, 1963) ระหว่างผู้นำ�สหรัฐอเมริกาและ	

	 150 	ใน ค.ศ. 1949 รัฐบาลจีนคณะชาติที่วอชิงตันให้การสนับสนุนมาโดยตลอดนั้นสูญเสียฐานที่มั่นบนจีนแผ่นดินใหญ่ จนต้องอพยพ
ครั้งใหญ่ไปตั้งมั่นบนเกาะไต้หวัน และจัดตั้งสาธารณรัฐจีน (Republic of China: ROC) ขึ้นที่นั่น ส่วนพรรคคอมมิวนิสต์จีนสามารถสถาปนา
สาธารณรัฐประชาชนจีน (People’s Republic of China: PRC) ขึ้นเมื่อเดือนตุลาคม ก่อนหน้าที่จะบินไปกระชับมิตรกับผู้นำ�มอสโคว์ในเดือน
ธันวาคม แม้อเมริกาจะแสดงท่าทีอย่างไม่เป็นทางการว่าอาจจะให้การรับรองรัฐบาลปักกิ่งในปีถัดมาตามการนำ�ของรัฐบาลอังกฤษ แต่การที่	
สภาความมั่นคงอเมริกา (National Security Council) ออกเอกสารนโยบายหมายเลขที่ 68 (Policy Paper No.68) เรียกร้องให้มีการเตรียม
พร้อมทางเศรษฐกิจและด้านอื่นๆ เพื่อการทำ�สงครามระยะยาวกับโซเวียต เพราะมองว่าโซเวียตมีท่าทีแข็งกร้าวในการขยายอิทธิพลไปยังดินแดน
ต่างๆ ศึกษาเพิ่มเติมที่ Jonathan Hardt. (2008). op, cit., p. 258,  http://en.wikipedia.org/NSC-68 accessed on 11 December 	
	 151 	Tony Smith. (1981). op, cit., p. 171, http://en.wikipedia.org/Korean_War accessed on 11 December 2010 	
	 152 	วกิ ฤตการณน์ ีเ้ กดิ จากการเขา้ ยดึ คลองสเุ อซ เพือ่ หวงั ใหผ้ ลประโยชนแ์ ละรายไดต้ กเปน็ ของรฐั บาลอยี ปิ ตโ์ ดยตรง (nationalisation) ใน
สมยั ทีก่ ามาล อบั เดล นซั เซอร์ (Gamal Abdel Nesser 1918-1970) เปน็ ประธานาธบิ ดอี ยี ปิ ตเ์ พือ่ หวงั ใหเ้ ปน็ แหลง่ รายไดห้ ลกั สำ�หรบั การสรา้ งเขือ่ น
อัสวาน (Aswan Dam) ที่ทั้งอเมริกาและอังกฤษการให้กู้ยืม ในช่วงเวลานี้โซเวียตเข้ามาแสดงบทบาทในตะวันออกกลางด้วยการตกลงให้ความช่วย
เหลือในการสร้างเขื่อนอัสวานแก่อียิปต์ รวมถึงให้เงินกู้แก่อิรัก อัฟกานิสถาน กินี มาลี และกานา  ศึกษาเพิ่มเติมที่ Tony Smith. (1981). op, cit.,
p. 133, Jonathan Hardt. (2008). op, cit., p. 260, http://en.wikipedia.org/wiki/Suez_Crisis , http://bodley.ox.ac.uk/dept/scwmss/
projects/suez/suez.html accessed on 11 December 2553	
	 153 	Tony Smith. (1981). op, cit., pp. 174, 184.
	 154 	โซเวียตในสมัยที่นิกิต้า ครุสชอฟ (Nikita Khrushchev, 1894-1971) เป็นผู้นำ�  ไม่เพียงจะแสดงแสนยานุภาพทางการทหารและ
เทคโนโลยีด้วยการยิงดาวเทียมสปุตนิก (Sputnik) ขึ้นสู่อวกาศได้เป็นประเทศแรก พัฒนาขีปนาวุธข้ามทวีป (international ballistic missile:
IBM) พิสัยทำ�การ 5,000 ไมล์ได้สำ�เร็จ แต่ยังได้พยายามขยายอิทธิพลเข้าไปในคิวบา ซึ่งเป็นเพื่อนบ้านในย่านแคริบเบียนที่ใกล้ชิดกับสหรัฐอเมริกา
มากที่สุด โดยได้มีการลงนามในสนธิสัญญาการค้าและการให้ความช่วยเหลือคิวบาเมื่อ ค.ศ. 1960 อันเป็นปีเริ่มต้นทศวรรษแห่งความขัดแย้ง
ระหว่างฝ่ายตะวันตก (เสรีนิยมประชาธิปไตยที่มีอเมริกาเป็นผู้นำ�) และฝ่ายตะวันออก (สังคมนิยมคอมมิวนิสต์ที่มีโซเวียตเป็นผู้นำ�) ที่น่าหวั่นเกรง
มากที่สุดทศวรรษหนึ่ง ศึกษาเพิ่มเติมที่ Jonathan Hardt. (2008). op, cit., pp. 258-260.	

                             ลิขสิทธิข์ องมหาวิทยาลัยสโุ ขทัยธรรมาธริ าช
   79   80   81   82   83   84   85   86   87   88   89