Page 80 - สังคมโลก
P. 80
6-40 สังคมโลก
ในหมู่เกาะฮาวาย เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม ค.ศ. 1941 ซึ่งไม่เพียงจะเปิดทางให้สหรัฐอเมริกาประกาศสงครามกับญี่ปุ่น
และฝา่ ยอกั ษะ แตเ่ ปน็ การเปดิ ฉากสงครามโลกครัง้ ที่ 2 ในยา่ นเอเชยี แปซฟิ กิ แมส้ องปแี รกญีป่ ุน่ ดจู ะมคี วามไดเ้ ปรยี บ
โดยเฉพาะเมื่อได้สิงคโปร์และพม่ามาอยู่ในความดูแล แต่ก็เป็นการยากที่จะปฏิเสธว่า กองกำ�ลังสมเด็จพระจักรพรรดิ
ญี่ปุ่นประสบความสูญเสียไม่น้อยจากการรบกับทหารสัมพันธมิตร ที่มีกำ�ลังจากสหรัฐอเมริกาและออสเตรเลียเป็น
แกนหลัก ทั้งที่กัวดาลคาเนล (Guadalcanal Campaign, 1942-1943) และที่บูนา-โกนา (the Battle of Buna-
Gona, 1942-1943) อันเป็นส่วนหนึ่งของแนวรบที่ปาปัวนิวกินี ซึ่งถือเป็นแนวรบหลักที่ส่งผลต่อความพ่ายแพ้ของ
ญี่ปุ่นในเวลาต่อมา132
ในช่วงเวลาใกล้เคียงกันนี้ เยอรมนีก็เริ่มประสบปัญหาจากการเปิดแนวรบด้านตะวันออกกับโซเวียต แม้
เยอรมนีจะสามารถบุกเข้ายึดสตาลินการ์ด (the Battle of Stalingrad, 1942-1943) ได้อย่างรวดเร็วในช่วงฤดูร้อน
ค.ศ. 1942 ดว้ ยการท�ำ ลายลา้ งเมอื งอยา่ งหนกั จนสามารถยดึ ครองพืน้ ทีเ่ มอื งไดถ้ งึ รอ้ ยละ 90 แตก่ ย็ งั ไมอ่ าจไดช้ ยั ชนะ
เด็ดขาด สถานการณ์สำ�หรับเยอรมนีเริ่มเลวร้ายลงในช่วงฤดูหนาวเมื่อโซเวียตเริ่มปฏิบัติการยูเรนัส (the Operation
Uranus, 1942) ทำ�ให้เยอรมนีขาดเสบียงและกำ�ลังบำ�รุงท่ามกลางอากาศที่หนาวจัด และต้องพ่ายแพ้อย่างยับเยินต่อ
กองทัพแดงของโซเวียตในเดือนมีนาคมปีถัดมา ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มความพ่ายแพ้ของเยอรมีก่อนที่โซเวียตจะบุกยึดเข้า
เบอร์ลิน ปราก และเวียนนาในเวลาต่อมา133
การครองความเป็นเจ้าของสหรัฐอเมริกากับระเบยี บโลกใหมห่ ลังสงครามโลกครงั้ ท่ี 2
ตลอดชว่ งทศวรรษ 1930-1940 ทีเ่ ศรษฐกจิ โลกยงั ไมฟ่ ืน้ ตวั สหรฐั อเมรกิ าประสบความยุง่ ยากนอ้ ยทีส่ ดุ โครง
การแมนฮตั ตนั (Manhattan Project, 1942-1946)134 ซงึ่ มสี ว่ นอยา่ งส�ำ คญั ในการผลติ ระเบดิ นวิ เคลยี รท์ ีส่ หรฐั อเมรกิ า
ใชย้ ตุ สิ งครามในเดอื นสงิ หาคม ค.ศ. 1945 คงยากจะเกดิ หากวอชงิ ตนั ไมม่ คี วามแขง็ แกรง่ ทางเศรษฐกจิ และเทคโนโลยี
เป็นตัวสนับสนุน เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาซึ่งในช่วง ค.ศ. 1940-1944 เติบโตเฉลี่ยร้อยละ 15135 แฟรงคลิน ดีลาโน
รูสเวลท์ (Franklin Delano Roosevelt, 1882-1945) ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาในช่วงเวลานั้น แสดงวิสัยทัศน์ใน
การกา้ วขึน้ เป็นผูน้ ำ�โลก โดยมีเจา้ ของนติ ยสารชัน้ นำ�อย่างไทม์ (Time) เช่น เฮนรี ลซู (Henry Luce, 1898-1967) ชว่ ย
132 Tony Smith. (1981). op, cit., p. 90, Jonathan Hardt. (2008). op, cit., pp. 241-243, http://en.wikipedia.org/wiki/Gua-
dalcanal_Campaign, http://en.wiki.pedia.org/wiki/Battle_of_Buna%E280%%93Gona accessed on 21 November 2553
133 E. J Hobsbawm. (1994). op, cit., p. 42, http://en.wikipedia.org/wiki/Battle_of_Stalingrad, http://en.wikipedia.org/
wiki/Operation_Uranus accessed on 21 November 2553
134 โครงการนี้เริ่มต้นจากการประชุมทางฟิสิกส์ ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา เมื่อเดือนมกราคม ค.ศ. 1939 ที่แสดงความห่วงใย
ว่า วิทยาการ ณ เวลานั้นสร้างความเป็นไปได้ที่จะผลิตระเบิดปรมาณู แม้จะยังมีความไม่ลงตัวทางเทคนิค นักวิทยาศาสตร์ในที่นั้นจึงแสดงความ
เห็นว่า ความรู้ในเรื่องนี้ควรเป็นไปอย่างแพร่หลายเพื่อป้องกันการผูกขาด ในเดือนสิงหาคมปีเดียวกันนั้นเอง นักฟิสิกส์ชั้นนำ� ได้แก่ อัลเบิร์ต ไอ
สไตน์ (Albert Einstein) ลีโอ สิซ์ลาร์ด (Leo Szilard) และยูจีน วิกเนอร์ (Eugene Wigner) เขียนจดหมายถึง แฟรงคลิน ดีลาโน รูสเวลท์
(Franklin Delano Roosevelt) ประธานาธิบดีอเมริกาในช่วงเวลานั้น แสดงความห่วงใยว่า นาซีเยอรมนีอาจจะก�ำ ลังพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ซึ่งจะส่ง
ผลเสียเป็นอย่างมาก จึงเป็นการกระตุ้นให้สหรัฐอเมริกาพัฒนาโครงการในลักษณะเดียวกันขึ้น โครงการแมนฮัตตันจึงเกิดขึ้นด้วยเงินทุนตั้งต้นราว
2 พันล้านดอลลาร์จากรัฐบาลอเมริกา โดยระดมนักวิทยาศาสตร์กว่า 100,000 คน รวมถึงนักฟิสิกส์ชั้นแนวหน้าที่ลี้ภัยสงครามมาจากยุโรป โดย
เฉพาะจากนาซีเยอรมนี ต่อมาภายหลังในช่วง ค.ศ. 1942-1946 รัฐบาลอังกฤษและแคนาดาได้เข้าร่วมการพัฒนาในโครงการนี้ด้วย ศึกษาเพิ่มเติม
ที่ http://en.wikipedia.org/wiki/Manhattan_Project http://www.spartacus.schoolnet.co.uk/USAmanhattan.htm accessed on 5
December 2553,
135 Jonathan Hardt. (2008). op, cit., pp. 247-248.
ลขิ สิทธขิ์ องมหาวทิ ยาลยั สุโขทยั ธรรมาธริ าช