Page 81 - สังคมโลก
P. 81

จักรวรรดินิยม 6-41

เผยแพรแ่ นวคดิ วา่ ดว้ ย “ศตวรรษแหง่ อเมรกิ นั ชน” (American Century) ในลกั ษณะทเี่ ปน็ การสรา้ ง “Pax Americana”
โดยมีสาระหลักคือ การครองความเป็นเจ้าของสหรัฐอเมริกาเป็นตัวกำ�หนดความเป็นไปของโลกหลังสงครามโลก	
ครั้งที่ 2136

       แทจ้ รงิ แล้ว สหรฐั อเมรกิ าแสดงออกถงึ ความต้องการในการจดั ระเบียบโลกก่อนทีจ่ ะประกาศสงครามกับฝา่ ย
อกั ษะ โดยรสู เวลทไ์ ดเ้ ขา้ รว่ มเจรจากบั วนิ สตนั เชอรช์ ลิ ด์ (Winston Churchill, 1874-1965) เพือ่ ท�ำ ความตกลงทีเ่ รยี ก
ว่า “กฎบัตรแอตแลนติก” (the Atlantic Charter, 1941) ที่มีเนื้อหาครอบคลุมทั้งเรื่องเศรษฐกิจ และการเมืองโดย
เน้นเรื่องหลักการกำ�หนดความเป็นไปของตนเองของคนชาติ (national self-determinism)137หลกั การตามกฎบตั รนี้
ได้กลายเป็นพื้นฐานสำ�คัญในการเจรจาสันติภาพหลายครั้งก่อนการยุติสงครามโลกครั้งที่ 2 ไม่ว่าจะเป็นที่เตหะราน
(Teheran, 1943) มอสโคว (Moscow, 1944)138 หรือ ยัลต้า (Yalta, 1945) ซึ่งสหรัฐอเมริกาและอังกฤษพยายาม
ประนีประนอมให้โซเวียตยอมรับหลักการดังกล่าว และยอมปลดอาวุธทหารเยอรมนี การประชุมครั้งสุดท้ายนี้มีการ
ลงนามในปฏิญญาการปลดปล่อยยุโรป (Declaration on Liberated Europe) เพื่อยืนยันความสำ�คัญของการ
เลือกตั้ง และการแก้ปัญหาเศรษฐกิจและสังคมในแนวทางประชาธิปไตย ในดินแดนที่เคยอยู่ภายใต้การควบคุมของ
เยอรมนี โดยมหาอำ�นาจทั้งสามจะช่วยดูแลดินแดนเหล่านี้ในช่วงเปลี่ยนผ่าน139 กล่าวได้ว่า แนวคิดเรื่องความมั่นคง
ร่วม (collective security) ของกลุ่มที่นิยมแนวทางเสรีนิยมประชาธิปไตยภายใต้การนำ�ของสหรัฐอเมริกาได้รับการ
พัฒนาขึ้นในช่วงเวลาเช่นนี้

	 136 	แนวคิดที่เน้นในเรื่องการครองความเป็นเจ้าของสหรัฐอเมริกาโดยเฉพาะในทางเศรษฐกิจเริ่มปรากฏชัดผ่านแนวคิดของ อเล็กซานเดอร์
แฮมิลตัน (Alexander Hamilton, 1755-1804) หนึ่งในผู้ก่อตั้งสหรัฐอเมริกา และแสดงผ่านบทบาทของวูดโรว์ วิลสันมาก่อนหน้านี้ เข้ากับความ
กระตือรือร้นทางด้านภูมิรัฐศาสตร์ในยุคของธีออดอร์ รูสเวลท์ สร้างแนวคิดเรื่อง “Pax Americana” ขึ้น อันเป็นแนวคิดที่ได้รับการสนับสนุน
อย่างแพร่หลายจาก เฮนรี ลูซ (Henry Luce, 1898-1967) เจ้าของนิตยสารชั้นนำ�ไม่ว่าจะเป็น ไทม์ (Time) ไลฟ์ (Life) และฟอร์จูน (Fortunes) 
ศึกษาเพิ่มเติมที่ David P Calleo. (2009). Follies of Power: America’s Unipolar Fantasy. New York: Cambridge University Press,
p. 6, http://en.wikipedia.org/wiki/Henry_Luce accessed on 5 December 2553	
	 137 	ความตกลงนี้จัดทำ�ขึ้นตั้งแต่ ค.ศ. 1941 บนเรือรบหลวงปรินซ์ออฟเวลล์ (HMS Prince of Wales) นอกชายฝั่งนิวฟาวด์แลนด์ มี
เนื้อหาครอบคลุมมิติทั้งทางการเมืองซึ่งเน้นถึงความสำ�คัญของหลักการกำ�หนดความเป็นไปของตนเองของคนชาติ (national self-determinism)
ตามหลักการของวูดโรว์ วิลสัน และทางเศรษฐกิจที่พยายามเน้นถึงความส�ำ คัญของหลักการเสรีนิยม โดยไม่เลือกข้างฝ่ายชนะหรือพ่ายแพ้สงคราม
หลักการสำ�คัญแปดประการจากกฎบัตรแอตแลนติกคือ 1) สหรัฐอเมริกาและอังกฤษจะต้องไม่แสวงหาดินแดนเพิ่มเติมหลังสงครามสิ้นสุด	
2) การปรับเปลี่ยนดินแดนจะต้องเป็นไปตามความปรารถนาของผู้คนที่เกี่ยวข้องกับดินแดนนั้น 3) ผู้คนมีสิทธิกำ�หนดความเป็นไปของตนเอง
(self determinism) 4) จะต้องมีการลดข้อจำ�กัดทางการค้า 5) ต้องมีการสร้างความร่วมมือทางเศรษฐกิจระดับโลก และส่งเสริมความก้าวหน้า
ของสวัสดิการทางสังคม 6) ต้องมีเสรีภาพจากความต้องการพื้นฐานและความหวาดกลัว 7) ต้องมีเสรีภาพทางทะเล และ 8) ต้องมีการปลดอาวุธ
รัฐที่มีพฤติกรรมก้าวร้าว และต้องมีการลดอาวุธเป็นการทั่วไปหลังสงคราม ศึกษาเพิ่มเติมที่  http://en.wikipedia.org/wiki/Atlantic_Charter 
accessed on 5 December 2553  
	 138 	การประชุมที่กรุงเตหราน ในอิหร่าน (Teheran, 1943) ซึ่งอังกฤษและสหรัฐอเมริกามีท่าทียอมรับการที่โซเวียตได้ดินแดนมากขึ้น จาก
การเข้าปลดอาวุธทหารฝ่ายอักษะในหลายพื้นที่ ส่วนการประชุมที่กรุงมอสโคว์ (Moscow, 1944) ทั้งสามมหาอำ�นาจ (อังกฤษ อเมริกาและโซเวียต)
ได้ทำ�การตกลงที่จะแบ่งเขตอิทธิพลกันในคาบสมุทรบอลข่านกรุงเตหราน (Teheran, 1943) ซึ่งอังกฤษและอเมริกามีท่าทียอมรับการที่โซเวียตได้
ดินแดนมากขึ้น จากการเข้าปลดอาวุธทหารฝ่ายอักษะในหลายพื้นที่ ส่วนการประชุมที่กรุงมอสโคว์ (Moscow, 1944) ทั้งสามมหาอำ�นาจ (อังกฤษ
สหรัฐอเมริกา และสหภาพโซเวียต) ได้ทำ�การตกลงที่จะแบ่งเขตอิทธิพลกันในคาบสมุทรบอลข่าน ศึกษาเพิ่มเติมที่ http://www.us-history.com/
pagesh2066.htm accessed on 11 December 2553	
	 139 	อยา่ งไรกต็ ามรสู เวลทไ์ ดร้ บั เสยี งวพิ ากษว์ จิ ารณอ์ ยา่ งหนกั วา่ เปดิ ชอ่ งทางใหโ้ ซเวยี ตเขา้ มาขยายอทิ ธพิ ลในยโุ รปตะวนั ออก  หนึง่ สปั ดาห์
ก่อนการเสียชีวิต รูสเวลท์จึงส่งโทรเลขถึงเชอร์ชิลและสตาลิน เพื่อคัดค้านการดำ�เนินการด้านต่างๆ ของโซเวียตในรูมาเนียและโปแลนด์ ซึ่งเท่ากับ
เปน็ การปฏเิ สธอย่างชดั แจง้ ถงึ การยอมรบั การขยายเขตอทิ ธพิ ลของสหภาพโซเวียตเข้ามาในยุโรปตะวนั ออก ศกึ ษาเพิ่มเตมิ ที่ Tony Smith. (1981).
op, cit., pp. 158-160, http://www.britanica.com/EBchecked/topic/339202/Declaration-on-Liberated-Europe, http://www.his-
torylearningsite.co.uk/yalta_war_conference.htm accessed on 11 December 2553	

                              ลิขสทิ ธิ์ของมหาวิทยาลยั สโุ ขทัยธรรมาธริ าช
   76   77   78   79   80   81   82   83   84   85   86