Page 74 - สังคมโลก
P. 74
6-34 สังคมโลก
อินเดียจากอังกฤษ103 ท่ามกลางแรงกดดันเช่นนี้อังกฤษยังต้องเผชิญการเร่งสร้างแสนยานุภาพทางทหารของเยอรมนี
โดยเฉพาะกำ�ลังทางทะเลในช่วง ค.ศ. 1908-09 และการกลับเข้ามาในแอฟริกาของทั้งเยอรมนีและอิตาลีใน ค.ศ.
1911104 ในปีถัดมาที่อังกฤษกับฝรั่งเศสสามารถสร้างข้อตกลงในเรื่องกำ�ลังทางเรือ เหตุการณ์ในบอลข่านกลับส่อเค้า
ของความรุนแรงเมื่อ เซอร์เบีย บัลแกเรีย และกรีซ ร่วมกันขับไล่ชาวตุรกีที่เป็นมุสลิมออกจากบอลข่าน สถานการณ ์
เลวร้ายลงเมื่อออสเตรีย-ฮังการีผนวกบอสเนียเข้าเป็นส่วนหนึ่งของตน105 ในที่สุดปัญหาในบอลข่านก็ได้เป็น
ชนวนสำ�คัญในการเกิดขึ้นของสงครามโลกครั้งที่ 1 (1914-1918) เมื่อ ค.ศ. 1914 เมื่ออาร์คดุ๊ค ฟรานซ์ เฟอร์ดินานด์
(Archduke Franz Ferdinand, 1863-1914) รัชทายาทแห่งออสเตรีย-ฮังการีถูกลอบปลงพระชนม์ที่เมืองซาราเยโว
(Sarajevo) ในบอสเนีย และแล้วสงครามโลกครั้งที่ 1 ก็อุบัติขึ้น
ช่วงต้นของสงครามเป็นการประลองกำ�ลังระหว่างมหาอำ�นาจชาติตะวันตกในยุโรปและในพื้นที่ใกล้เคียง
โดยเฉพาะในยา่ นมหาสมทุ รแอตแลนติกตอนกลางและตอนเหนอื กองเรอื ดำ�นํา้ (Undersea boat or Unterseeboot)
ที่รู้จักกันในนามเรืออู (U-boat or U-boot)106 ได้เปิดฉากทำ�ลายกองเรือพาณิชย์ขนส่งสินค้าในเครือข่ายจักรวรรดิ
อังกฤษกับสหรัฐอเมริกาบริเวณใกล้กับเกาะฟอล์คแลนด์ (Falkland Island) มาตั้งแต่เริ่มสงครามในช่วง ค.ศ. 1915
แต่ยังเป็นไปอย่างไม่กว้างขวางนัก โดยที่ในช่วงต้นนั้นเยอรมนีสามารถผลักดันรัสเซียออกจากลิธัวเนีย โปแลนด์และ
กาลเิ ซยี เทา่ กบั เปน็ การตดั เสน้ เลอื ดทางเศรษฐกจิ สายหนึง่ ของรสั เซยี ทีเ่ ผชญิ ปญั หาภายในดงั ทีไ่ ดก้ ลา่ วไวแ้ ลว้ ขา้ งตน้
ในช่วง ค.ศ. 1915-16 แนวรบตรึงอยู่บริเวณแหล่งเศรษฐกิจสำ�คัญของฝรั่งเศสตรงบริเวณชายแดนระหว่างฝรั่งเศส
และเยอรมนี รวมถึงลักเซมเบอร์ก และเบลเยียม อันเป็นบริเวณหลักที่ทั้งสองฝ่ายขุดสนามเพาะ (trenches) ในแนว
ขนานกันตั้งแต่บริเวณชายแดนฝรั่งเศสต่อสวิตเซอร์แลนด์ไปจนถึงทะเลเหนือ ที่รู้จักกันในนามของแนวรบตะวันตก
(the Western Front)107
ในช่วง ค.ศ. 1916 ปีที่อังกฤษ ฝรั่งเศส และเยอรมนีสูญเสียอย่างมาก จนเป็นเหตุให้โครงสร้างความ
สัมพันธ์ในกลุ่มจักรวรรดิตะวันตกต้องปรับเปลี่ยนไป โดยเฉพาะความสูญเสียจากการรบที่แวร์ดัง (Battle of Ver-
103 เบงกอลเป็นเขตพื้นที่ซึ่งอุดมไปด้วยนักเคลื่อนไหวต่อต้านจักรวรรดินิยมอังกฤษในอินเดีย ให้มีเขตพื้นที่หลักของชาวมุสลิมทาง
ตะวันออกใน ค.ศ. 1905 แต่ก็ได้รับการต่อต้านอย่างหนักจากกลุ่มผู้นับถือศาสนาฮินดูซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ของเขตตะวันตก การต่อต้าน
อังกฤษนี้ยังปรากฏในรูปนโยบายทางเศรษฐกิจโดยการหันมาต่อต้านสินค้าอังกฤษ สนับสนุนการอุปโภคบริโภคสินค้าที่ผลิตภายในอินเดียและเน้น
นโยบายเศรษฐกิจแบบพึ่งตนเอง (swadeshi or self-sufficient economy) ซึ่งต่อมาได้พัฒนาเป็นส่วนหนึ่งของแนวคิดในการปกครองตนเอง
(swaraj or self-rule) ของคานธี แม้ท้ายที่สุดแล้วนโยบายที่มีพื้นฐานมาจากเรื่องศาสนานี้จะล้มเลิกไปใน ค.ศ. 1911 เพราะการเกิดขึ้นของแนวคิด
ชาตินิยมโดยใช้ภาษาเบงกาลี (Bengali nationalism) ผ่านงานวรรณกรรม และบทเพลง เช่น Amar Shonar Bangla (My Golden Bengal)
หรือ เบงกอล แผ่นดินทองของฉัน ผลงานของรพินทรนาถ ฐากูร (Rabindranath Tagore) กวีและนักเคลื่อนไหวทางการเมืองผู้ได้รับรางวัลโน
เบลสาขาวรรณกรรมใน ค.ศ. 1913 เป็นตัวแทน แต่ท้ายที่สุดการเคลื่อนไหวนี้ก็เป็นชนวนให้เกิดการสถาปนาประเทศบังคลาเทศขึ้นใน ค.ศ. 1971
โดยแยกตัวออกจากประเทศปากีสถาน ศึกษาเพิ่มเติมที่ Tony Smith. (1981). op, cit., p. 127, E. J. Hobsbawm. (1989). op, cit., p. 288,
http://en.wikipedia/org/Partition_of_Bengal_(1905), http://en.wikipedia.org/Bengali_Nationalism, http://en.wikipedia.orf/wiki/
Amar_Shonar_Bangla, http://en.wikipedia.org/wiki/Swadeshi_Movement , http://en.wikipedia.org/wiki/Rabindranath_Tagore,
http://en.wikipedia.org/wiki/Bangladesh_Liberation_War accessed on 1 November 2010
104 โดยมุ่งความสนใจไปที่โมรอคโคจนเกิดความขัดแย้งกับฝรั่งเศสที่ได้รับการสนับสนุนจากอังกฤษ ในปีเดียวกันนี้อิตาลีได้เข้ายึดครอง
ไลบีเรีย (Liberia) ศึกษาเพิ่มเติมที่ E. J. Hobsbawm. (1989). op, cit., p. 322.
105 E. J. Hobsbawm. (1989). op, cit., pp. 321-323, Jonathan Hardt. (2008). op, cit., p. 226.
106 http://en.wikipedia/org/wiki/U-boat accessed on 6 November 2010
107 http://en.wikipedia.org/wiki/Western_Front_(World_War_I), accessed on 6 November 2010 and http://en.wikipedia.
org/wiki/Trench_Warfare accessed on 7 November 2010
ลิขสทิ ธขิ์ องมหาวทิ ยาลัยสโุ ขทยั ธรรมาธิราช