Page 69 - สังคมโลก
P. 69
จักรวรรดินิยม 6-29
เซซลิ โรด (Cecil Rhodes, 1853-1902)88 นักธรุ กิจและนกั การเมืองคนส�ำ คัญในการสนับสนุนแนวนโยบาย
จกั รวรรดนิ ยิ มขององั กฤษ ในฐานะทางแกป้ ญั หาเศรษฐกจิ และสงั คมไดผ้ ลกั ดนั การขยายตวั ขององั กฤษไปทางตะวนั ออก
และทางใต้ของแอฟริกา บริเวณที่เขาเป็นผู้ครอบครองเหมืองเพชรที่ใหญ่ที่สุด การแข่งขันที่รุนแรงขึ้นในช่วงสาม
ทศวรรษสุดท้ายก่อนสิ้นศตวรรษที่ 19 ทำ�ให้อังกฤษเพิ่มความแข็งกร้าวทางการทหารและการเมือง จนทำ�ให้เกิด
สงครามรุนแรงในหลายพื้นที่ เช่น สงครามซูลู (Anglo-Zulu War, 1879) และการเข้าปะทะกับผู้ก่อตั้งอาณานิคมชาว
ดัชท์ในดินแดนทรานสวาล (Transvaal) อันเป็นจุดเริ่มต้นของสงครามบัวร์ (the Boer Wars, 1880-1881, 1898-
1902)89 ภาพและข่าวสารความรุนแรงที่ทหารอังกฤษกระทำ�ต่อผู้ที่เกี่ยวข้องกับสงครามบัวร์ โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับ
ค่ายกักกันเชลย (concentration camp) ได้จุดชนวนให้เกิดการต่อต้านตะวันตกโดยเฉพาะอังกฤษ จนเกิดสงคราม
ขึ้นอีกหลายแห่ง เช่น ที่อซานเต (Asante or Ashanti) โดยเฉพาะในช่วง ค.ศ. 1900-190690
ในช่วงเวลาดังกล่าวทั้งอังกฤษ ฝรั่งเศส และแม้กระทั่งสหรัฐอเมริกาต่างก็หันมาใช้นโยบายที่แข็งกร้าวในการ
ครอบครองดินแดน อังกฤษเข้ายึดครองดินแดนในคาบสมุทรมาเลย์ (Malay Peninsula) ใน ค.ศ. 1874 อีกสองป ี
ต่อมา รัฐสภาอังกฤษที่เวสต์มินเตอร์ ประกาศให้พระนางเจ้าวิคตอเรีย (Queen Alexandrina Victoria, 1819-1901)
ดำ�รงตำ�แหน่งจักรพรรดินีแห่งอินเดีย ซึ่งอังกฤษใช้เป็นอีกหนึ่งฐานที่มั่นสำ�คัญในการแผ่อิทธิพลเข้าสู่ทิเบต (Tibet)
ดินแดนตะวันออกกลาง และเปอร์เซีย (Persia) สะพานสู่เอเชียกลาง เช่น อัฟกานิสถาน (Afghanistan) ทำ�ให้อังกฤษ
ขัดแย้งกับรัสเซีย ที่เร่งรุดขยายดินแดนไม่เพียงทางฝั่งตะวันตกและทางใต้ หากแต่ยังมุ่งตะวันออกไปทางไซบีเรีย
(Siberia) และแมนจูเรีย (Manchuria)
อังกฤษหันมาสนใจดินแดนในอุษาคเนย์อีกครั้งใน ค.ศ. 1885 เมื่อสามารถรุกเข้าดินแดนตอนในของพม่า ใน
ค.ศ. 1887 ที่โปรตุเกสผนวกมาเก๊า (Macao) เข้าเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิที่อ่อนแรงของตน ฝรั่งเศสหันมาสนใจ
อุษาคเนย์เพื่อหวังให้เป็นอู่ข้าวอู่นํ้าสำ�หรับจักรวรรดิโดยยึดครองกัมพูชา และสามแคว้นหลักของเวียดนาม นั่นคือ ตัง
เกีย๋ (Tokin) อนั นมั (Annam) และโคชนิ จนี (Cochin china) แลว้ ตัง้ ขึน้ เปน็ สหภาพอนิ โดจนี (Union of Indochina)
ฝรั่งเศสผนวกลาวซึ่งอยู่ใต้อาณัติของสยามเข้าเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพนี้ใน ค.ศ. 1893 ทำ�ให้เกิดความขัดแย้งจนถึง
88 เซซิล โรห์ด ไม่เพียงมีความสำ�คัญในฐานะผู้ก่อตั้งบริษัทเพชรเดอเบียร์ (De Beers) ซึ่งเป็นบริษัทเพชรรายใหญ่ที่สุดของโลก ซึ่งยังคง
ครองความยิง่ ใหญแ่ มก้ ระทัง่ ในปจั จบุ นั แตเ่ ขายงั คงมบี ทบาทสำ�คญั ในฐานะนกั ธรุ กจิ นายเหมอื งทีผ่ นั ตวั เองขึน้ มาเปน็ ผูป้ กครองดนิ แดนแอฟรกิ าใต้
ใน ค.ศ. 1889 โรห์ดได้รับการรับรองอย่างถูกต้องจากรัฐบาลที่ลอนดอนอนุญาตให้บริษัทบริติชเซ้าธ์แอฟริกา (British South Africa Company:
BSAC) ซึ่งตั้งขึ้นโดยอาศัยบริษัทบริติช อีสต์ อินเดียเป็นแบบอย่าง เป็นผู้รับปกครองดูแลและรับผิดชอบในการขยายอาณานิคมของอังกฤษเข้าไป
ยังดินแดนทางตอนกลางของทวีป บริษัทนี้ยุติการดำ�เนินงานใน ค.ศ. 1965 เขาจึงมีส่วนสำ�คัญในการช่วยจัดตั้งรัฐโรดีเซีย (Rhodesia) ซึ่งตั้งชื่อ
เพื่อเป็นเกรียติแก่เขา โรห์ดยังมีส่วนสนับสนุนให้การศึกษาตามธรรมเนียมนิยมของจักรวรรดิอังกฤษได้ขยายสู่นานาชาติมากขึ้น ด้วยการก่อตั้ง
Rhodes Scholarships ขึ้นที่มหาวิทยาลัยอ็อกฟอร์ด (Oxford University) ซึ่งเป็นการให้ทุนการศึกษาแก่นักศึกษาในระดับปริญญาโท หรือเป็น
ทุนการวิจัยแก่นักศึกษาต่างชาติที่ไม่ได้ถือสัญชาติอังกฤษ โดยที่ส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาในเครือจักรภพอังกฤษ ผู้ที่ได้รับทุนนนี้ล้วนสามารถก้าวขึ้น
ไปเป็นผู้นำ�ในแวดวงต่างๆ มากมาย เช่น บิล คลินตัน (Bill Clinton) อดีตประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ซึ่งได้รับทุนใน ค.ศ. 1968 ศึกษาเพิ่มเติม
ที่ http://enwikipedia.org/Cecil_Rhodes#cite_note-42, http://enwikipedia.org/wiki/Rhodes_Scholarships, http://enwikipedia.
org/wiki/List_of_Rhodes_Scholars, http://enwikipedia.org/wiki/South_Africa_Company accessed on 27 October 2010
89 ในช่วงเวลานี้เองที่เยอรมนีโหมเชื้อไฟแห่งความขัดแย้งในแอฟริกาให้เพิ่มมากขึ้น เมื่อไกรเซอร์วิลเลียม (William II of Prussia or
Kaiser Wilhelm II, 1859-1941) กษัตริย์เยอรมนีในช่วงเวลานั้นได้ส่งโทรเลข (Kruger Telegram) แสดงความชื่นชมชาวโบเออร์ที่สามารถต่อกร
กบั องั กฤษไดอ้ ยา่ งแขง็ แกรง่ ใน ค.ศ. 1896 ในอกี สองปตี อ่ มากย็ งั ทา้ ทายชาตจิ กั รวรรดติ ะวนั ตกเพิม่ ขึน้ เมือ่ คราวเสดจ็ เยอื นดามาสกสั และเยรซู าเลม็
ว่า พระองคค์ ือผู้ปกป้องชาวมสุ ลมิ ในโลก ซึง่ แน่นอนว่าครอบคลุมชาวมุสลิมในแอฟริกาทีอ่ ยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษและฝรั่งเศส ศึกษาเพิ่ม
เติมที่ E. J Hobsbawm. (1989). op, cit., p. 66.
90 Tony Smith. (1981). op, cit., p. 145, Jonathan Hardt. (2008). op, cit., pp. 195-196.
ลขิ สทิ ธ์ิของมหาวทิ ยาลยั สโุ ขทยั ธรรมาธริ าช