Page 65 - สังคมโลก
P. 65

จักรวรรดินิยม 6-25

Xiuquan)72 ใน ค.ศ. 1853 กลุ่มไท่ผิงมีทหารในสังกัดนับล้าน และสามารถยึดครองพื้นที่ส่วนใหญ่ทางภาคใต้และ
ภาคตะวันออกของจีน แต่ก็ยังไม่มีสามารถรุกเข้าไปในดินแดนตอนเหนือ หลัง ค.ศ. 1856 กลุ่มไท่ผิงตกเป็นฝ่ายตั้ง
รับ และสูญเสียที่มั่นสำ�คัญสุดท้ายที่เมืองนานกิงเมื่อ ค.ศ. 1864 สงครามกลางเมืองในครั้งนี้คร่าชีวิตผู้คนไปราว 20
ล้านคน (ส่วนใหญ่เป็นเพราะโรคระบาดและภาวะทุพภิกขภัย)73

       ช่วง ค.ศ. 1857-1858 ได้เกิดสงครามต่อต้านจักรวรรดินิยมครั้งใหญ่ขึ้นในอินเดีย (Indian Mutiny) จาก
การที่อังกฤษภายใต้การนำ�ของบริษัทอีสต์อินเดีย ได้เปลี่ยนระบบการจัดเก็บภาษีที่ดินซึ่งส่งผลกระทบต่อผู้คนใน	
วงกว้าง ยิ่งเมื่อบริษัทสนับสนุนให้มีการจัดตั้งและขยายการดำ�เนินการของกลุ่มสอนศาสนาคริสต์ ยิ่งทำ�ให้ความไม่
พอใจของผู้คนเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะเมื่ออยู่ภายใต้การนำ�ของกลุ่มชนชั้นกลางที่ขยายตัวอย่างมากในอินเดีย จากการ
พัฒนาและส่งเสริมระบบการศึกษาของอังกฤษ ความรุนแรงของเหตุการณ์ทำ�ให้รัฐบาลอังกฤษที่ลอนดอน ต้องออก
พระราชบัญญัติว่าด้วยการปกครองอินเดีย (Government of India Act) ใน ค.ศ. 1858 อันเป็นการยุติบทบาทของ
บริษัทอีสต์อินเดียลงโดยสิ้นเชิง74

       ในช่วงเวลานี้เองที่ฝรั่งเศสภายใต้การนำ�ของนโปเลียนที่ 3 (Napoleon III, 1808-1873) ซึ่งประกาศว่า
“จักรวรรดินิยม คือ ความสงบสุข” เร่งขยายดินแดนในอาณัติมากมาย ทั้งการจัดส่งกำ�ลังเข้าไปในซีเรีย (1860) ร่วม
มือกับอังกฤษเข้ารุกรานจีน (1860) เข้ารุกรานและมีชัยเหนือดินแดนอินโดจีนตอนใต้ (1858-1865) รวมถึงเข้าไป
แทรกแซงในเม็กซิโกด้วยการสนับสนุนจักรพรรดิเม็กซิมิเลียน (Emperor Maximilian, 1832-1867) ในช่วงที่เกิด
สงครามกลางเมืองในสหรัฐอเมริกา ไม่เพียงสงครามนอกยุโรป ฝรั่งเศสยังเข้าไปเกี่ยวข้องกับสงครามใหญ่สองครั้งใน
ยุโรป ได้แก่ การผนึกกำ�ลังกับซาวอย (Savoy) และเมืองต่างๆ ในอิตาลีต่อกรกับออสเตรีย (1858-1859) และสงคราม
นองเลอื ดกบั รฐั เยอรมนภี ายใตก้ ารนำ�ของปรสั เซยี (1870-1871) ทีค่ รา่ ชวี ติ ผูค้ นไปราว 160,000 คนโดยทีค่ นสว่ นใหญ	่

	 72 	หงซิวฉวน (1814-1864) เป็นชาวจีนแคระ เกิดที่มณฑลกวางตุ้ง เติบโตขึ้นมาภายใต้ร่มเงาคำ�สอนของลัทธิขงจื๊อ และมุ่งเน้นที่จะสอบ
เข้ารับราชการ ชีวิตหันเหมาใส่ใจต่อคำ�สอนในคริสต์ศาสนา เมื่อพลาดการสอบเป็นครั้งที่สี่ เขาเป็นผู้นำ�ในการก่อกบฏไท่ผิง และประกาศจัดตั้ง
อาณาจักรสวรรค์แห่งสันติสุข (Taiping Tian Guo) โดยมีนานกิงเป็นเมืองหลวง นับจาก ค.ศ. 1853 เริ่มเกิดความแตกแยกในกลุ่มผู้นำ� และหง
ประสบปัญหาสุขภาพนับตั้งแต่ ค.ศ. 1856 หงเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1864 โดยมีข่าวว่าเขาใช้ยาพิษกระทำ�อัตวินิบาตกรรม หงเป็นผู้นำ�การปฏิวัติที่
พยายามผสมผสานระหว่างลัทธิเต๋า ศาสนาพุทธ และศาสนาคริสต์ โดยมีจุดเน้นอยู่ที่เรื่องของความเสมอภาค หงเน้นความสำ�คัญของครอบครัว
ในฐานะหน่วยพื้นฐานของสังคม เรียกร้องให้มีการยกเลิกระบบทรัพย์สินเอกชน (ที่ดินมีไว้แจกจ่ายเพื่อการทำ�ประโยชน์ หาใช่เพื่อครอบครองเป็น
เจ้าของ) เรียกร้องให้มีความเท่าเทียมระหว่างเพศ ห้ามการบริโภคฝิ่น ยาสูบ และเครื่องดื่มอัลกอฮอล์ และเรียกร้องให้มีการลดภาษี แนวคิดนี้ได้
รับการตอบรับเป็นอย่างดี ศึกษาเพิ่มเติมแบบย่อได้ที่ http://newworldencycopedia.org/entry/Hong_Xiuquan , http://en.wikipedia.
org/Hong_Xiuquan accessed on 1 September 2010 	
	 73	E. J. Hobsbawm. (1975). op, cit., pp. 127-129, 133.	
	 74	 อาจกล่าวได้ว่า สงครามในครั้งนี้เป็นผลผลิตของกระบวนการสร้างความทันสมัย (modernisation) หรือการสร้างความเป็นตะวันตก
ขึ้นในสังคมอินเดีย (Westernisation) โดยเฉพาะการขยายฐานการศึกษาแบบตะวันตก ในยุคสมัยที่อุดมการณ์ชาตินิยมได้รับการเผยแพร่ แม้ใน
ตอนแรกกระบวนการดังกล่าว จะมีจุดมุ่งหมายเพียงแค่สร้างความเป็นตะวันตกให้กับชนชั้นปกครองจำ�นวนหนึ่งของอินเดีย (ซึ่งเรียกกันว่า ราชา
แบบอังกฤษ “British Raj”) รวมถึงการผลิตข้าราชการจำ�นวนหนึ่งให้กับระบบการปกครองของอังกฤษในอินเดีย อย่างไรก็ตาม ระบบการศึกษา
เช่นนี้เองที่ได้ผลิตชนชั้นกลาง นักอุตสาหกรรม และนักเคลื่อนไหวจำ�นวนหนึ่ง ที่กลายเป็นแกนนำ�ในการเรียกร้องอิสระภาพจากอังกฤษ จนนำ�ไป
สู่การจัดตั้งที่ประชุมแห่งชาติของชาวอินเดีย (Indian National Congress) ขึ้นในช่วงทศวรรษ 1880 ศึกษาเพิ่มเติมที่E. J. Hobsbawm. (1975).
op, cit., pp. 122-125, Jonathan Hart. (2008). op, cit., p. 175.	

                              ลขิ สิทธิ์ของมหาวิทยาลยั สโุ ขทยั ธรรมาธิราช
   60   61   62   63   64   65   66   67   68   69   70