Page 60 - สังคมโลก
P. 60
6-20 สังคมโลก
การขยายตัวของจักรวรรดิอังกฤษในช่วงเวลานี้ ดำ�เนินควบคู่ไปกับนโยบายเสรีนิยมทางเศรษฐกิจ (eco-
nomic liberalism) ซึ่งสนับสนุนการค้าเสรี (free-trade policy) ในรูปแบบที่อังกฤษสามารถค้าขายได้อย่างอิสระ
ในดินแดนใดก็ตาม และยังส่งเสริมให้ประเทศที่ยังไม่พัฒนามากนักขายสินค้าของตนโดยเฉพาะในรูปของอาหารและ
วัตถุดิบในปริมาณมากด้วยราคาที่ถูก เพื่อจะได้มีความสามารถในการน�ำ เข้าสินค้าราคาแพงจากอังกฤษ ประเทศที่มี
การพัฒนาอุตสาหกรรมในช่วงเวลานั้น ต่างให้การสนับสนุนนโยบายดังกล่าว เพราะได้ประโยชน์ทางการค้าและการ
พัฒนาประเทศของตน แม้อังกฤษจะเป็นฝ่ายครอบงำ�61 นโยบายดังกล่าวปรากฏในรูปของข้อตกลงทางการค้า เช่น
ข้อตกลงทางการค้ากับออตโตมาน (ค.ศ. 1838) กับจีน (ค.ศ. 1842 และ 1858) โดยมีใจความสำ�คัญอยู่ที่การกำ�หนด
ภาษาขาเข้าได้เพียงครั้งเดียว ในอัตราไม่เกินร้อยละ 562 อังกฤษยังได้ทำ�ข้อตกลงในลักษณะเดียวกันนี้กับสยามเมื่อ
ค.ศ. 1855 (พ.ศ. 2398) ซึ่งรู้จักกันในนามของสนธิสัญญาเบาว์ริง
กล่าวได้ว่า ระหว่างช่วงทศวรรษ 1840-1850 ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ในหลายพื้นที่ทั้งในอเมริกา
และในยุโรป สำ�หรับในสหรัฐอเมริกานั้น นี่คือช่วงเวลาของการขยายดินแดนมายังฝั่งตะวันตก ที่เชื่อมโยงอเมริกาเข้า
กับโลกตะวันตกและตะวันออกมากยิ่งขึ้น และยังดึงดูดให้เกิดการอพยพเข้าสหรัฐอเมริกาของชาวต่างชาติจ�ำ นวนมาก
โดยเฉพาะชาวจีน63 สำ�หรับในยุโรปนั้น กระบวนการทำ�ให้เป็นอุตสาหกรรม (industrialisation) เกิดขึ้นอย่างเข้มข้น
มีการพัฒนาและส่งผ่านเทคโนโลยีทั้งที่เกี่ยวข้องกับการผลิต การขนส่ง และการทหาร (ปืนไรเฟิล ปืนพก และ
เรือรบ) ซึ่งมีส่วนอย่างสำ�คัญต่อการรุกรานของชาติตะวันตกต่อชาวพื้นเมืองในพื้นที่ต่างๆ แนวโน้มการขยายตัวของ
จักรวรรดินิยมส่งผลต่อการพัฒนาระบบการบริหารงานในตะวันตกเช่นกัน เพราะการเก็บภาษีได้อย่างสมํ่าเสมอ ทำ�ให้
สามารถปรับปรุงพัฒนาการด้านสุขอนามัยโดยรวมของชาวตะวันตกโดยเฉพาะในอาณานิคม อย่างไรก็ตาม ก่อน
ศตวรรษที่ 19 จะสิ้นสุดเริ่มมีผลปรากฏชัดเจนว่า การบุกเบิกที่ดินในอาณานิคมส่งผลกระทบด้านลบอย่างมากไม่ว่า
จะเป็นผลเสียต่อระบบนิเวศน์ และเชื้อโรคที่แพร่จากชาวตะวันตกไปสู่ชาวพื้นเมือง64
61 E. J. Hobsbawm. (1975). op. cit., pp. 38-39.
62 Tony Smith. (1981). op. cit, pp. 29-30.
63 การอพยพเป็นไปอย่างน่าตื่นตาเมื่อมีการค้นพบทองคำ�จนนำ�ไปสู่ยุคตื่นทองในแคลิฟอร์เนีย (California Gold Rush) เมื่อ ค.ศ. 1849
จนทำ�ให้เมืองท่าชายฝั่งแปซิฟิกแห่งนี้กลายเป็นศูนย์กลางการค้าเชื่อมซีกโลกฝั่งตะวันตกและตะวันออกที่สำ�คัญอีกแห่งหนึ่ง มีสินค้ามากมายจาก
หลายพื้นที่หลั่งไหลเข้ามา ไม่ว่าจะเป็นธัญพืชจากชิลี กาแฟและโกโกจากเม็กซิโก มันเทศจากออสเตรเลีย อาหาร นํ้าตาลและข้าวจากจีน รวมไป
ถึงสินค้านำ�เข้าจากญี่ปุ่น และที่ขาดไม่ได้คือ แรงงานอพยพโดยเฉพาะชาวจีนที่เพิ่มจำ�นวนมากขึ้น จนต้องมีการออกกฎหมายควบคุมการอพยพ
เข้ามาของคนกลุ่มดังกล่าวขึ้นใน ค.ศ. 1882 ศึกษาเพิ่มเติมที่E. J. Hobsbawm. (1975). op, cit, pp. 62-63.
64 การแพร่ระบาดนี้คร่าชีวิตผู้คนทั้งในลาตินอเมริกา แอฟริกาและนิวซีแลนด์ไปเป็นจำ�นวนมาก และยังส่งผลกระทบด้านลบต่อระบบ
นิเวศน์ของดินแดนเหล่านี้โดยเฉพาะที่นิวซีแลนด์ ที่ต้องสูญเสียพื้นที่ป่าธรรมชาติจำ�นวนมากให้กับการเปิดพื้นที่ทางการเกษตรและปศุสัตว์ (การ
เลี้ยงแกะเพื่อส่งออกผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวเนื่องโดยเฉพาะขนแกะ) อันเป็นรายได้หลักของอาณานิคมแห่งนี้ ศึกษาเพิ่มเติมที่Jonathan Hardt. (2008).
op, cit, pp. 171-173, 211-214.
ลขิ สิทธข์ิ องมหาวทิ ยาลยั สุโขทยั ธรรมาธริ าช