Page 62 - สังคมโลก
P. 62

6-22 สังคมโลก

ตอนท่ี 6.2
จักรวรรดนิ ิยมใหมใ่ นชว่ งคริตส์ศตวรรษท่ี 20

โปรดอ่านหัวเรื่อง แนวคิด และวัตถุประสงค์ของตอนที่ 6.2 แล้วจึงศึกษารายละเอียดต่อไป

  หัวเร่ือง

         6.2.1 	จักรวรรดินิยมใหม่
         6.2.2 	การเปลี่ยนแปลงของจักรวรรดินิยมใหม่ในศตวรรษที่ 20

  แนวคิด

         1. 	จ ักรวรรดินิยมใหม่ ในลักษณะที่เน้นการรวบอำ�นาจเข้าสู่ศูนย์กลางภาครัฐเพื่อกำ�หนดและบริหาร
            นโยบาย เปน็ ผลมาจากการพฒั นาขึน้ มากของกระบวนการการท�ำ ใหเ้ ปน็ อตุ สาหกรรม (industriali-
            sation) ในยุโรป ทำ�ให้การขยายตัวและการต่อต้านจักรวรรดินิยมเป็นไปอย่างรวดเร็วและรุนแรง
            ยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการขยายตัวเข้าไปตอนในของทวีปแอฟริกา อินเดีย และจีน

         2. 	คริสต์ศตวรรษที่ 20 ต้องเผชิญกับสงครามโลกถึงสองครั้ง เพราะความเปลี่ยนแปลงในโครงสร้าง
            อำ�นาจระดับโลก  แมส้ หรฐั อเมรกิ า องั กฤษและสหภาพโซเวยี ตจะเปน็ แกนน�ำ ในการยตุ สิ งครามโลก
            ครง้ั ท่ี 2 แต่ไม่อาจจะปฏิเสธได้ว่า สหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตมีความโดดเด่นในการกำ�หนด
            ทิศทางทางสังคมโลกในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งเรียกกันว่าสงครามเย็น ในช่วงเวลาที่
            ความขัดแย้งจากโครงสร้างจักรวรรดินิยมแบบเดิม ถูกผูกโยงเข้ากับความแตกต่างของอุดมการณ์
            ทางการเมือง เม็ดเงินมหาศาลจากสหรัฐอเมริกามีส่วนท�ำ ให้เศรษฐกิจโลกฟื้นตัว จนเสริมให้ปัจจัย
            ทางเศรษฐกิจมีบทบาทเด่นชัดในการผลักดันให้หลายประเทศแข็งแกร่งขึ้น และกลายเป็นคู่แข่ง
            กับสหรัฐอเมริกาที่อ่อนด้อยลงโดยเฉพาะในช่วงทศวรรษ 1960-1970 จากการพ่ายแพ้ในสงคราม
            เวียดนาม แต่ยุโรปและญี่ปุ่นกลับแข็งแกร่งขึ้น

  วัตถปุ ระสงค์

         เมื่อศึกษาตอนที่ 6.2 จบแล้ว นักศึกษาสามาถ
         1. 	อธิบายความหมายของจักรวรรดินิยมใหม่ และเชื่อมโยงกับการเข้าแย่งชิงพื้นที่ในแอฟริกา

            (scramble for Africa) ของจักรวรรดิตะวันตกได้
         2. 	อธิบายความเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างจักรวรรดินิยมตะวันตกหลังสงครามโลกทั้งสองครั้ง และ

            การขยายตัวของจักรวรรดินิยมอเมริกาในยุคสงครามเย็นได้

                             ลิขสทิ ธิข์ องมหาวทิ ยาลัยสุโขทยั ธรรมาธิราช
   57   58   59   60   61   62   63   64   65   66   67