Page 58 - สังคมโลก
P. 58

6-18 สังคมโลก

1815 ฝรั่งเศสก่อสงครามกับประเทศต่างๆ ในยุโรปมากมายภายใต้การนำ�ของ นโปเลียน โบนาปาร์ต (Napoléon
Bonaparte, 1769-1821)

       เมื่อความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจของอังกฤษ ต้องเผชิญกับการขาดสภาพคล่องทางการเงิน เพราะต้องแบกรับ
ภาระหนี้จากการกู้ยืนจำ�นวนมหาศาล จากการทำ�สงครามมากมายรวมถึงสงครามกับสหรัฐอเมริกา (สงครามประกาศ	
อิสรภาพ) กอปรกับการขาดแคลนรายได้จากการสูญเสียสหรัฐอเมริกา รัฐบาลอังกฤษในขณะนั้นต้องระงับการจ่าย
ค่าตอบแทนภาคเอกชนในรูปของทองคำ� โดยหันมาใช้ธนบัตรที่กำ�หนดมูลค่าไว้ที่ 1 ปอนด์สเตอริง เพื่อบรรเทายอด
หนี้สินรวมของจักรวรรดิซึ่งอาจจะเพิ่มสูงถึงระดับ 876 ล้านปอนด์ใน ค.ศ. 1816 วิลเลียม พิตต์ (William Pitt the
Younger 1759-1806)50 นายกรฐั มนตรแี ละรฐั มนตรคี ลงั ในชว่ งเวลานั้นยงั ไดน้ ำ�ระบบการเกบ็ ภาษรี ายได้ มาใชค้ วบคู่
กับระบบธนบัตรที่เรียกกันว่า “ปอนด์กระดาษ” (paper pound)51เพื่อเสริมความแข็งแกร่งทางการเงินให้ลอนดอน
ซึ่งเริ่มแสดงบทบาทเป็นศูนย์กลางกิจการทางการเงินระหว่างประเทศ โดยมีกลุ่มแบริ่งส์ (the Barings)52 และกลุ่ม
รอธส์ไชด์ (House of Rothschild) เป็นแกนนำ�สำ�คัญ53

       การที่อังกฤษได้ครองดินแดนในอินดีสตะวันตกและตะวันออก แหลมกู๊ดโฮป โคลัมโบ และมะละกาจาก
สเปนและฮอลันดา ทำ�ให้การค้าของอังกฤษขยายตัวถึงสองเท่า (ในช่วง ค.ศ. 1794-1816) นวัตกรรมและอุตสาหกรรม
ที่เกี่ยวข้องหรือได้รับผลกระทบจากการสงครามและการทหารรุ่งเรืองขึ้นมากไม่ว่าจะเป็นการผลิตนํ้าตาลจากพืช
ประเภทหัว (beet-sugar) เพื่อทดแทนการนำ�เข้านํ้าตาลอ้อยจากอินดีสตะวันตก เช่นเดียวกับการผลิตอาหารกระป๋อง
เนือ่ งจากความจำ�เป็นที่ราชนาวีอังกฤษต้องการเก็บรักษาอาหารไว้บนเรือเปน็ เวลานาน ไม่วา่ จะอย่างไร ฝา้ ยและกจิ การ
ที่เกี่ยวข้อง คือ กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ทำ�กำ�ไรสูงสุด โดยมีแรงงานทาสเป็นองค์ประกอบสำ�คัญไม่ต่างจากความ	
เฟื่องฟูของนํ้าตาลและกิจการที่เกี่ยวข้องในยุคก่อนหน้า54

	 50 	วิลเลียม พิตต์ (William Pitt the Younger, 1759-1806) นักการเมืองอายุน้อยที่ขึ้นดำ�รงตำ�แหน่งนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีคลัง
ของอังกฤษใน ค.ศ. 1783 ด้วยวัยเพียงแค่ 24 ปี พิตต์ออกจากตำ�แหน่งใน ค.ศ. 1801 และกลับเข้าดำ�รงตำ�แหน่งอีกครั้งใน ค.ศ. 1804 และดำ�รง
ตำ�แหน่งจนถึงแก่อสัญกรรมใน ค.ศ. 1806 ในระหว่างดำ�รงตำ�แหน่งนายกรัฐมนตรีพิตต์ยังได้ดำ�รงตำ�แหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอีก
ด้วย ศึกษาเพิ่มเติมที่http://www.en.wikipedia.org/William_Pitt_the_Younger accessed on 19 August 2010 	
	 51 	ใน ค.ศ. 1797 แม้ธนบัตรที่เรียกกันในยุคนั้นว่า “ปอนด์กระดาษ” (paper pound) เพิ่งจะมีมูลค่าจริงตามที่ก�ำ หนดใน ค.ศ. 1821 แต่
ช่วงระหว่างสงครามนโปเลียนธนบัตรนี้ก็ยังสามารถรักษาเสถียรภาพด้านมูลค่าได้เป็นอย่างดี หากปัญหานี้ไม่ได้รับการแก้ไขอย่างทันท่วงที ยอด
หนี้ของจักรวรรดิอังกฤษคงเพิ่มสูงจากระดับ 228 ล้านปอนด์ใน ค.ศ. 1793 เป็นอย่างมาก ศึกษาเพิ่มเติมที่E. J. Hobsbawm. (1962/1991). op,
cit., p. 120.	
	 52 	ธนาคารแบริ่งถือได้ว่าเป็นธนาคารพาณิชย์ (merchant banks) แห่งแรกของอังกฤษก่อตั้งขั้นใน ค.ศ. 1762 โดยฟรานซิส (Francis)
ผู้เป็นพ่อ และจอห์น (John) ลูกชายคนโต เริ่มขยายกิจการแบบก้าวกระโดดด้วยการเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการขายหลุยส์เซียน่า (Louisiana
purchase) ซึ่งต่อนั้น (ค.ศ. 1802) อยู่ในการครอบครองของฝรั่งเศสให้กับสหรัฐอเมริกา แม้จะผ่านร้อนผ่านหนาวมามากและเข้าไปเกี่ยวข้องกับ
กิจการทางการทหารของรัฐบาลอังกฤษมามาก แบริ่งส์ก็มาถึงจุดจบใน ค.ศ. 1995 เมื่อนิก ลีสัน (Nick Leeson) พนักงานธนาคารซึ่งประจำ�อยู่ที่
สาขาในสิงคโปร์สูญเสียเงินจากการเก็งกำ�ไรในตลาดซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าถึง 827 ล้านปอนด์ใน  ค.ศ. 1995 ศึกษารายละเอียดเพิ่ม
เติมได้ที่ http://en.wikipedia.org/wiki/Barings_Bank accessed on 20 August 2010 	
	 53 	E. J. Hobsbawm. (1962/1991). op, cit., pp. 121-122.	
	 54 	Jonathan Hart. (2008). op, cit., pp. 137-139, E. J. Hobsbawm. (1962/1991). op, cit., p. 122.	

                             ลขิ สทิ ธข์ิ องมหาวทิ ยาลัยสโุ ขทยั ธรรมาธริ าช
   53   54   55   56   57   58   59   60   61   62   63