Page 53 - สังคมโลก
P. 53
จักรวรรดินิยม 6-13
ติดต่อทางศาสนาจากโรม ความจากเอกสาร “Inter Caetera” เท่ากับรับรองอิทธิพลของโปรตุเกสต่อบราซิล และ
ดินแดนในแอตแลนติกที่มิใช่หมู่เกาะแคริบเบียน (Caribbean Islands) อันเป็นฐานในการผลิตนํ้าตาลของสเปน
โดยอาศัยแรงงานจากทาสเป็นสำ�คัญ จากเอกสารนี้สเปนได้เป็นผู้ดูแลทวีปอเมริกา ขณะที่เอเชียอยู่ภายใต้ร่มเงาของ
โปรตุเกส23
จักรวรรดิสเปนขยายตัวอย่างมากในยุคของพระเจ้าชาร์ลแห่งแฮปสเบิร์ก24 (Charles of Hapsburg)
ผู้ครองบัลลังก์สเปนและเยอรมนีในเวลาเดียวกัน และเสนอตัวเป็นผู้นำ�คาทอลิกต่อกรกับนิกายโปแตสแตนท์ ซึ่งนำ�
ไปสู่ความขัดแย้งกับฝรั่งเศสภายใต้การน�ำ ของราชวงศ์ Volois ที่พยายามแผ่อิทธิพลเข้าไปในย่านเมดิเตอร์เรเนียน
ทำ�ให้เกิดสงครามยืดเยื้อระหว่างกัน (ค.ศ. 1494-1516) สเปนในยุคนี้ยังมีเมืองเซบี (Seville) เป็นอีกหนึ่งศูนย์กลาง
การค้าและการเงิน นอกเหนือจากเมืองมาดริด25
การขยายตัวของจักรวรรดิสเปนในช่วงต้นศตวรรษที่ 16 เข้าไปยังตรินิแดด และบริเวณที่เรียกว่า “เกรเทอร์
แอนทิลลิส” (Greater Antilles) ซึ่งประกอบไปด้วยคิวบา จาไมกา ฮิสปานิโอลา และเปอร์โตริโก ช่วงนี้สเปนเริ่ม
แสดงออกถึงความโหดร้ายในการเข้ายึดครองดินแดนเพื่อแสวงหาโลหะมีค่า เช่น กรณีที่ เฮอร์นาน คอร์เตส (Hernàn
Cortès 1485-1547) เข้ายึดครองเม็กซิโก26 ในช่วงเวลานี้สเปนเริ่มมุ่งตะวันออกมาเอเชีย เมคเจเลนเสนอให้กษัตริย์
สเปนทบทวนการแบ่งเขตอิทธิพลกับโปรตุเกสด้วยการอ้างสิทธิเหนือหมู่เกาะฟิลิปปินส์ อย่างไรก็ตาม สเปนยัง
มุ่งหวังที่จะครอบครองดินแดนในทวีปอเมริกา ฟรานซิสโก ปิซาร์โร (Francisco Pizarro 1471/1476-1541) เข้ายึด
ครองอาณาจักรอินคา (Inca) ได้ใน ค.ศ. 1534 ด้วยความสูญเสียที่กว่าที่คอร์เตสก่อไว้ เพราะหวังใช้ประโยชน์แรงงาน
พืน้ เมอื ง และลดเสยี งวพิ ากษว์ จิ ารณข์ องฝา่ ยศาสนจกั ร พฒั นาการในเรือ่ งดงั กลา่ วมสี ว่ นชว่ ยใหก้ ารยดึ ครองฟลิ ปิ ปนิ ส์
ของสเปนใน ค.ศ. 1564 ลดระดับความรุนแรงลง27
นอกเหนือจากรายได้ที่มาจากเมืองเซบีแล้ว ความมั่งคั่งในยุคการขยายตัวของจักรวรรดิสเปนมาจาก 5
แหล่งหลัก ได้แก่ คาสทิล รัฐอิตาลีในเขตอิทธิพลโดยเฉพาะเจนัว อาณานิคมในทวีปอเมริกาซึ่งมีทั้งเหมืองทองและ
เงิน ตลอดจนการสนับสนุนของกลุ่มนายธนกิจวาณิชย์จากทางตอนใต้ของเยอรมนีโดยเฉพาะจากตระกูลฟุกเกอร์ส
(Fuggers) และเนเธอร์แลนด์โดยเฉพาะการเติบโตอย่างรวดเร็วของเมืองอันท์เวิร์ป (Antwerp) ในฐานะศูนย์กลาง
23 Immanuel Wallerstein. (1974). ibid., p. 335, Jonathan Hart. (2008). op,cit., pp. 26-27.
24 พระเจ้าชาร์ลเป็นผู้ที่ทำ�ให้ดุลแห่งอำ�นาจของยุโรปเอนเอียงไปในทางที่สเปนเป็นฝ่ายได้เปรียบ เพราะเป็นผู้นำ�ที่มีสิทธิโดยชอบธรรม
เหนือบัลลังก์ทั้งของสเปน และเยอรมนี เพราะมีฐานะเป็นพระราชนัดดาของทั้งกษัตริย์เฟอร์ดินาน แห่งสเปน และจักรพรรดิเม็กซิมีเลียนที่ 1 แห่ง
ออสเตรีย และอาณาจักรโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ พระเจ้าชาร์ลเป็นกษัตริย์สเปนที่ประสูติและเจริญพระชันษาที่เมืองเกนท์ (Ghent) ในเนเธอร์แลนด์
ใน ค.ศ. 1519 พระเจ้าชาร์ลได้รับเลือกให้เป็นจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ นอกเหนือไปจากการเป็นดุ๊กแห่งเบอร์กันดี กษัตริย์ชาร์ลที่ 1 แห่ง
สเปน และจักรพรรดิชาร์ล ที่ 5 แห่งออสเตรีย ชาร์ลมีดินแดนมรดกในครอบครองมากมายไม่ว่าจะเป็น สเปน เยอรมนีตอนใต้ โบฮีเมีย ฮังการี
Franche-Comte อันเป็นดินแดนในคาบสมุทรบอลข่าน และยังมีดินแดนในเมดิเตอร์เรเนียน ไม่ว่าจะเป็นเนเปิลส์ ซิซิลี ซาร์ดิเนีย และบาลาริดส์
ศึกษาเพิ่มเติมที่ Immanuel Wallerstein. (1974). op,cit., p. 170, Jonathan Hart. (2008). op,cit., pp. 28-29.
25 ในช่วงเวลานั้นดินแดนส่วนใหญ่ในย่านเมดิเตอร์เรเนียนอยู่ใต้ร่มเงาของสเปน ความขัดแย้งยิ่งขยายกว้างเมื่อชาร์ลได้รับเลือกให้เป็น
จักรพรรดิแห่งอาณาจักรโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ตำ�แหน่งที่พระเจ้าฟรานซิสที่ 1 (Francis I) แห่งฝรั่งเศสหมายปอง Immanuel Wallerstein. (1974).
op, cit., p. 171, Jonathan Hart. (2008). op, cit., p. 25
26 แม้จะเริ่มต้นด้วยการเจรจาอย่างสันติจนทูตของอาณาจักรแอซเทค (Aztec) จนคอร์เตสเข้าไปถึงเทโนชิต์ทล์าน (Tenochtitlan) เมือง
หลวงของอาณาจักรจนได้เข้าเฝ้ากษัตริย์มอนเตซูมา ที่ 2 (Montezuma II) แต่กลับจบลงด้วยการทำ�ลายล้างชีวิตและทรัพย์สินของชาวพื้นเมือง
ครั้งใหญ่ในปี ค.ศ. 1521 ศึกษาเพิ่มเติมที่ Jonathan Hart. (2008). op, cit., pp. 54-57.
27 ปิซาร์โรเข้าจับกุมและสังหารอทาฮัวปา (Atahualpa) จักรพรรดิอินคาและเข้ายึดครองคุซโค (Cuzco) เมืองหลวงของอาณาจักรอินคา
ดว้ ยความสญู เสยี ทีน่ อ้ ยกวา่ ผลงานของคอรเ์ ตส เพราะมุง่ หวงั ควบคมุ แรงงานชนพืน้ เมอื ง เพือ่ ใหเ้ ปน็ ก�ำ ลงั ส�ำ คญั ในการท�ำ ปศสุ ตั ว์ ผลติ นํา้ ตาล และ
ยาสูบ และเพื่อบรรเทาเสียงวิพากษ์วิจารณ์ของบาทหลวงนิกายโดมินิกัน ถึงความป่าเถื่อนโหดร้ายที่ชาวสเปนกระท�ำ ต่อชาวพื้นเมือง Immanuel
Wallerstein. (1974). op, cit., p. 335, Jonathan Hart. (2008). op, cit., pp. 25, 42, 80.
ลิขสิทธ์ิของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธริ าช