Page 55 - สังคมโลก
P. 55

จักรวรรดินิยม 6-15

แม้กระทั่งการประกันภัย33 ซึ่งเท่ากับช่วยดึงดูดให้ทั้งชาวโปรตุเกสและสเปนเชื้อสายยิวจากอันท์สเวิร์ป หลั่งไหลเข้าสู่
อัมสเตอร์ดัม เมืองที่เป็นชุมทางสินคา้ อุปโภคบรโิ ภคในชวี ติ ประจ�ำ วัน ไม่ว่าจะเป็นนํา้ ตาลจากบราซลิ และเวสตอ์ ินดีสต์	
และสินค้าราคาแพง เช่น ไหมและเครื่องเทศจากเอเชีย34 เป็นต้น

       ความสำ�เร็จเช่นนี้มีบริษัท Vereenigde Oost-Indische Compagine (VOC, 1602-1798) หรือดัทช์อีสต์	
อินเดีย (Dutch East India) และบริษัท Geoctroyeerde Westindische Compagnie (GWIC 1621-1791)
หรือดัทช์เวสต์อินเดีย (Dutch West India) เป็นองค์ประกอบสำ�คัญ กลุ่มพ่อค้าจาก VOC เป็นกลุ่มแรกที่สามารถ
เข้าไปตั้งสถานีการค้าถึงญี่ปุ่นที่ฮิราโด นางาซากิ (ค.ศ. 1613)35 ในช่วงเวลาเดียวกันนี้เวสต์อินเดียนำ�โดยกลุ่มพ่อค้าที่
ยึดมั่นในนิกายคาลวินท์ (Calvinism) ได้ขยายเส้นทางการค้าและการตั้งรกรากเข้าไปยังดินแดนทางตอนเหนือของ	
ทวีปอเมริกา จนสามารถตั้งเมืองนิวอัมสเตอร์ดัมได้อย่างมั่นคง ต่อมาเมืองนี้ได้เปลี่ยนชื่อเป็นนิวยอร์ก (New York)
เมื่ออังกฤษเข้ายึดครองใน ค.ศ. 1664 เมืองนี้เองคือรากฐานสำ�คัญในการขยายแนวคิดและการดำ�เนินการตามแบบ
ทนุ นยิ มในฐานะวถิ ที างสงั คมคูข่ นานไปกบั เทววทิ ยาแบบคาลวนิ ท3์ 6 ซึง่ เปน็ แนวคดิ พืน้ ฐานในการอธบิ ายกลไกในระดบั
ความคิด และจิตสำ�นึกถึงความก้าวหน้าของระบบทุนนิยมตามทัศนะของเม็กซ์ เวเบอร์ (Max Weber)37

       ขณะเวสต์อินเดียเริ่มได้รับแรงกดดันจากกองเรืออังกฤษ VOC เข้าแสวงหาผลประโยชน์ในชวาตั้งแต่ ค.ศ.
1596 และยังแสดงความแข็งแกร่งด้วยการยึดครองโมลุกกะ (Moluccas) หรือหมู่เกาะเครื่องเทศจากโปรตุเกสได้
ตั้งแต่ ค.ศ. 1605 ในช่วง ค.ศ. 1615-1619 ยังสามารถลดความสำ�คัญของบริษัทบริติชอีสต์อินเดียที่เมืองแบนตัม
(Bantam) ในเกาะชวา ซึ่ง VOC เปลี่ยนชื่อเป็นปัตตาเวีย (Batavia)38 และตั้งเป็นศูนย์การบริหารการค้าในเอเชีย
แบบเดียวกับที่โปรตุเกสมีเมืองกัวในอินเดีย VOC เริ่มเปิดเส้นทางและเพิ่มปริมาณการค้าในย่านอ่าวเบงกอลใน	
ยุคราชวงศ์โมกุลเมื่อ ค.ศ. 1605 แม้อังกฤษจะพยายามรุกเข้าอินเดียในเวลาใกล้กันแต่ก็ตั้งมั่นได้หลังดัทช์ โดยใน	
ชว่ งศตวรรษที่ 17 องั กฤษมสี ถานกี ารคา้ หลกั อยูท่ ีม่ ทั ราส (Madras, 1640) บอมเบย์ (Bombay, 1687) หรอื ปจั จบุ นั คอื 	
	
	

	 33 	เนเธอรแ์ ลนดป์ ระสบความสำ�เรจ็ อยา่ งงดงามในการใชก้ งั หนั ขนาดใหญว่ ดิ นํา้ ออกจากทีล่ ุม่ ตํา่ และสง่ นํา้ ไปตามคลองชลประทาน เพือ่ เปดิ
พื้นที่การเกษตรเชิงพาณิชย์ไม่ว่าจะเป็นการปลูกธัญพืช เช่น ข้าวสาลี และการปลูกไม้ดอกไม้ประดับ แม้กระทั่งการพัฒนาพื้นที่ปศุสัตว์ เทคโนโลยี
ด้านการอุตสาหกรรมไม่ว่าจะเป็นการทอผ้า การผลิตนํ้าตาลและการต่อเรือ Immanuel Wallerstein. (1980). The Modern World-System II:
Mercantilism and the Consolidation of the European World-Economy, 1600-1750. New York: Academic Press, pp. 38-43.	
	 34 	Jonathan Hart. (2008). op, cit., p. 101.	
	 35 	ฮิราโด ในเขตจังหวัดนางาซากิ เป็นเมืองท่าสำ�คัญของญี่ปุ่นในการค้าขายกับตะวันตก ชาวโปรตุเกสเป็นชาติแรกที่มาถึงเมืองนี้เมื่อ
ค.ศ. 1550 ตามมาด้วยอังกฤษและเนเธอร์แลนด์ VOC ได้รับอนุญาตจากโชกุน โตกุกาวา อิเอยาสุ (Tokugawa Ieyasu, 1543-1616) ที่เอโดะ
ให้เข้ามาตั้งสถานีการค้าได้ตั้งแต่ ค.ศ. 1609 ก่อนที่จะสามารถตั้งมั่นได้จริงใน ค.ศ. 1613 ภายใต้การควบคุมดูแลของตระกูลฮิราโด ซึ่งดำ�รง
ตำ�แหน่งไดเมียว (ผู้ครองแคว้น) ในเขตนั้น VOC ประสบความสำ�เร็จได้เพราะความช่วยเหลือของวิลเลียม อดัมส์ (William Adams, 1564-1620)	
ชาวอังกฤษคนแรกที่เดินทางไปถึงญี่ปุ่น เมื่อ ค.ศ. 1600 หลังจากเดินทางไปกับเรือของบริษัทการค้าจากเมืองร็อตเตอร์ดัม (Rotterdam) ซึ่ง
เต็มไปด้วยสินค้า เช่น อาวุธปืนใหญ่ทองสัมฤทธิ์ 19 กระบอก กระสุนปืนใหญ่ 5,000 นัด ปืนมัสเก็ตส์ 500 กระบอกพร้อมเครืองกระสุน ศึกษา	
เพิ่มเติมที่ http://en.wikipedia.org/wiki/Hirado,_Nagasaki และ http://en.wikipedia.org/wiki/William_Adams_(sailor) accessed
on 23 September 2010 	
	 36	 R. H. Tawney. (1958). ‘Forward’ in Max Weber The Protestant Ethic and the Spirit of Capitalism (translated by
Talcott Parson) New York: Charles Scribner’s Sons, p. 2. 	
	 37 	Max Weber. (1958). The Protestant Ethic and the Spirit of Capitalism, pp. Introduction, 47-78.
	 38 	ศกึ ษาเพิ่มเติมแบบย่อเกีย่ วกับความเปลี่ยนแปลงของอาณาจกั รชวา จากการเขา้ มามอี ิทธิพลของบริษทั การคา้ จากตะวนั ตกได้ที่ http://
enwikipedia.org/wiki/Dutch_East_India_Company , http://en.wikipedia.org/wiki/History_of_Jakarta accessed on 23 September
2010.

                              ลิขสิทธข์ิ องมหาวทิ ยาลยั สุโขทัยธรรมาธริ าช
   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59   60