Page 56 - สังคมโลก
P. 56
6-16 สังคมโลก
เมืองมุมไบ (Mumbai) และเบงกอล (Bengal, 1690)39 การขยายตัวอย่างมากในช่วงเวลาเช่นนี้ ทำ�ให้ VOC แทบ
ไม่ได้รับผลกระทบมากนักเมื่อฟอร์ตซีแลนเดีย (Fort Zeelandia) ในไต้หวันต้องเผชิญกับกองก�ำ ลังกู้ชาติหมิงภาย
ใต้การนำ�เจิ้งเฉิงกุง (Zhçng ChènggOng, 1624-1662) ใน ค.ศ. 1661-6240
ในช่วงเวลานี้การแข่งขันทางฝั่งตะวันตกเริ่มรุนแรง อังกฤษและฝรั่งเศสต่างขยายบทบาทในการยึดครอง
แอฟริกา แคริบเบียน และทวีปอเมริกา บริษัทเวสต์อินเดียยึดครองภาคตะวันออกเฉียงเหนือของบราซิลในช่วงที่
โปรตุเกสกำ�ลังอ่อนแอ เพื่อผลประโยชน์จากอุตสาหกรรมนํ้าตาล ก่อนที่จะถูกผลักดันออกไปใน ค.ศ. 1654 เพราะ
โปรตุเกสได้รับการสนับสนุนของอังกฤษ ก่อนหน้านั้นเพียงสองปี (ค.ศ. 1652) VOC ได้ตั้งสถานีการค้าขึ้นที่แหลม
กู๊ดโฮปเพื่อปกป้องและสนับสนุนเส้นทางการค้าสู่ตะวันออก เพราะสงครามกับอังกฤษ (Anglo-Dutch War) เกิดขึ้น
อยู่หลายครั้ง (ค.ศ. 1652-54, 1665-67) จนทำ�ให้สถานะของอัมสเตอร์ดัมและเนเธอร์แลนด์อ่อนแอลง การอภิเษก
สมรสระหว่างพระเจ้าวิลเลียมแห่งออร์แรนจ์ (William of Orange, 1605-1702) จากเนเธอร์แลนด์ กับพระนางแมร ี
ที่ 2 แห่งอังกฤษ (Mary II of England, 1662-1694) ใน ค.ศ. 1689 หลังการปฏิวัติอันรุ่งโรจน์ (the Glorious
Revolution, 1688) ของอังกฤษช่วยบรรเทาความตึงเครียดไปได้บ้าง แต่ก็ยังเกิดสงครามระหว่างดัทช์กับอังกฤษขึ้น
อีก (ค.ศ. 1672-74, 1780-84) เท่ากับเป็นการเร่งความเสื่อมสลายในการครองความเป็นเจ้าของเนเธอร์แลนด์ โดย
เฉพาะเมื่อ VOC ต้องยุติบทบาทใน ค.ศ. 1795 ปีที่ฝรั่งเศสเข้ายึดครองเนเธอร์แลนด4์ 1
ความสำ�คัญของเนเธอร์แลนด์ในช่วงศตวรรษที่ 17 ก็คือ การเป็นผู้วางรากฐานการขยายการเชื่อมต่อระหว่าง
แอฟรกิ า ยโุ รป และอสี ตอ์ นิ ดสี ใหก้ บั องั กฤษทีจ่ ะครองความยิง่ ใหญต่ อ่ ไป การวางรากฐานการคา้ ในลกั ษณะสามเหลีย่ ม
(triangular trade) ทำ�ให้เกิดการหมุนเวียนของสินค้าและเงินทุน โดยที่แอฟริกาเป็นผู้ผลิตฝ้าย นํ้าตาล และยาสูบให้
กับยุโรปโดยอาศัยแรงงานทาส ตลอดจนเป็นแหล่งเหมืองเงิน สำ�หรับการซื้อชา และเครื่องเทศของยุโรปจากเอเชีย42
39 แม้อังกฤษจะเริ่มเข้าไปตั้งสถานีการค้าที่สุรัต (Surat) ทางฝั่งตะวันตก และที่เมืองมาสุลิปาทาม (Masulipatnam) ทางฝั่งตะวันออก
ของอินเดียตั้งแต่ ค.ศ. 1611 แต่ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 17 ดัทช์ก็ยังคงมีบทบาทโดดเด่นกว่าชาติตะวันตกอื่นใดในอินเดีย โดยมีฐานอยู่ที่เมือง
มาสุลิปาทาม (Masulipatnam) และเข้ายึดครองเมืองปุลิคัต (Pulicat) ทางตะวันออกเฉียงใต้ของอินเดีย จากโปรตุเกสได้ใน ค.ศ. 1609 เพื่อ
นำ�เข้าผ้ามัสลิน ผ้าฝ้าย (calicoes) ฝิ่น เกลือ เครืองเทศ ตลอดจนเส้นไหมดิบ ใน ค.ศ. 1640 VOC ยังสามารถยึดครองโคชิน (Cochin) ทาง
ฝั่งตะวันตกเฉียงใต้ของอินเดียจากโปรตุเกส ศึกษาเพิ่มเติมที่ http://en.wikipedia.org/wiki/British_India, http://en.wikipedia.org/
wikiMadras_Presidency, http://en.wikipedia.org/Dutch_India#Dutch_Bengal, http://en.wikipedia.org/wiki/Cochin , http://
en.wikipedia.org/wiki/Masulipatnam , http://en.wikipedia.org/wiki/Pulicat accessed on 23 September 2010
40 VOC เข้ายึดครองพื้นที่เมืองอันผิง (Anping) บนเกาะฟอร์โมซา (Formosa) และใช้เวลาถึงสิบปี (ค.ศ. 1624-34) ในการสร้างป้องปืน
และสถานีการค้า แต่ก็ไม่อาจครอบครองป้อมนี้ได้นานเพราะปัญหาความยุ่งยากในการเปลี่ยนราชวงศ์จากหมิงเป็นราชวงศ์ชิงใน ค.ศ. 1644 อันเป็น
ปีที่ชาวแมนจูสามารถเข้ายึดครองปักกิ่งด้วยความช่วยเหลือของอู๋ซานกุ้ย (Wù Sàngui, 1612-1678) แม่ทัพชาวฮั่น ซึ่งสถาปนาราชวงศ์ของตนขึ้น
ท้าทายอำ�นาจที่ปักกิ่งในช่วงบั้นปลายของชีวิต ก่อนที่จะถูกปราบปรามลงได้ในสมัยจักรพรรดิคังซีเมื่อ ค.ศ. 1681 แม้จะมีกองเรือ 400 ลำ� ทหาร
2,000 นาย และกองกำ�ลังสนับสนุนอีกราว 25,000 คน แต่ VOC ก็ยังไม่สามารถปกป้องสถานีการค้าแห่งนี้ได้ ดูเพิ่มเติมที่ http://en.wikipedia.
org/wiki/Koxinga , http://en.wikipedia.org/wiki/Wu_Sangui, http://en.wikipedia.org/wiki/Fort_Zeelandia_(Taiwan) accessed
on 23 September 2010
41 Immanuel Wallerstein. (1980). op, cit., pp. 46-48, 77, Jonathan Hart. (2008). op, cit., pp. 104-106.
42 Immanuel Wallerstein. (1980). op, cit., p. 77.
ลขิ สิทธ์ิของมหาวทิ ยาลยั สุโขทยั ธรรมาธิราช