Page 54 - สังคมโลก
P. 54

6-14 สังคมโลก

การค้าและการเงิน ที่เชื่อมต่อกับทวีปอเมริกาข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก เมืองนี้เป็นจุดหลักในการติดต่อกับนาย
วาณิชย์จากอังกฤษและโปรตุเกส28

       สถานการณ์ของจักรวรรดิสเปนเริ่มเปลี่ยนแปลง นับจากกลางศตวรรษที่ 16 เมื่อรัฐเยอรมนีต่างๆ พยายาม
แยกตัวเป็นอิสระ การสิ้นสุดยุคสมัยของพระเจ้าชาร์ลและการก้าวขึ้นสู่บัลลังก์ของพระเจ้าฟิลิปส์ ที่ 2 (Phillips II
1527-1598) ใน ค.ศ. 1556 พร้อมกับมรดกหนี้มูลค่าถึง 20 ล้านดูคาตส์ (ducats) เนื่องจากสงครามยืดเยื้อในหลาย
ที่โดยเฉพาะกับฝรั่งเศส จนทั้งสองอาณาจักรประกาศล้มละลายใน ค.ศ. 1557 ตามมาด้วยความขัดแย้งกับชาวดัทช์
(Dutch) จนนำ�ไปสู่ “การปฏิวัติเนเธอร์แลนด์” (the Netherlands Revolutions, 1566, 1568-1609) เพื่อความเป็น
อิสระจากสเปน29 ความบอบชํ้าของสเปนทำ�ให้เมืองอัมสเตอร์ดัม (Amsterdam) ก้าวขึ้นมาเป็นศูนย์กลางการค้า การ
เงินและการลงทุนอย่างชัดเจนแทนที่อันท์สเวิร์ปและเซบี ความอ่อนแอเช่นนี้นำ�ไปสู่ความพ่ายแพ้ยับเยินของกองเรือ	
อามาดา (Amada) อันยิ่งใหญ่ของสเปนต่อกองเรือของอังกฤษในยุคสมัยพระนางอลิสซาเบธที่ 1 (Elizabeth I 1533-
1603) ใน ค.ศ. 1588 ยุคสมัยที่อังกฤษเริ่มขยายเส้นทางการค้ามายังตะวันออกอย่างจริงจัง ด้วยการอนุญาตให้มีการ
จัดตั้งบริษัทอีสต์อินเดีย (East India Company or British East India Company) ขึ้นใน ค.ศ. 160030

       สเปนเริ่มต้นศตวรรษที่ 17 ด้วยการประกาศล้มละลายอีกครั้ง (ค.ศ. 1607) และด้วยความอ่อนแอดังกล่าว
ทำ�ให้ต้องทำ�สนธิสัญญาสงบศึกกับเนเธอร์แลนด์31 ซึ่งเท่ากับเป็นการยอมรับความเป็นอิสระของเนเธอร์แลนด์ ก่อน
ที่จะต้องให้อิสรภาพอย่างเป็นทางการผ่านสนธิสัญญาเวสต์ฟาเลีย (Treaty of Westphalia) ใน ค.ศ. 1648 และยัง
ต้องลงนามในสนธิสัญญาปิเรนิส (Treaty of Pyrenees) กับฝรั่งเศสในสมัยหลุยส์ที่ 14 (Louis XIV, 1638-1715)
โดยที่ฝรั่งเศสเปน็ ฝ่ายไดเ้ ปรียบ ก่อนทีจ่ ะจบท้ายด้วยการคนื อสิ ระภาพให้กับโปรตุเกสใน ค.ศ. 1668 หลงั จากที่ผนวก
โปรตุเกสเข้าเป็นส่วนหนึ่งของสเปนมาตั้งแต่ ค.ศ. 158032

       จักรวรรดิเนเธอร์แลนด์ ฮอลแลนด์ (Holland) หรือเนเธอร์แลนด์ก้าวขึ้นสู่สถานะการครองความเป็นเจ้า
(hegemony) ในช่วงศตวรรษที่ 17 ด้วยความสามารถในการรวบรวมผลประโยชน์อันหลากหลายของกลุ่มต่างๆ ไม่
ว่าจะเป็นผู้ปกครอง นายวาณิชย์ ปัญญาชนและช่างฝีมือ ไปจนกระทั่งชาวนาและแรงงานในสังคม ให้สอดคล้องผ่าน
ความเหนือชั้นด้านเทคโนโลยีทางการเกษตรเชิงพาณิชย์ และอุตสาหกรรมโดยเฉพาะการต่อเรือ ซึ่งประการหลังนี้เอง	
ที่ช่วยทำ�ให้เนเธอร์แลนด์ครองความเป็นเจ้าในการทำ�ประมงแฮริ่งส์ (Herrings) ในทะเลนํ้าลึกย่านทะเลเหนือและ
ไอซ์แลนด์ (รวมไปถึงการจับปลาวาฬ) ซึ่งเป็นแหล่งโปรตีนหลักของชาวยุโรปในสมัยนั้น เนเธอร์แลนด์ยังมีการ
พัฒนาอย่างมากในเรื่องของการคมนาคมขนส่งโดยเฉพาะทางนํ้า จนกลายเป็นศูนย์กลางการค้า การเงิน การลงทุน	

	 28	 Immanuel Wallerstein. (1974). ibid., pp. 173, 175-177, Jonathan Hart. (2008). op, cit., p. 58.	
	 29 	Immanuel Wallerstein. (1974). ibid., p. 204. and http://enwikipedia.org/wiki/Dutch_Revolt accessed on 23 December
2010.	
	 30 	บรรดานายวาณิชย์ในลอนดอนได้เรียกร้องให้พระนางอลิสซาเบธที่ 1 ให้การสนับสนุนการขยายเส้นทางการค้าสู่เอเชียหลังจากที่สเปน
พ่ายแพ้ในสงครามอามาดา กลุ่มคนเหล่านี้ออกทุนสนับสนุนหลายหมื่นปอนด์จัดหากองเรือและทหารรับจ้างในการเดินทางมายังเอเชีย โดยใน ค.ศ.
1591 ได้เดินทางอ้อมแหลมกู๊ดโฮปมายังย่านทะเลอาระเบียใน ค.ศ. 1594 เดินทางมายังคาบสมุทรมลายู และถึงแบนตัมในชวาในอีกสองปีต่อมา
เพือ่ ปกป้องผลประโยชนท์ ี่มีมากขึ้นในทีส่ ุด พระนางอลิสซาเบธที่ 1 ก็ได้พระราชทานอนุญาตเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม ค.ศ. 1600 ให้ จอร์จ คลิฟฟอรด์ 	
(George Clifford) เอิร์ลแห่งคัมเบอร์แลนด์ (the 3rd Earl of Cumberland) อัศวิน และนายวาณิชย์ชาวลอนดอน ได้รับสิทธิผูกขาดการค้า
ในเอเชีย ภายใต้ชื่อ ‘Governor and Company of Merchants of London Trading with East Indies’ หรือที่รู้จักกันในนามของบริษัท	
อีสต์อินเดีย โดยมีการเปิดเส้นทางการค้าในนามของบริษัทมายังเอเชียใน ค.ศ. 1601 เพิ่มเติมที่ http://en.wikipedia.org/wiki/East_In-
dia_Company accessed on 23 September 2010
	 31 	Immanuel Wallerstein. (1974). op,cit., pp. 181, 184, 194, 196, 204, 214, Jonathan Hart. (2008). op,cit., pp. 59-60.	
	 32 	Jonathan Hart. (2008). ibid., p. 98.	

                             ลิขสิทธ์ิของมหาวทิ ยาลยั สุโขทยั ธรรมาธิราช
   49   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59