Page 48 - สังคมโลก
P. 48
6-8 สังคมโลก
ขยายดินแดนจะต้องมีความพร้อมในเรื่องกำ�ลังทรัพย์ และจำ�นวนประชากรที่จะเป็นผู้ไปตั้งถิ่นฐาน และ 3) จะต้องมี
ความพร้อมในเรื่องเครื่องไม้เครื่องมือทางเทคนิคเพื่อเอาชนะอุปสรรคทางธรรมชาติ7
เจ เอ ฮอบสัน (J. A. Hobson) ดูจะมีความชัดเจนมากกว่าโรสในประเด็นความเกี่ยวโยงของจักรวรรดินิยม
กับเศรษฐกิจ ฮอบสันกล่าวไว้อย่างชัดเจนในงานที่ตีพิมพ์ใน ค.ศ. 1902 ว่า การคาดคำ�นวณทางเศรษฐกิจถึงการ
ลงทุนและประโยชน์ทางการค้า คือ มูลเหตุหลักที่ทำ�ให้จักรวรรดินิยมรุ่งเรือง มิพักต้องเอ่ยถึงการอาศัยดินแดนที่
ชาวยุโรปเพิ่งค้นพบและบุกเบิกเหล่านั้นเป็นแหล่งระบายประชากรที่เพิ่มขึ้นอย่างมากในเมืองใหญ่ที่เริ่มมีการปรับปรุง
การสาธารณสุข เช่น ลอนดอน ฮอบสันสรุปการครอบครองอาณานิคมของอังกฤษเอาไว้ว่ามีสามลักษณะ ซึ่งโดย
ส่วนมากจะดำ�เนินการสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน
1. อาณานิคมภายใต้การปกครองของราชบัลลังก์ (Crown colonies) ซึ่งราชสำ�นักดูแลในการออกกฎหมาย
และบริหารงานดินแดนเหล่านี้ โดยมีข้าราชการในสังกัดการปกครองภายใน (Home government) เป็นผู้กำ�กับดูแล
2. ดินแดนที่มีสถาบันใดสถาบันหนึ่งเป็นแกนหลักในการดูแล แม้ราชสำ�นักจะมีสิทธิคัดค้านการออก
กฎหมาย และเจ้าพนักงานการปกครองภายในจะมอี �ำ นาจในระดบั หนึ่งในกจิ การสาธารณะ แตก่ ไ็ ร้สทิ ธใิ นการปกครอง
3. ดินแดนที่แม้ราชสำ�นักยังคงมีสิทธิในการคัดค้านการออกกฎหมาย แต่เจ้าพนักงานการปกครองภายใน
ไร้อำ�นาจอื่นใด นอกจากอำ�นาจในการกำ�กับดูแลการทำ�งานของผู้ว่าการ (Governor)
ฮอบสันยังเน้นด้วยว่า การที่กิจการอาณานิคมและจักรวรดินิยมรุ่งเรือง เพราะมีกลุ่มชนที่เพลิดเพลินและ
ได้ประโยชน์จากการนี้ จนพยายามดำ�เนินการต่างๆ เพื่อให้รัฐบาลของตน (งานเขียนของฮอบสันให้ความสำ�คัญกับ
รัฐบาลอังกฤษเป็นหลัก) ด�ำ เนินนโยบายขยายดนิ แดนและล่าอาณานคิ มตอ่ ไป กลุม่ ดังกลา่ วไดแ้ ก่ กลุม่ พ่อคา้ นกั ธุรกจิ
ที่จัดตั้งในรูปของสมาคมหอการค้า อาทิ สมาคมจักรวรรดิแอฟริกาใต้ (Imperial South Africa Association) และ
กลุ่มที่ค้าขายกับเมืองจีน (China League) กลุ่มคนเหล่านี้ ซึ่งก็คือพวกชนชั้นนำ�และปัญญาชนยังได้อาศัยโครงข่ายที่
เชือ่ มโยงกบั โบสถ์ หนงั สอื พมิ พ์ สถาบนั การศกึ ษา ตลอดจนกลไกทางการเมอื ง เชน่ พรรคการเมอื ง เปน็ แหลง่ เผยแพร ่
ความคิดว่า ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและการพัฒนาศีลธรรมให้กับดินแดนเหล่านั้น เป็นสิ่งที่รัฐควรสนับสนุนและ
ดำ�เนินการควบคู่กันไป โดยมีพวกตนเป็นกลไกหลักในการทำ�หน้าที8่
วลาดิเมียร์ เลนิน (Vladimir Lenin, 1870-1924) ซึ่งอาศัยแนวทางการวิพากษ์วิจารณ์สังคมของมาร์กซ์เป็น
จุดกำ�เนิดแนวคิด เสนอแนวคิดว่า จักรวรรดินิยมหาใช่สิ่งอื่นใดนอกจากพัฒนาการขั้นสูงของลัทธิทุนนิยม ซึ่งแม้จะ
เริ่มจากการแข่งขันโดยเสรี (free competition) แต่ยิ่งเศรษฐกิจมีพัฒนามากขึ้นเท่าใด ก็ยิ่งมีพัฒนาการการผูกขาด
(monopoly) มากขึ้นเท่านั้นไม่ว่าจะเป็นเรื่องการผูกขาดการผลิตและทุนโดยจะเห็นได้จากการตั้งกลุ่มการค้าผูกขาด
(cartels) การร่วมทุนและการร่วมหุ้น (syndicates and trusts) รวมไปถึงการระดมทุนเพื่อจัดตั้งธนาคารขนาดใหญ่
ขึ้น เพื่อใช้เป็นฐานในการกำ�หนดความเป็นไปของตลาดทุนและการเงินระหว่างประเทศ เลนินสรุปว่า จักรวรรดินิยมก็
คือ ขั้นตอนการผูกขาดของทุนนิยม (imperialism is the monopoly stage of capitalism) ซึ่งมีลักษณะพัฒนาการ
ที่สำ�คัญอยู่ห้าประการ
7 J Holland Rose. (1905). The Development of the European Nations, 1870-1900. London: Constable & Company cited
in Harrison M Wright (1976), ibid, pp. xi, 3
8 J.A. Hobson. (1902). Imperialism: A Study. London: George Allen & Unwin cited in Harrison M Wright (1976), ibid,
pp. 5-20, 23. 39 แม้ฮอบสันจะมิใช่นักคิดนักเขียนในสายมาร์กซ์ แต่มุมมองในเรื่องกลุ่มชนที่ท�ำ งานเพื่อส่งเสริมและธำ�รงไว้ซึ่งสถานะนำ�ของกลุ่ม
ชนที่ได้เปรียบ ค่อนข้างใกล้เคียงกับแนวความคิดในสายนีโอมาร์กซ์ของ อันโตนิโอ กรัมซี (Antonio Gramsci) ในเรื่องของความหมาย บทบาท
และการทำ�หน้าที่ของปัญญาชน โปรดศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ Antonio Gramsci. (2003). Selections from the Prison Notebooks. London:
Lawrence and Wishart (edited and translated by Quintin Hoare and Geoffrey Nowell Smith) ผู้เขียนได้นำ�เสนอแนวคิดเรื่องปัญญา
ชนไว้ใน วรารัก เฉลิมพันธุศักดิ์ (2554) “ปัญญาชน” รัฐศาสตร์สาร (อยู่ในระหว่างการดำ�เนินการจัดพิมพ์)
ลิขสิทธขิ์ องมหาวิทยาลัยสโุ ขทยั ธรรมาธิราช