Page 66 - สังคมโลก
P. 66

6-26 สังคมโลก

เป็นชาวฝรั่งเศส จากจำ�นวนสงครามสี่ครั้งที่เกิดขึ้นในช่วงทศวรรษ 1860-187075 อันส่งผลต่อการปรับเปลี่ยนแผนที่
ทางการเมืองของยุโรป โดยเฉพาะการเกิดขึ้นของรัฐเยอรมนี และอิตาลีในช่วงเวลาต่อมา 	

       สิ่งที่ไม่อาจมองข้ามก็คือ การที่มีสงครามเกิดขึ้นมากมายในหลายพื้นที่ช่วยให้อุตสาหกรรมหลายแขนงเจริญ
ก้าวหน้าไม่ว่าจะเป็นอาวุธ การขนส่ง โลหะและเหล็ก ตลอดจนการเงินและการธนาคาร76 อุตสาหกรรมทอผ้าก็เป็นอีก
อตุ สาหกรรมหนึง่ ทีไ่ ดร้ บั ผลกระทบอยา่ งหนกั ในชว่ งเวลานี้ โดยเฉพาะการผลติ และขนสง่ ฝา้ ยดบิ จากสหรฐั อเมรกิ า จน
ทำ�ให้เกิดความจำ�เป็นในการหาแหล่งผลิตใหม่ขึ้นทดแทน นั่นคือ อียิปต์ ในช่วงทศวรรษ 1860 ฝ้ายดิบครองสัดส่วน
การส่งออกของอียิปต์สูงถึงร้อยละ 7077 ความเป็นไปในลักษณะเช่นนี้ ยิ่งดึงให้จักรวรรดิอังกฤษเข้ามาพัวพันกับ
แอฟริกามากยิ่งขึ้น กล่าวได้ว่า ทศวรรษ 1860 เป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อในเรื่องนโยบายจักรวรรดินิยมของชาติตะวันตก	
ซึ่งจะนำ�ไปสู่การสะสมตัวของความขัดแย้งตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1870 เป็นต้นไป ฮอบส์บอม สรุปเอาไว้ได้อย่างน่าสนใจ
ว่า ลักษณะเช่นนี้เกิดขึ้นด้วยเงื่อนไข 3 ประการ

       1. การขยายตวั ของกระบวนการทำ�ใหเ้ ปน็ อตุ สาหกรรม (industrialisation) ท�ำ ใหเ้ กดิ ชาตมิ หาอำ�นาจทนุ นยิ ม
อุตสาหกรรมอื่นๆ นอกเหนือจากอังกฤษ เช่น สหรัฐอเมริกา ปรัสเซีย (เยอรมนี) โดยรวมญี่ปุ่นเข้าไว้ด้วย

       2. ความก้าวหน้าของกระบวนการทำ�ให้เป็นอุตสาหกรรม ได้ทำ�ให้ความมั่งคั่ง และขีดความสามารถทาง
อุตสาหกรรม กลายเป็นปัจจัยสำ�คัญของรัฐต่างๆ ในแวดวงระหว่างประเทศ จึงทำ�ให้อำ�นาจของรัสเซียและฝรั่งเศส	
ดูด้อยค่าลง เมื่อเปรียบเทียบกับอำ�นาจที่ดูจะเพิ่มขึ้นของปรัสเซีย

       3. การเกิดขึ้นของมหาอำ�นาจที่เป็นรัฐอิสระนอกทวีปยุโรป เช่น สหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น (ก้าวสู่กระบวนการ
สร้างความทันสมัยตามแบบตะวันตกอย่างเป็นระบบ นับตั้งแต่การปฏิรูปเมจิ) ทำ�ให้เกิดความเป็นไปได้ขึ้นเป็น	
ครั้งแรกว่า จะเกิดความขัดแย้งของมหาอำ�นาจขึ้นในระดับโลก78

แอฟรกิ า และเอเชีย สนามประลองกำ�ลังยคุ จักรวรรดินยิ มเขม้ ข้น (high imperialism)

       การขยายตวั ของเศรษฐกจิ ทนุ นยิ มไมอ่ าจเปน็ ไปไดอ้ ยา่ งราบรืน่ จากการมผี ูแ้ ขง่ ขนั มากราย และยิง่ ตอ้ งเผชญิ
กบั ภาวะเสี่ยง เมื่อผนวกเข้ากับภาวะเศรษฐกจิ ถดถอยอันเนื่องมาจากความตกตํา่ ของราคาสินคา้ สิง่ ที่ตามมากค็ อื การ
ลดการแข่งขันภายในรัฐและการควบคุมความเป็นไปของตลาด ทุนผูกขาดขนาดใหญ่ (monopoly capitalism) เริ่ม	
	
	
	

	 75	 สงครามอีกสองครั้งคือ สงครามที่ปรัสเซียและออสเตรียรวมกำ�ลังกันต่อต้านเดนมาร์ก (1864) และสงครามที่ปรัสเซียร่วมมือกับอิตาลี
เพือ่ ตอ่ ตา้ นออสเตรยี (1866) ซึง่ สง่ ผลตอ่ การเปลีย่ นแปลงขนาดและความสำ�คญั ของจกั รวรรดแิ ฮปสเบริ ก์ ทผี่ า่ ยแพต้ อ่ ฝรงั่ เศสและปรสั เซยี จนท�ำ ให้
ฟรานซสิ โจเซฟ พระจักรพรรดิในขณะนั้น ต้องตัดสินพระทยั ใน ค.ศ. 1867 ในการแบง่ จกั รวรรดอิ อกเปน็ สองส่วนคอื ออสเตรยี และราชอาณาจักร
ฮังการี (Kingdom of Hungary) เพื่อความสะดวกต่อการปกครอง และหวังที่จะประคับประคองอ�ำ นาจที่อ่อนแอลงของราชวงศ์ เพราะความไม่สงบ
ภายในและภัยคุกคามจากภายนอกรุมเร้า ศึกษาเพิ่มเติมที่ E.J. Hobsbawm. (1975). op, cit., pp. 76-77, Jonathan Hart. (2008). op, cit.,
p. 206.	
	 76	 มิอาจปฏิเสธได้ว่า กลุ่มทุนที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมดังที่กล่าวขยายตัวอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกา เช่น คอร์นีเลียส
แวนเดอร์บิลด์ (Cornelius Vanderbilt) แอนดรูว์ คาร์เนกี้ (Andrew Carnegie) จอห์น ดี ร็อกกี้เฟลเลอร์ (John D. Rockefeller) และ	
เจ พี มอร์แกน (J. P. Morgan) กลุ่มทุนในลักษณะใกล้เคียงกันนี้ เช่น กลุ่มมิตซุย (Mitsui) และกลุ่มซูมิโตโม (Sumitomo) ก็ได้ปรากฏขึ้นใน
ญี่ปุ่นในยุคแห่งการปฏิรูปเมจิ (Meiji Restoration, 1868) ที่ทำ�ให้ญี่ปุ่นก้าวขึ้นเป็นชาติจักรวรรดินิยมในยุคต่อมา E.J. Hobsbawm. (1975).
op, cit., pp. 143-150.
	 77	 E.J. Hobsbawm. (1975). op, cit., p. 175.	
	 78 	E.J. Hobsbawm. (1975). op, cit., p. 80.	

                             ลิขสทิ ธ์ิของมหาวิทยาลยั สุโขทัยธรรมาธิราช
   61   62   63   64   65   66   67   68   69   70   71