Page 68 - สังคมโลก
P. 68
6-28 สังคมโลก
1878) ผลก็คือ ไม่เพียงแต่จะเป็นการแบ่งเขตอิทธิพลของรัสเซีย และออสเตรีย-ฮังการีเหนือดินแดนของออตโตมาน
แต่ยังรับรองการเพิ่มอิทธิพลของอังกฤษในตะวันออกกลาง และให้กำ�เนิดรัฐที่มีชนชาติสลาฟแบบชาวรัสเซียเป็น
องค์ประกอบหลักถึงสามรัฐนั่นคือ เซอร์เบีย (Serbia) โรมาเนีย (Romania) และมอนเตนิโกร (Montenegro)84
การประชุมครั้งนี้ยังเป็นการแสดงตนของเยอรมนีในฐานะหนึ่งในมหาอ�ำ นาจที่สำ�คัญของโลก ทั้งทางเศรษฐกิจและ
การทหารโดยเฉพาะราชนาวี ซึ่งมีแนวโน้มของการแข่งขันกับอังกฤษ85
ดังที่ได้กล่าวแล้วว่า ทวีปแอฟริกาอยู่ในความสนใจของชาติมหาอำ�นาจ หรือแม้กระทั่งชาติที่เริ่มสร้างความ
แข็งแกร่งให้ตนเองเช่นเบลเยียม86 ความคาดหวังผลตอบแทนทางเศรษฐกิจทำ�ให้เกิดกระแสคลั่งการรุกเข้าสำ�รวจ
ดินแดนตอนในของทวีปแอฟริกา (Africa fever) จนทำ�ให้ดินแดนนี้กลายเป็นพื้นที่ที่มีการแข่งขันแบบเข้ากลุ่มรุม
แย่งชิงผลประโยชน์ (Scramble for Africa) ของชาติมหาอำ�นาจตะวันตกสูงที่สุดในช่วงตั้งแต่ทศวรรษ 1880 จน
กระทั่งถึงช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 ใน ค.ศ. 1914 ความขัดแย้งที่อาจจะลุกลามทำ�ให้เยอรมนีตัดสินใจเป็นเจ้าภาพจัด
ประชุม (the Berlin Conference, 1884-1885) เพื่อคลี่คลายแนวโน้มดังกล่าว ในลักษณะของการแบ่งเขตอิทธิพล
ระหว่าง อังกฤษ ฝรั่งเศส และเยอรมนี87
84 การประชุมครั้งนี้ดำ�เนินไปโดยมีตัวแทนจากอังกฤษ รัสเซีย อาณาจักรออสเตรีย-ฮังการี ฝรั่งเศสและอิตาลี เข้าร่วมประชุม ผลก็คือ ที่
ประชุมให้การรับรองชัยชนะของรัสเซียเหนือดินแดนออตโตมาน และยังมีการแบ่งปันดินแดนในเขตอิทธิพลของอาณาจักรนี้ให้แก่ออสเตรีย-ฮังการี
และอังกฤษ เท่ากับเป็นการเพิ่มเขตอิทธิพลในย่านตะวันออกออกกลางให้กับอังกฤษเริ่มวางรากฐานอิทธิพลในอียิปต์และปาเลสไตน์ (Palestine)
ศึกษาเพิ่มเติมที่ Tony Smith. (1981). op, cit., pp. 48, http://enwikipedia.org/Congress_of_Berlin accessed on 26 October 2010
85 เยอรมนีพัฒนาสถานะทางเศรษฐกิจดีขึ้นจากนโยบายการตั้งกำ�แพงภาษี และการประสานผลประโยชน์ทางการค้าและอุตสาหกรรม
ระหว่างกลุ่มทุนอุตสาหกรรม และกลุ่มทุนขุนนางเจ้าที่ดิน (Junker landlords) ซึ่งเป็นกำ�ลังหลักของระบบราชการและกองทัพที่ขยายตัวอย่าง
รวดเร็ว ผลที่ตามมาก็คือเยอรมนีในยุคนี้เริ่มปรับปรุงกองทัพขนาดใหญ่โดยเฉพาะราชนาวี ซึ่งจะมีส่วนอย่างสำ�คัญในการเปลี่ยนแปลงสถานะ
ความเป็นไปของยุโรปและสังคมโลกในรูปของสงครามใหญ่ Tony Smith. (1981). op, cit., p. 45.
86 โดยกษัตริย์เลโอโปลด์ (King Leopold II 1835-1909) แสดงความกระตือรือร้นในการปกครองคองโกซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าเบลเยียม
ถึง 76 เท่าในฐานะดินแดนส่วนพระองค์ เพราะมุ่งหวังกำ�ไรจาการค้างาช้างและนํ้ายาง นับตั้งแต่ ค.ศ. 1876 โดยใช้ทหารรับจ้าง นักลงทุน และ
นกั ส�ำ รวจดนิ แดนเปน็ กลไกหลกั ในการบรหิ ารผลประโยชน์ หากผลตอบแทนไมเ่ ปน็ ไปตามทีค่ าดหมาย ผูท้ ีเ่ กีย่ วขอ้ งจะไดร้ บั การลงโทษอยา่ งรนุ แรง
ความโหดร้ายจากการปกครองคองโกของเบลเยียม ซึ่งมีการคาดการณ์กันว่า ส่งผลให้ต้องสูญเสียชีวิตของชาวพื้นเมืองราว 10 ล้านคนก่อให้เกิด
เสียงวิพากษ์วิจารณ์ในระดับระหว่างประเทศถึงความป่าเถื่อนของชาวยุโรปที่กระท�ำ ต่อชาวพื้นเมือง เช่น การใช้วิธีตัดมือ เพียงเพราะไม่เห็นว่า
ชาวพื้นเมืองมีสถานะของความเป็นมนุษย์จึงไม่มีความจ�ำ เป็นต้องใช้กระสุนปืน เพราะเป็นที่มีราคาแพงและหายากในดินแดนอาณานิคม ศึกษาเพิ่ม
เติมที่ Mark Dummett. (2004). ‘King Leopold’s Legacy of DR Congo Violence’ at http://news.bbc.co.uk/2/hi/africa/3516965.
stm 24 February, 2004 13:46 GTM, Andrew Osborn. (2002). ‘Belgium exhumes its colonial demons’ at http://www.guardian.
co.uk/world/2002/jul/13/humanities.artsandhumanities 13 July 2002 17.48 BST, http://enwikipedia.org/Leopold_of_Belgium
87 ชาตจิ กั รวรรดนิ ยิ มตะวนั ตกตา่ งเขา้ แยง่ ชงิ ผลประโยชนใ์ นแอฟรกิ าอยา่ งถว้ นหนา้ ไมว่ า่ จะเปน็ เยอรมนี ฝรัง่ เศส โปรตเุ กส เนเธอรแ์ ลนด์
โดยเฉพาะอังกฤษ เยอรมนีได้ขยายพื้นที่ในครอบครองเข้ามาในคามารูน (Cameroon) ฝรั่งเศสมุ่งพื้นที่เข้าทางตะวันตกของแอฟริกา ไม่ว่าจะ
อย่างไร อังกฤษก็ยังคงเป็นจักรวรรดิที่ทรงอิทธิพลสูงสุดที่มีดินแดนแถบนี้โดยมีดินแดนใต้การดูแลตั้งแต่กรุงไคโรในอียิปต์ (เข้ามาอยู่ใต้การ
ปกครองของอังกฤษอย่างเป็นทางใน ค.ศ. 1882) ไปจนถึงเมืองเคปทาวน์ในแอฟริกาใต้ ขณะที่โปรตุเกส และเนเธอร์แลนด์ก็ยังไม่ละทิ้งดินแดน
ในแอฟริกา สหรัฐอเมริกาและรัสเซียได้เข้าร่วมการประชุมในครั้งนี้ด้วย ผลจากการประชุมก่อให้เกิดความตกลงในลักษณะแบ่งพื้นที่ครอบครอง
และเขตอิทธิพล โดยเฉพาะระหว่างอังกฤษ ฝรั่งเศสและเยอรมนี ความตกลงนี้ยังครอบคลุมไปถึงเรื่องของการค้าและการเดินเรือในบริเวณลุ่มนี้
คองโก และแอฟริกาตะวันตก ศึกษาเพิ่มเติมที่Tony Smith. (1981). op, cit., pp. 37-38, 66, http://enwikipedia.org/wiki_Berlin_Confer-
ence_(1884), http://enwikipedia.org/wiki/Scramble_for_Africa accessed on 27 October 2010
ลขิ สิทธิ์ของมหาวทิ ยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช